14 ก.พ. 2022 เวลา 11:22 • คริปโทเคอร์เรนซี
🗣️มือใหม่หัดเรียนรู้สินทรัพย์ดิจิตอล😀 พัฒนาการของ DeFi เพื่อเข้าสู่ยุค DeFi 2.0 😲💵
บทความที่ผ่านมาได้เล่าถึง DeFi เริ่มต้นถือว่าเป็น DeFi 1.0 จนค้นเจอปัญหาบางประการ แพลตฟอร์มใหม่จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบจนถือว่ากำลังก้าวสู่ defi 2.0 เพื่อให้สามารถใช้เหรียญที่ฝากสภาพคล่องไว้ได้อย่างมีประโยชน์มากขึ้น ค่าธรรมเนียมถูกลง และแก้ไขปัญหาสภาพคล่องในระบบให้มีเพิ่มมากขึ้น💰💵
ปัญหาของ DeFi 1.0 มีอะไรบ้างแล้วจะพัฒนาเป็น DeFi 2.0 ได้อย่างไร เรามาเริ่มกันเลย😀
1️⃣ค่าธรรมเนียม DeFi ส่วนใหญ่เมื่อก่อนมักใช้เหรียญที่อยู่บนบล๊อกเชนของ ETH เป็นค่าธรรมเนียม ซึ่งเมื่อราคา ETH แพงขึ้นแบบก้าวกระโดด จึงทำให้ค่าธรรมเนียมแพงขึ้นตามไปด้วย ถึงแม้จะมีความพยายามทำ London Hard Ford เพื่อลดค่าธรรมเนียมลงก็ตาม🤔
เพื่อแก้ปัญหานี้ แพลตฟอร์มใหม่ๆ จึงหันไปใช้บล๊อกเชนอื่นๆทดแทน ที่มีค่าธรรมเนียมถูกลงและการทำธุรกรรมที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น Klayth, Solana, Avalanche, Fantom, BSC เป็นต้น🤗
2️⃣การไม่มีสภาพคล่องเป็นของตนเอง แพลตฟอร์มใหม่ๆมักจะมีปัญหาสภาพคล่องไม่เพียงพอ เพราะต้องรอคอยให้มีคนมาทำฟาร์ม ซึ่งแน่นอนจะไม่สามารถสู้แพลตฟอร์มเก่าที่อยู่มานานได้ แม้หลายแพลตฟอร์มจะพยายามแจกเหรียญประจำแพลตฟอร์มออกมาก็ตาม แต่ถ้าเหรียญที่ได้ คนที่ได้รับไม่เห็นความคุ้มค่าที่จะครอบครองเหรียญนั้น ก็จะเกิดการเทขายเหรียญส่วนใหญ่ออกมา รวมถึงจะถอนเหรียญออกจากการทำฟาร์มแล้วย้ายไปที่อื่นอีกด้วย ส่งผลให้แฟลตฟอร์มขาดความมั่นคงได้😲
แพลตฟอร์ม OlympusDAO จึงได้ใช้วิธี Concept Protocol-Owned Liquidity (POL) โดยจะให้ผู้ฝากใช้ LP token มาแลกซื้อเหรียญ OHM (เหรียญประจำแพลตฟอร์ม) ในราคาส่วนลดได้ ซึ่งจะดู Win-win ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายผู้ซื้อจะได้เหรียญในราคาส่วนลดทันที สามารถชิงขายทำกำไรก่อนหรือถ้าถือยาวก็มีต้นทุนที่ต่ำเช่นกัน ส่วนแพลตฟอร์มผู้ขายก็ได้สภาพคล่องเป็นของตนเอง นอกจากนี้เหรียญ OHM จะถูกรองรับด้วยราคาต้นทุนเดิมเสมอ เมื่อราคาเหรียญตกลงมา ทำให้พร้อมสำหรับรับซื้อคืนได้ตลอดเวลา😃😘
3️⃣ระบบ AMM เดิมอาจทำให้สภาพคล่องมีไม่เพียงพอได้ เนื่องมาจากส่วนใหญ่จะใช้สมการ X× Y = K (รายละเอียดย้อนกลับไปอ่านในสภาพคล่องของ DeFi) ปริมาณการซื้อขายจะเกิดความคลาดเคลื่อนอย่างมากระหว่างราคาในระบบสัญญาณการซื้อขาย กับ ราคาที่เราสามารถซื้อขายได้จริง (Slippage) 💵
