6 ก.พ. 2022 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา “Hometown Tax” ระบบภาษีญี่ปุ่น ที่คนอยากจ่าย
4
ประเทศญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำ ระหว่างเมืองหลักและเมืองรองไม่แตกต่างจากประเทศไทย ที่จะเห็นได้ว่าเมืองใหญ่ ๆ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนามากกว่าเมืองเล็ก
1
ตั้งแต่เรื่องการศึกษา การขนส่งสาธารณะ การประกอบอาชีพ บริการสาธารณสุข และอีกมากมายที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของคนเรา
แต่ปัจจุบัน ปัญหาที่กล่าวมานั้น ในประเทศญี่ปุ่นกำลังลดน้อยลง
ภายหลังจากระบบภาษีบ้านเกิด เรียกว่า “Hometown Tax” ถูกคิดค้นขึ้นมา
2
แล้ว Hometown Tax คืออะไร ?
ทำไมมันถึงช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Hometown Tax หรือ Furusato Nozei อ่านว่า ฟุรุซาโตะโนเซ เป็นระบบภาษีที่ประชาชนสามารถตัดสินใจได้ว่าจะมอบเงินให้แก่จังหวัดหรือพื้นที่ใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบ้านเกิดหรือที่อยู่ปัจจุบันของตัวเอง
ซึ่งผู้บริจาคจะได้รับสินค้าประจำท้องถิ่น ที่มีตั้งแต่วัตถุดิบ อาหาร เครื่องดื่ม ไปจนถึงงานฝีมือ
เป็นของขวัญแทนคำขอบคุณ รวมถึงสามารถนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้อีกด้วย
1
สรุปง่าย ๆ ก็คือ Hometown Tax เป็นระบบที่ให้คนบริจาคเงินไปก่อน
โดยพวกเขาก็จะได้รับของสมนาคุณตอบแทน แล้วค่อยนำมาหักจากภาษีในภายหลัง
3
ตัวอย่างของสมนาคุณ ที่จะได้รับจากระบบ Hometown Tax เป็นดังนี้
1
เช่น หากเราบริจาคให้เมืองมิยาโกะโนะโจ จังหวัดมิยาซากิ จะได้เนื้อวากิว
แต่ถ้าหากเราบริจาคให้เมืองอาบาชิริ จังหวัดฮอกไกโด จะได้แซลมอน
11
อย่างไรก็ตาม บางเมืองอาจไม่ได้ให้สินค้า แต่เสนอเป็นบริการอย่างอื่นแทนก็ได้ เช่น คอร์สเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้ด้วยดาบ ในโรงแรมธีมซามูไร หรือให้นั่งบัลลูนอากาศร้อน
2
เห็นได้จากตัวอย่างว่า สินค้าและบริการที่ได้รับนั้น ล้วนเป็นของที่หาได้เฉพาะท้องถิ่น นั่นจึงทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก
4
นอกจากพื้นที่ที่เราต้องการมอบเงินให้แล้ว เราก็ยังสามารถเลือกได้ด้วยว่าจะนำเงินไปสนับสนุนหรือพัฒนาส่วนไหนบ้าง
3
ซึ่งมีตั้งแต่สำหรับซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างสวนสาธารณะให้เด็ก จนถึงการช่วยเหลือผู้สูงอายุ
ซึ่งวิธีนี้ก็เรียกได้ว่าตอบโจทย์สำหรับผู้ที่อยากกำหนดว่าเงินที่เราจ่าย ควรนำไปใช้ในด้านใด
8
ด้วยความที่คนหันมาสนใจจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลต้องจำกัดการลดหย่อนภาษีไว้ที่ 20% ของภาษีที่อยู่อาศัย
1
แล้วทีนี้ เรามาดูกันว่า Hometown Tax เกิดขึ้นมา ได้อย่างไร ?
1
Hometown Tax เกิดขึ้นในปี 2551 หรือราว 14 ปีก่อน สมัยชินโซ อาเบะ เป็นนายกรัฐมนตรี
โดยมีสาเหตุมาจากคนหนุ่มสาวจำนวนมาก มักย้ายตัวออกจากบ้านเกิด เพื่อไปทำงานตามเมืองใหญ่
ส่งผลให้เมืองใหญ่เติบโตขึ้น สวนทางกับเมืองเล็กที่หดตัวลง ตามจำนวนผู้อยู่อาศัยและภาษีที่ท้องถิ่นเก็บได้
1
นั่นจึงทำให้ท้องถิ่นมีเงินไม่เพียงพอ สำหรับนำไปจัดทำบริการสาธารณะ
ในเวลาต่อมา จึงกลายเป็นความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองใหญ่และเมืองเล็ก
1
Hometown Tax จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้คนในประเทศมีส่วนร่วมในการสนับสนุนท้องถิ่น
ซึ่งก็จะช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างท้องถิ่นในเขตเมืองกับเขตชนบท
3
แล้ว Hometown Tax ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ?
