15 มี.ค. 2022 เวลา 04:37 • ไลฟ์สไตล์
📅 นายจ้าง ลูกจ้าง ค่าแรง ...​เรื่องปวดหัวของโลก
สวัสดีครับ วันนี้เห็นข่าวยูทูบเบอร์ชื่อดัง ออกมาพูดเกี่ยวกับลูกจ้างในบริษัท ที่ขโมยของในบ้านไปขาย และทำให้เสียความรู้สึกที่มีต่อกัน ในทางกฎหมายนั้นก็ว่ากันไปตามคดี ส่วนผมเข้าไปตามอ่านแล้วรู้สึกเหมือนมีประเด็นที่เคยผ่านช่วงเวลาแบบนั้นมาเหมือนกัน
พนักงานของบริษัทดังกล่าวนั้น เขาคิดว่าตัวเองเงินเดือนน้อยกว่าที่องค์กรได้รับ คือองค์กรได้รับเงินเยอะ ผลกำไรเยอะ แต่ตัวเขาไม่ได้เรียนจบสูง คิดว่าควรได้รับเงินเดือนกันมากกว่านี้ และเมื่อพูดคุยกับเพื่อนที่ทำงานที่คิดเห็นตรงกัน ก็กลายเป็นประเด็นว่าไปเปิดช่องเอง และบางคนถึงขั้นขโมยของของนายจ้างไปขาย
1
พนักงานขึ้นเฟสบุ๊กโพสต์ไว้หลายอย่าง มีอันนึงที่หลายคนไม่โอเคและเห็นว่าผิดศีลธรรมคือคิดว่านายจ้างให้เงินเดือนไม่คุ้มกับค่าแรง ก็เลยต้องขโมยของนายจ้าง (..​ยังไง???)
ผมเคยทำงานบริษัทแห่งหนึ่ง เป็นบริษัทใหญ่ ทำแผนกเกี่ยวกับโฆษณาเช่นกัน แต่เป็นงานโฆษณา Internal ของบริษัท และหัวหน้าแผนกพยายามทำตัวเป็นเอเจนซี่ขายงานโฆษณา ในแผนกมีพนักงานราว 35 คน มีเพียงเซลล์กับหัวหน้าทีมทำงานไม่กี่คนที่ต้องออกไปหาลูกค้ากับหัวหน้า ที่เหลือก็เป็นคนทำงานในออฟฟิศ
1
เวลามีโปรเจ็กต์งานลูกค้าบางงาน หัวหน้าจะแยกลูกน้องออกเป็นทีมส่วนตัว แยกกับงาน Internal ไปประชุมลับกันที่ชั้นสอง พอกลับขึ้นมากัน บางครั้งมีคนหลุดพูดถึงรายรับ ที่ได้เพิ่มจากเงินเดือน
โดยส่วนตัวแล้ว ใครทำงานส่วนไหนมากกว่า ก็ต้องได้รับค่าจ้างเพิ่มเป็นธรรมดา ซึ่งส่วนนี้คนทำงานมืออาชีพก็ยอมรับ ถ้าเข้าระบบบริษัทแล้ว จะไปจ่ายกันผ่าน Slip Payment ก็ไม่มีใครว่า แต่นี่บางงานเขาบอกเลยว่าให้เอาบัตรประชาชนแม่ ญาติ หรือคนอื่นๆ มารับเงินแทน
2
ผิดปกติไหมล่ะครับ!
