19 มี.ค. 2022 เวลา 09:44 • สุขภาพ
สีในอาหาร ให้อะไรมากกว่าที่คิด🥦🥕
2
เพราะสุขภาพดีไม่มีในขวด การเลือกบริโภคจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลสุขภาพ "เราใส่ใจสุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตัวเอง" 👍 จากที่เคยแค่ออกกำลังกาย ก็เพิ่มการบริหารจิตใจเพราะคนทำงานอย่างเรา ๆ ก็มีจะมีเรื่องเครียด หรือเรื่องทุกข์ใจจากงานมาบ้างไม่มากก็น้อย การบริหารจิตใจ หรือการได้พักผ่อนหย่อนใจ อาจทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้น มีแรงใจในการทำงานมากขึ้น และที่ขาดไม่ได้นั่นก็คืออาหารที่ดี💕 ที่จะช่วยให้ร่างกายของเรามีกำลังในการทำกิจกรรม และกิจวัตรประจำวันได้เป็นอย่างดี รวมถึงอาหารที่ดีจะส่งเสริมให้สุขภาพกายของเราให้แข็งแรง แถมยังช่วยรักษาสมดุลของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ และห่างไกลโรคอีกหลายโรคเลยทีเดียว
.
สารอนุมูลอิสระ
1
สารที่เราได้รับจากทั้งภายนอก เช่น ฝุ่น ควัน มลพิษต่าง ๆ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ แสงแดด รังสี และที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง ซึ่งเกิดการกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกาย ร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ จากภายนอก ทำให้มีโครงสร้างไม่สมดุล ถ้าหากสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก ก็สามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้‼️ ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราเกิดความเสียหาย หรือร่างกายมีการอักเสบ ส่งผลให้มีโรคต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระจึงมีส่วนช่วยอย่างมาก ที่จะทำให้เราลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ได้
.
สารต้านอนุมูลอิสระ
1
หลายคนคงอยากรู้แล้วว่า 🥗 อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมีอะไรบ้าง และสามารถหาได้จากที่ไหน จริง ๆ แล้ว ร่างกายของเราสามารถสร้างสารอนุมูลอิสระได้เอง แต่อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ร่างกายเรามีสุขภาพที่ดี เราจึงจำเป็นต้องรับเพิ่มจากอาหารบางชนิด เพื่อช่วยลดและชะลอให้เซลล์เสื่อมช้าลง สีของวัตถุดิบต่าง ๆ ตามธรรมชาติ นอกจากจะมีประโยชน์กับร่างกายแล้ว ยังสามารถช่วยให้เราเลือกรับประทานอาหารได้หลากหลายขึ้น และเรียนรู้ประโยชน์ที่จะได้รับจากสารพฤกษเคมีต่าง ๆ ด้วย
.
สารพฤกษเคมี
สารประกอบทางเคมี ที่เราสามารถพบได้ในพืชหลากหลายชนิด ซึ่งสารเคมีกลุ่มนี้ทำให้พืชมีสี รส กลิ่นเฉพาะตัวแตกต่างกันไป มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่ช่วยป้องกัน และชะลอการเสื่อมของเซลล์ภายในร่างกาย หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “สารต้านอนุมูลอิสระ” เรามาดูสีที่มีในพืช และประโยชน์ของพฤกษเคมีต่าง ๆ กันค่ะ
🥕 สารพฤกษเคมีในพืชสีเหลืองและส้ม
ได้แก่ สารฟลาโวนอยด์แคโรทีนอยด์ ถ้าพูดถึงสีนี้ เราก็จะคุ้นตากับแคร์รอต ฟักทอง มะม่วงสุก สับปะรด ข้าวโพด มะละกอ นอกจากสารต้านอนุมูลอิสระแล้ว ยังช่วยบำรุงสายตา และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วย
🥦 สารพฤกษเคมีในพืชสีเขียว
ได้แก่ลูทีน คลอโรฟิล สามารถพบได้ในผักใบเขียวทั่วไป เช่น ผักโขม บรอกโคลี คะน้า มีส่วนช่วยในการมองเห็น และเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน
🍅 สารพฤกษเคมีในพืชสีแดง
ได้แก่ ไลโคปีน แอนโทไซยานิน พบมากในมะเขือเทศ เชอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี แตงโม บีทรูทป้องกันโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ชะลอการเสื่อมของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง
🧄 สารพฤกษเคมีในพืชสีขาว-สีน้ำตาล
ได้แก่ อัลลิซิน แร่ธาตุซีลีเนียม พบในกล้วยหัวหอม กระเทียม กะหล่ำปลี เห็ด มีส่วนช่วยลดไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด และยังมีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
🍆 สารพฤกษเคมีในพืชสีม่วงหรือสีน้ำเงิน
ได้แก่ แอนโทไซยานิน ฟีโนลิค พบมากในพืชตระกูลเบอร์รี มะเขือม่วง กะหล่ำปลีสีม่วง ดอกอัญชัน ป้องกันการเกิดโรคระบบทางเดินปัสสาวะชะลอการเสื่อมของเซลล์ และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด
.
เราสามารถหาพืชได้ทุกสีในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งพืชแต่ละชนิดก็จะหาได้แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ถึงแม้ว่าพืชแต่ละชนิดจะมีสารพฤกษเคมีแตกต่างกันไป แต่โดยรวมแล้ว ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลร่างกายให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และหลอดเลือด หากเราเลือกทานผักผลไม้ให้หลากหลาย และเพียงพอกับความต้องการของร่างกายแล้ว เราก็จะมีร่างกายที่แข็งแรง พร้อมที่จะใช้ชีวิตให้มีคุณภาพ ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ ได้แล้วค่ะ
.
.
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://bit.ly/3B845ro
1
โฆษณา