21 ก.พ. 2022 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
❓ Fund Q&A ทุกเรื่องราวการลงทุนที่คุณสงสัย เราพร้อมตอบให้….
ช่วงต้นปีแบบนี้ กองทุนที่มีนโยบายจ่ายปันผลกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนอีกครั้ง
เพราะเป็นช่วงของการจ่ายเงินปันผลกองทุนสำหรับผลการดำเนินงานของปีที่ผ่านมา แต่นักลงทุนหลายท่านยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคิดผลตอบแทนของกองทุนปันผล
วันนี้ คุณชุณหวรรณ ขัตตินานนท์
ผู้บริหารกองทุน ฝ่ายจัดการกองทุนทางเลือก บลจ.กสิกรไทย
ลงทุนมานาน... จะรู้ได้อย่างไรว่ากองทุนปันผล ได้รับ "ผลตอบแทน" เท่าไหร่ต่อปี?
มีเทคนิคการคิดผลตอบแทนแบบง่ายๆ มาแนะนำ
ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่าผลตอบแทนของกองทุนปันผลนั้น ประกอบไปด้วยผลตอบแทนที่มาจาก 2 ส่วน คือ
1️⃣ กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain)
ซึ่งผลตอบแทนส่วนนี้ได้มาจากการที่ผู้ลงทุนขายกองทุนออกมา ณ วันที่กองทุนมีกำไร
2️⃣ ผลตอบแทนที่เป็นเงินปันผล (Dividend)
ส่วนนี้ผู้ลงทุนจะมีโอกาสได้รับในระหว่างปีจากกองทุน
ซึ่งหากกองทุนมีกำไรก็จะพิจารณาจ่ายเงินปันผลออกมาให้กับผู้ลงทุนตามรอบบัญชีที่กำหนดไว้ (ทั้งนี้ผลตอบแทนจากเงินปันผล จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ด้วย)
❎ แต่สิ่งที่ผู้ลงทุนหลายคนอาจจะเข้าใจผิด เวลาดูผลดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนปันผล
ว่าที่ผ่านมากองทุนสามารถทำผลตอบแทนไปได้เท่าไหร่แล้ว
เช่น กองทุนปันผล A ทำผลตอบแทน 1 ปี อยู่ที่ 7%(ต่อปี) ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่คิดมาจากส่วนต่างของราคา หรือคำนวณจากราคาของ NAV ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น
แต่คนส่วนใหญ่มักจะลืมเอาเปอร์เซ็นจากผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend) ที่ได้รับไปแล้ว กลับเข้าไปคำนวณด้วย
เพื่อคิดเป็นผลตอบแทนโดยรวมที่ได้รับจริง เลยทำให้เข้าใจผิดคิดว่าได้ผลตอบแทนจากกองทุนปันผลน้อยกว่าความเป็นจริง
✅ ดังนั้นหลักการคร่าวๆของวิธีการคิดผลตอบแทนโดยรวมของกองทุนปันผล จึงต้องคิดมาจากทั้ง 2 ส่วน แล้วนำมารวมเข้าด้วยกัน
✏️ ตัวอย่างเช่น
ผลตอบแทนของ “กองทุนปันผล A” ประกอบด้วย
1️⃣ ได้กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) ในรอบ 1 ปี = 7% ต่อปี (ดูจากผลดำเนินงานย้อนหลัง)
2️⃣ ได้ผลตอบแทนที่เป็นเงินปันผล (Dividend) ในรอบ 1 ปี = 3% ต่อปี (ดูจากผลตอบแทนที่เป็นเงินปันผล/ปี ซึ่งปีหนึ่งอาจจะจ่ายออกมา 2-4 ครั้ง)
✳️ เพราะฉะนั้น ผลตอบแทนรวมต่อปี ก็จะเท่ากับ 7 + 3 = 10% ต่อปี
✅ ข้อดีของกองทุนปันผลคือ
การทยอยจ่ายผลตอบแทนระหว่างปี (ปันผล) เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวน ผู้ลงทุนไม่ต้องหาจังหวะขายทำกำไรเอง
กองทุนก็จะพิจารณาจ่ายปันผลออกมาให้ระหว่างทางเมื่อกองทุนมีผลกำไร
จึงจะสังเกตได้ว่า เมื่อไรที่กองทุนจ่ายเงินปันผล มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ก็จะลดลง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าการจ่ายปันผลนั้นเป็นการตัดมาจากกำไรของกองทุน
ดังนั้น ถ้าเราดูเฉพาะมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุนปันผลจะขยับขึ้นไปช้าเมื่อเทียบกับกองทุนที่ไม่จ่ายเงินปันผล
เพราะการจ่ายเงินปันผลถือเป็นผลตอบแทนที่ถูกทยอยคืนมาแล้ว
ซึ่งหลายคนมักจะเข้าใจผิดว่ากองทุนทำผลการดำเนินงานได้ไม่ดี ทั้งๆ ที่จริงแล้ว กองทุนปันผลก็มีผลการดำเนินงานที่ดีและมีกำไรจนสามารถจ่ายปันผลออกมาให้ผู้ลงทุนได้นั่นเอง
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับกองทุนเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3HQOwJ7
#KAsset #KBankLive
โฆษณา