แล้วด้วยตัวลักษณะงานเป็นงาน Start Up เอกสารคนรับเงินบางอย่างเป็นบัตรประชาชนแม่ของโปรแกรมเมอร์บ้าง พี่ชาย พี่สาวบ้าง ดูจากอายุแล้วก็ไม่น่าจะใช้คอมพิวเตอร์คล่องกับงานที่เชื่อมต่อ Cloud กับ Server บัญชีที่ตรวจสอบก็ไม่ได้ตรวจสอบมากขนาดนั้น แค่เอาบัตรประชาชนไปรับเงิน ก็ได้เงินแล้ว
หลังๆ หัวหน้าแผนกอ้างกับบริษัทว่ามีงานโฆษณา External มากขึ้น จึงต้องจ้างบริษัทอื่นมารับงานออกแบบบางงานออกไปบ้าง
บริษัทอื่นที่ว่า ก็อีหรอบเดิม
เอาชื่อคนรู้จักมาสวมเป็นประธาน มีชื่อญาติหัวหน้าแผนก กับญาติซีเนียร์ในแผนกคนอื่นๆ เป็นกรรมการบ้าง ที่รู้กันก็เพราะว่าดีไซน์เนอร์คนออกแบบโลโก้บริษัทนอก ก็คือคนในแผนกนั่นแหละครับ
1
ความทุเรศขั้นสุด คืองานบางงานส่งลูกค้าไม่ทัน เอาคนบริษัทแม่มาทำ ไอ้เรากับคนอื่นๆ ก็ไม่รู้เบื้องลึกเบื้องหลังว่าเป็นงานขององค์กรเรา หรืองานส่วนตัวของหัวหน้าแผนก บางงานทำเลิกดึกดื่น แล้วจบท้ายด้วยการเลี้ยงข้าว
มื้อละ 5,000 - 10,000 บาท บางคนก็ว่าเยอะ ติดเป็นบุญคุณ
1
หลายๆ คนก็ไม่อยากไป แต่ ณ ภาวะนั้นมันเหนื่อย เลิกดึก หิว หลายคนก็ไม่รู้เกม ว่านั่นคือสิ่งตอบแทนที่หัวหน้าขอจ่ายเท่านั้น ทั้งทีความจริงหากคิดเอา Man Hours ของพนักงานบริษัทหลัก ไปอยู่ในใบเสนอราคาของลูกค้า มันอาจจะหลักหมื่น หลักแสน
สุดท้ายความมาแตกตรงที่ HR มาหิ้วออกไปจากบริษัท
แล้วไม่อธิบายกับพนักงานด้วย ใครอยากรู้ไปถาม HR ตัวต่อตัว
ที่ลูกน้องรู้กัน ก็เพราะการพูดต่อกันมาเรื่อยๆ ในข้อสงสัยเหล่านั้น
คนที่มีส่วนร่วมในกระบวนการ ก็เลือกเงียบ บางคนลาออกไปเงียบๆ
ก็นั่นแหละครับ บางคนได้ค่าตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วยที่พอใจแล้ว
ผมเคยได้ยินคนที่เขาร่วมกระบวนการคุยกัน ว่าทำไมถึงทำแบบนี้ เขาให้เหตุผลว่า ระหว่างที่ทำงานบริษัทนี้ โอกาสเติบโตน้อย ผลกำไรก็ทำให้บริษัทไว้มาก แต่บริษัทไม่ตอบแทนมาถึงสวัสดิการพวกเขาเลย
1
ถ้าเป็นจุดที่ผมอยู่ ณ ตอนนั้น ผมว่าพี่ๆ เหล่านั้นโลภครับ
การพูดคุยต่อรองค่าตอบแทนกับองค์กรเป็นเรื่องที่พี่เขาสามารถทำได้ตลอดเวลา แล้วตอนนั้นฐานเงินเดือนพี่เขาสูงอยู่แล้ว พี่เขาได้พวก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สิทธิ์เบิกค่ารักษา ประกัน ฯลฯ หลายอย่างมากที่คนรุ่นผมไม่มี บวกลบแล้วถ้าทำงานตามเวลา ก็คงจะพอเหมาะ
แต่ส่วนเกินที่อยากได้เพิ่มขึ้นมาก็ต้องต่อรองกับบริษัท ไม่ใช่ว่าเอาชื่อญาติพี่น้องตัวเองไปเปิดบริษัทเพิ่ม แล้วตัวเองนั่นแหละคือคนทำงาน ทำให้งานในองค์กร และงานนอกองค์กร ไม่สามารถเดินไปพร้อมกันได้
วันหนึ่งโดนจับได้ขึ้นมา บุญแค่ไหนแล้วที่เขาไม่ดำเนินคดีให้มีชื่อติดท้ายประวัติไปทำงานที่ไหนก็ยาก
ถ้าคิดว่าตัวเองเก่ง มีความสามารถ แต่เงินเดือนน้อยกว่าที่นายจ้างจ้าง ไม่คุ้มที่จะอยู่ต่อ ก็คุยกันก่อนครับ คุยกันแบบสุภาพชน แต่ถ้าใจมันไม่ไปต่อแล้ว ก็เปลี่ยนที่ครับ เปลี่ยนตัวเอง เพราะเราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้
1
อีกอย่างหลายคนบอกว่าตอนที่นายจ้างขาดทุน หรือไม่ได้กำไร ลูกจ้างก็ไม่ได้แบก ไม่ได้รับผลกระทบไปด้วย ส่วนนี้ลูกจ้างก็ต้องคิดถึงนายจ้างเหมือนกันครับ ไม่ใช่ว่าไปขโมยของ หรือไปทำผิดศีลธรรมดึงใจตัวเองให้ตกต่ำไปอีก
1
การทำงานก็คือรูปแบบชีวิตอย่างหนึ่งครับ อย่าทำตัวเองให้ตกต่ำ
1
ขอบคุณที่แวะมาครับ
15.03.2022
โฆษณา