6 ก.พ. 2022 เวลา 16:20 • ปรัชญา
"บอกเก้า เล่าครก" ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีที่ไป ที่มา จะว่าไปโบราณนานมา เชื่อได้ก็เยอะ เปรียบเปรยก็แยะ 🌶️🇹🇭🥦
1
👍ครูข้างครก👍
🌶️วัยรุ่นสมัยนี้ยังจับครก จับสาก กันเป็นอยู่รึป่าว?หรือ หันไปใช้สิ่งอำนวยความสะดวกแทนครกไปหมดแล้ว🔥
👩‍❤️‍👨คู่หนุ่มสาวสมัยโบราณเนี่ยะ บางคู่ได้สามี ได้แต่งงาน ออกเหย้า ออกเรือนกันเพราะเสียงตำของ "ครก" เลยนะจะบอกให้ แม่เล่าว่า ลูกสาวบ้านไหนเสียงโขลกครก ปัก ปัก ปัก ดังไป แปดบ้าน สิบบ้าน รับรองได้ว่าสุดยอดแน่นอน👪👍
👩‍❤️‍👨หญิง ชาย ในปัจจุบันนี้มีสิทธิเสรีภาพเท่ากัน ในสังคมปัจจุบัน บางครั้งผู้หญิงเป็นช้างเท้าหน้าหาเงินเก่งกว่าผู้ชายด้วยซ้ำ และ บางครั้งผู้ชายทำกับข้าวทำอาหารที่ผู้หญิงเองก็เทียบไม่ได้
🤣เป็นพรีเซ็นเตอร์ซะเองเลย🤣
👋มานี่ๆ จะเล่าความเชื่อเรื่องก้นครัวเกี่ยวกับ "ครก" แบบโบราณให้ฟัง จริงแท้ เชื่อได้ ไม่ได้ ยังไงก็ลองไตร่ตรองดู หรือ ถามผู้หลัก ผู้ใหญ่ในบ้านดูนะ☺️❤️
1
🌶️1. เกลือสารพัดนึก โบราณว่าถ้าไม่อยากให้เครื่องแกงที่โขลกไว้บูด หรือ แกงที่ทำบูดเร็ว ล่ะก็ให้ใส่ "เกลือ" ลงไป และ ถ้าหากโขลกเครื่องแกงแล้วไม่อยากให้กระเด็นให้ใส่เกลือลงไปโขลกพร้อมกับเครื่องแกงด้วย อันนี้เห็นท่าจะจริงเพราะคุณแม่ทำบ่อย แถมให้อีกอย่างใครตำเครื่องแกงแล้วเกิดพริกกระเด็นเข้าตาให้ "เลียเกลือ" จะช่วยทุเลาลงได้
🌶️2. ผิวมะกรูด สมัยก่อนหากใครไม่สังเกตเวลาทานแกงเผ็ด หรือ แกงใดๆ ที่ตำมืออาจจะแยกไม่ออกเลยก็เป็นได้ เพราะมีเครื่องแกงไม่น้อยที่ใส่ผิวมะกรูดลงไปด้วยขณะตำ เพราะลักษณะของผิวมะกรูดชูโรงช่วยให้แกงหอมแล้วนั้นยังช่วยดับคาวในวัตถุดิบที่นำมาแกงอีกด้วย แต่! ที่จับกันไม่ได้เพราะคนโบราณเค้าจะตำผิวมะกรูดก่อนจนแหลกนั้นเอง เพราะถ้าตำพร้อมกับเครื่องเทศอื่นๆ น้องผิวมะกรูดมันจะไม่แหลกเอานะสิ! แถมคนทานจะได้รสชาติขมกลับไปแทน
🌶️จัดไปหนึ่งแกง🌶️