ปี 2551 มีการบริจาค 54,000 ครั้ง ยอดบริจาค 2,400 ล้านบาท
ปี 2563 มีการบริจาค 35,000,000 ครั้ง ยอดบริจาค 194,000 ล้านบาท
3
หากคิดการเติบโตจากยอดเงินจะคิดเป็น 80 เท่า
ซึ่งก็พอสรุปได้ว่า Hometown Tax ได้รับความนิยมถล่มทลาย
3
หากมามองภาพให้ใกล้กว่าเดิม โดยดูจากตัวอย่างเมืองที่ Hometown Tax มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและช่วยเหลือ ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน
เมืองทาระ จังหวัดซากะ ที่คนท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและทำอาชีพเกษตร ได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 215 ล้านบาท สำหรับปรับปรุงพื้นที่เกษตร ที่ลาดชันให้เป็นพื้นที่ราบ
1
เพื่อให้ผู้สูงอายุเก็บเกี่ยวผลผลิตได้สะดวก รวมถึงยังช่วยสนับสนุนการดูแลและทุนการศึกษาของเด็กในท้องถิ่นอีกด้วย
1
เมืองคูมาโมโตะ จังหวัดคูมาโมโตะ ที่เกิดอุทกภัยและดินถล่ม ปี 2562 ก็ได้รับเงินจำนวน 165 ล้านบาท มาช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันเวลาพอดี โดยไม่ต้องรอการอนุมัติจากหน่วยงานรัฐที่ใช้เวลานาน
3
จากตัวอย่าง เห็นได้ว่าข้อดีของ Hometown Tax ไม่เพียงดึงดูดเม็ดเงินได้มหาศาลเท่านั้น แต่มันยังเป็นระบบที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา เวลาเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ถูกจุด และรวดเร็วอีกด้วย
1
อีกส่วนสำคัญที่ทำให้ Hometown Tax ประสบความสำเร็จ เพราะระบบถูกออกแบบให้เข้าใจและใช้งานง่ายด้วย
จากเดิมผู้บริจาคต้องคำนวณเพดานลดหย่อนและกรอกแบบฟอร์มขอลดหย่อนภาษีเอง
แต่รัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้ออกแบบระบบการยื่นลดหย่อน Hometown Tax ขึ้นใหม่
โดยผู้บริจาคไม่ต้องคำนวณเอง เพราะมีระบบช่วยคำนวณให้เลย รวมถึงมีการพัฒนาระบบติดตามสถานะของสมนาคุณ และเก็บหลักฐานการบริจาคให้ด้วย
2
จากความสำเร็จในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ประเทศอื่น ๆ หันมาสนใจและนำไปประยุกต์ใช้
ตัวอย่างก็เช่น สหราชอาณาจักร ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเกาหลีใต้ ที่หลายเมืองเริ่มมีปัญหาในการเก็บภาษีท้องถิ่นได้ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเมือง
โดยเฉพาะประเทศเกาหลีใต้ ถือเป็นประเทศที่มีความคืบหน้ามากที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเลือกใช้เกาะเชจู สำหรับนำ Hometown Tax มาประยุกต์ใช้เป็นตัวต้นแบบแล้ว
อย่างไรก็ดี แม้ว่า Hometown Tax จะดูประสบความสำเร็จแล้วในเบื้องต้น
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาตามมาเลย
เพราะเคยมีบางเมืองทุ่มเสนอของสมนาคุณเพื่อดึงดูดภาษี จนขาดทุน
ทำให้เวลาต่อมา รัฐบาลออกมากำหนดมูลค่าของสมนาคุณ จะต้องไม่เกิน 30% ของเงินบริจาค
1
หรือปัจจุบันก็ยังมีปัญหาที่บางพื้นที่ได้เงินสนับสนุนเกินความจำเป็น
แต่ด้วยสินค้าที่นำเสนอนั้นจูงใจ จึงทำให้มีคนสนใจบริจาคเข้ามาเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ดี Hometown Tax ถือว่าสร้างประโยชน์ไม่น้อย หากเราวัดจากยอดการเติบโต ความสำเร็จในด้านการบริหารจัดการภาษี และการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองใหญ่ และเมืองเล็กในประเทศญี่ปุ่น
ก็น่าคิดว่าหากประเทศไทยนำไอเดีย Hometown Tax มาประยุกต์ใช้บ้าง
กับสินค้าและบริการท้องถิ่นในแต่ละเมือง แต่ละจังหวัด มันคงน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
3
โดยถ้าเราบริจาคให้จังหวัดนั้น เราจะได้สินค้าและบริการของท้องถิ่นนั้นกลับคืน
คำถามที่น่าสนใจปิดท้ายก็คือ ถ้าประเทศไทยมีภาษี Hometown Tax แบบนี้บ้าง
เราจะบริจาคให้กับจังหวัดอะไร แล้วเราอยากได้สินค้าอะไรจากจังหวัดนั้น..
4
References
1
โฆษณา