แพลตฟอร์ม Uniswap V3 จึงแก้โดยการให้ผู้ฝากสภาพคล่องสามารถเลือกช่วงของราคาที่เราต้องการได้ ทำให้มูลค่าเหรียญทุนของเราไม่กระจายอยู่ทุกราคา ทางแพลตฟอร์มได้คำนวณแล้วว่า การเลือกช่วงราคาระหว่าง 0.999-1.001 จะเหมือนใช้เงินทุนมากกกว่าเดิม 2 พันเท่า ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 2พันเท่าเช่นกัน💵
ตัวอย่างเช่น เรามี USDC และ DAI ต้องการเพิ่มสภาพคล่องคู่นี้ เราคิดแล้วว่า ราคา 1 DAI ควรจะอยู่ระหว่าง 1.001-1.002 USDC จึงต้องระบุช่วงราคาไว้เท่านี้ จากเดิมที่ปกติราคา DAI จะมีช่วงราคา 0-infinity ทำให้ราคาเหรียญกระจุกตัวและได้รับส่วนแบ่งในช่วงราคานั้นมากขึ้น🤗
4️⃣ การใช้ประโยชน์จาก LP token เราต้องรู้ก่อนว่า การที่เราฝากสร้างสภาพคล่องให้แก่แฟลตฟอร์มนั้น เราจะได้รับ LP token กลับมาใน wallet ของเรา เพื่อให้เราสามารถนำไปถอนเหรียญคืนจากแพลตฟอร์มนั้นได้ ทำให้สามารถคิดได้ว่า เปรียบเสมือนตั๋วที่เป็นสัญญาระบุว่าเราได้เพิ่มสภาพคล่องด้วยเหรียญอะไรและมูลค่ารวมเท่าไร ส่วนใหญ่แล้วที่ผ่านมา LP token จะนำไปฝากไว้กับแพลตฟอร์มแล้วได้แค่เหรียญประจำแพลตฟอร์มกลับมาอย่างเดียว🤔
🏛️แพลตฟอร์ม Abracadabra ได้มองเห็นมูลค่าของ LP token นี้เลยเกิดไอเดียใหม่ให้สามารถนำมาค้ำประกันเพื่อกู้เหรียญ MM (สเตเบิ้ลคอยด์ประจำแพลตฟอร์ม) ได้ กู้ได้สูงสุดถึง 90% ของมูลค่า LP token ที่ค้ำประกันนั้น
เหรียญ MM ที่ได้มานั้น สามารถนำไปทำธุรกรรมในแพลตฟอร์มได้ เพราะดอกเบี้ยกู้จะต่ำกว่าค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ทำให้เกิดกำไรค่อยๆสะสมจนโตขึ้น ผลสุดท้ายเราอาจไม่ต้องคืน MM เลยก็ได้ เพราะค่าธรรมเนียมซื้อขายเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอในการทยอยจ่ายดอกเบี้ยและไถถอนเงินต้นคืนอีกด้วย
หรือจะเอาเหรียญ MM ไปฝากเพื่อรับเหรียญ SPELL (เหรียญประจำแพลตฟอร์มของ Abracadabra) ที่จะสะสมค่าธรรมเนียมทุกอย่างมาแจกจ่ายให้คนฝาก
หรือเราขายเหรียญ MM แลกเป็นสเตเบิ้ลคอยด์แล้วฝากที่แพลตฟอร์ม Curve แล้วนำ LP token นั้นมาวนกู้เหรียญ MM ต่อ ก็สามารถทำได้เช่นกัน สามารถทำได้สูงสุดถึง 10 รอบ ประมาณผลตอบแทนทั้ง 10 รอบ มากกว่าเดิมถึง 6.5 เท่าทีเดียว😲😚
นี้คือตัวอย่างการพัฒนาเบื้องต้นของ DeFi 2.0 หลังจากนี้จะมีอะไรพัฒนาขึ้นมาก็ต้องติดตามกันต่อไป แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่คือ ความเสี่ยงของระบบการใช้งาน เราต้องเรียนรู้แล้วก้าวทันเพื่อป้องกันการโจรกรรมกันต่อไป
โฆษณา