30 มี.ค. 2022 เวลา 10:05 • ข่าวรอบโลก
“บางคนไปทำนา ก็เอาหนังสือของฉันไปนอนอ่านเล่นในทุ่งนา“
Radhamani หญิงอินเดียวัย 63 ปี ที่ทำงานเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดสาธารณะ “ Pratibha ” ซึ่งห้องสมุดนี้ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1961 ในหมู่บ้าน Mothakkara ของเขต Wayanad รัฐ Kerala
“ผู้คนจะเรียกฉันว่า Walking Librarian แม้ว่าห้องสมุดจะสร้างมากว่า 60 ปีแล้ว แต่ผู้คนในหมู่บ้าน โดยเฉพาะผู้หญิง กลับแทบไม่เคยมีโอกาสเข้าถึงหนังสือเลย กระทั่งเมื่อช่วงล็อกดาวน์สามปีก่อน ที่พวกเธอได้มีโอกาสอ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น“
“ฉันทำงานที่นี่ตั้งแต่ปี 2012 แล้ว และฉันจะไปส่งหนังสือที่บ้านของสมาชิกห้องสมุด 6 วันต่อสัปดาห์ โดยทุกเดือนฉันจะส่งหนังสือเฉลี่ยอยู่ที่ราว ๆ 500-550 เล่ม และช่วงล็อกดาวน์นี้ ทำให้ผู้หญิงในหมู่บ้านเริ่มทำงานน้อยลง พวกเธอจึงมีโอกาสได้อ่านหนังสือมากขึ้น“
“ห้องสมุดที่นี่มีหนังสือมากกว่า 11,000 เล่ม ทั้งภาษามาลายาลัม ภาษาอังกฤษ และฮินดี และขณะนี้เรามีสมาชิก 102 คน ตั้งแต่เด็ก ๆ ผู้ใหญ่ และรวมถึงผู้สูงอายุบางคนด้วย ฉันจะพกหนังสือประมาณ 25 ถึง 30 เล่มทุกวันไปในหมู่บ้าน เพื่อให้สมาชิกสามารถเลือกหนังสือที่ต้องการได้
“ฉันทำให้ผู้อ่านในหมู่บ้าน กระตือรือร้นมากขึ้นที่จะใช้เวลากับหนังสือ บางคนหลังจากไปทำงานมา ก็จะรีบอ่านหนังสือทันทีที่ถึงบ้าน บางคนก็จะพกหนังสือไปอ่านในทุ่งนา ตอนที่ไปทำงานด้วย“
“สมาชิกทุกคนจะได้เริ่มอ่านหนังสือที่หลากหลาย ทุกประเภท และนี่คือความสามารถของฉัน ในการสร้างโอกาสให้พวกเขาได้อ่าน และนำรอยยิ้มมาสู่ใบหน้าของพวกเขาทุกครั้ง ขณะที่ฉันเดินเข้าหมู่บ้าน เพื่อรอต้อนรับหนังที่สือกำลังมาถึงบ้านของพวกเขา นั่นยิ่งทำให้ฉันมีความสุขและยินดีมากจริง ๆ ค่ะ“
“ตั้งแต่ที่ฉันได้จัดหาหนังสือให้กับเด็กชนเผ่าพื้นเมืองทุกคน พวกเขามีอาการดีใจที่ได้เห็นหน้าฉันที่เดินมาพร้อมหนังสือทุกครั้ง และตื่นเต้นเมื่อได้เห็นหนังสือเล่มใหม่ เด็กบางคนโทรหาฉัน เพื่อมารอฟังคำยืนยันของฉันว่า วันนี้ฉันจะเดินมาที่หมู่บ้านของพวกเขาใช่หรือไม่”
น่ารักมาก ๆ เลยค่า ต้องขอขอบคุณ คุณราธามณี บรรณารักษ์ผู้เดินเท้าวัย 63 ปีท่านนี้มาก ๆ จริง ๆ ที่เธอได้สละเวลาและเต็มใจมาก ๆ ที่ทำงานนี้อย่างสุดความสามารถเลย และเธอยังได้สร้างวินัยที่ดีงาม สิ่งดี ๆ ที่น่าชื่มชมยกย่องอย่างยิ่ง สิ่งที่เธอทำนี้มันยิ่งกว่าการเอาเงินทองมากองตรงหน้าใครบางคนเสียอีกนะคะ เพราะนี่มันคือการ #ให้ปัญญา ให้โอกาส ส่งมอบความรู้ และประสบการณ์ที่ล้ำค่า แก่ผู้คนอีกหลายร้อยพันชีวิต
หลงอินเดีย
เครดิต เฟสบุ้ก “หลงอินเดีย” เพื่อการศึกษาเท่านั้น ติดตามได้ที่ www.facebook.com/100052828397626/posts/482824843488458/?d=n
โฆษณา