1 ก.พ. 2022 เวลา 02:21 • ความคิดเห็น
“สมาธิ” คือ จิตที่เพ่งไปยังสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงอย่างเดียว
“สติ” คือ การรับรู้ของจิต
ผมมองว่าการฝึกสมาธิ มิได้มีจุดประสงค์ที่จะเพ่งให้จิตนิ่ง หากแต่เพื่อให้ “เห็น” ความไม่นิ่งของทั้งกายและจิต!
”กาย” สัมผัสได้ถึงความ เย็นร้อนอ่อนแข็งของที่นั่ง, ความปวดเมื่อยจากการนั่ง, เสียงลมเสียงยุงรอบตัว
“จิต” สัมผัสได้ถึง
1) เวทนา: ความรู้สึก สุข, ทุกข์, ไม่สุขไม่ทุกข์
2) จิต: สภาวะ โลภ, โกรธ, หลง
3) ธรรม: คือ การ “เห็น” การเกิดดับ ของ กาย, เวทนา และ จิต
เมื่อ เราเห็น “การเกิดดับ” เราจะสัมผัสได้ถึง “ความไม่เที่ยง” เมื่อเราเห็นความไม่เที่ยง เราจะไม่ยึดมั่นถือมั่น และเมื่อจิตหลุดจากความยึดมั่นถือมั่น เราจะเป็น “ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน”
เมื่อไหร่ที่ “ความอยาก” ให้ใจนิ่งมีอยู่ ใจจะไม่นิ่ง แต่ถ้าเราเข้าใจว่า ใจไม่ใช่ของเรา กายไม่ใช่ของเรา มันจะนิ่งหรือไม่ ก็ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เป็นอนัตตา เมื่อจิตวาง จาก “ความอยาก” จิตจึงสงบลงได้
โฆษณา