🌶️3. มือเร้าร้อน สาเหตุที่มือร้อนวูบวาบหลังจากการตำเครื่องแกงนั้นก็มาจากพริก และ เครื่องเทศต่างๆ ที่ออกฤทธิ์เผ็ดร้อนนั้นเอง โบราณบอกวิธีแก้เอาไว้หลายต่อหลายข้อ เช่น ล้างด้วยน้ำเกลือ, แช่น้ำอุ่น, ล้างด้วยนม หรือ ถูมือด้วยน้ำมัน หนึ่งในหลายข้อนี้เป็นจริงดังคำโบราณ เราเคยทำมาแล้วซึ่งเห็นผลดีแก้อาการร้อนมือ แสบมือได้ดี แต่! ข้ออื่นยังไม่ลอง ใครลองข้อไหนแล้วมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะ☺️☺️☺️
🌶️4. ผ้ารองครก สมัยก่อนใครที่ตำเครื่องแกงกันจนไม้กระดานหัก พื้นแตก ก็ยังไม่มีใครมาสู่ขอก็ต้องซ่อมครัวกันบ่อยหน่อย เพราะฉะนั้นคนโบราณเลยบอกไว้ว่า ครกต้องมีผ้ารองครก ผ้ารองครกห้ามห่างครก อีกอย่างคือ ช้อนกลาง ต้องมีติดมือไว้เพื่อช่วยเกลี่ยเครื่องแกงข้างๆ ขอบครก ใครไม่อยากกระเบื้องแตก หรือ ซ่อมครัว ก็ควรทำไว้ก็ดีนะ
🌶️5. เนื้อเนียนเข้าลายมือ ไม่ใช่เป็นการดูดวงแต่อย่างใด แต่! หมายถึงหากตำเครื่องแกงแล้วจะสังเกตยังไง?ว่าเนื้อเครื่องแกงละเอียดก็แค่ให้เอามาปาดใส่ฝ่ามือหากปาดลงฝ่ามือแล้วเข้าไปในร่อยลายมือแสดงว่าเนียนละเอียดดี แต่!! อาจจะได้ความแสบร้อนมือกลับมาด้วยคงต้องกลับไปทำข้อ 3 กันอีกที
🌶️6. จังหวะ การตำเครื่องแกงไม่ใช่ว่าจะตำกันได้ง่ายๆ การตำก็ต้องมีจังหวะจะโคนกันด้วย ตำไม่ดีอาจกระเด็นเข้าตา ไม่แหลก และ อาจออกนอกครกหมดซะก่อน การตำมีจังหวะ ถี่ ช้า วน นั้นคือ...
📌ถี่ คือให้เครื่องแกงช้ำ แตก และ แหลก
📌ช้า คือหลังจากที่นำช้อนกลางเกลี่ยๆ ให้เครื่องแกงที่ใกล้แหลก หรือ แหลกแล้วลงมาจุดตรงกลางแล้วให้เนื้อเครื่องแกงได้โดนตำโดนสากอีก เพื่อให้แหลก และ เนียน ยิ่งขึ้น
📌วน คือนำสากวนไปรอบๆ ภายในครกเพื่อให้สากได้ช่วยบดเครื่องแกงให้แหลก ละเอียด เนียน ยิ่งขึ้น
🇹🇭🌶️คนไทยอยู่คู่กับสากกับครกมาช้านาน เรื่องเล็ก เรื่องน้อย เกล็ดเล็ก เกล็ดน้อย ความรู้ต่างๆ ก็สามารถเรียนรู้กันได้จากในครัว จาก พ่อ แม่ ปู่ย่า ตา ทวด กันสืบมา จำไปเถอะคุณ "รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม" หากได้มีโอกาสใช้ครกจับสากจะได้ทำเป็นไว้แก้ขัด🇹🇭
✅ชอบฝากกดไลค์ ✅ใช่ฝากกดแชร์
หากเพื่อนๆ คิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ฝากเพื่อนๆ กดไลค์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ และ อย่าลืม❗กดติดตามเพื่อไม่พลาดบทความดีๆ ของเพจ ทำ เป็น รู้ ดี Do you know? ด้วยนะครับ บ๊ายบาย
โฆษณา