2 เม.ย. 2022 เวลา 02:09 • คริปโทเคอร์เรนซี
🏔️❄️ ภูเขาน้ำแข็งใต้น้ำ : ศาสตร์แห่ง 📚 การเรียนรู้คริปโต 5️⃣ ระดับ!! ตอนที่ 1
The Cryptocurrency Iceberg, explained.
บทความนี้ จะแบ่ง Tier การเรียนรู้ ศาสตร์แห่งคริปโต ว่าเราเข้าใจขั้นต้นแค่ไหน ขั้นลึกซึ้งแค่ไหน!! ⚗️
🤩 ส่วนตัวผมเอง ก็เข้าใจแค่ระ ดับ ผิวๆของ Tier 3 เองนะครับ (จริงๆ คงผิวทุก Tier 555+) ดังนั้น การเขียนอธิบาย Tier 4, Tier 5 ยังไม่สามารถอธิบายดีขนาดนั้น แต่หวังว่าจะมีคุณค่า ในการแชร์แก่เพื่อนว่า เราไปถึงขั้นไหนแล้ว เพื่อนเราอยู่โลกไหนแล้ว!!
บทความนี้ อาจจะยังต้องใช้ศัพแสงเยอะ และ อยู่บ้างนะครับ 🤓 แต่จะพยายามย่อยให้แบบ คนทั่วไปพอเข้าใจได้บ้าง (แต่ย่อยจริงๆ คงต้องเขียนเสริม เติมเยอะเลยละ…)
สำหรับ FB Post จะมีรูปเดียวนะครับ ถ้าไปดู Medium / Blockdit / Twitter / Typefully จะมีรูปเสริมบ้างครับ
***
1️⃣ TIER 1 มือใหม่สุดๆ
🟢 1.1 Blockchain - ระบบการจัดเก็บข้อมูล กระจายศูนย์ ที่เป็นการเหมือน บันทึกเก็บข้อมูลที่เป็น public
🟢 1.2 Ledger - ฐานข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เก็บข้อมูลเป็น Block ๆ เรื่องของธุรกรรม จะมีการคอนเฟิร์นการทำธุรกรรมเป็นรูปแบบ บล็อก
(Ledger งงอ่ะ เด้? 55+ ขอย่อยแบบให้ง่ายหน่อยครับ คือเหมือนจะประมาณว่า เรามีแฟ้มเอกสารเขียนไปด้วย ปากกาลบไม่ได้มัดรวมกันเป็นแฟ้ม(Block) เวลาที่ เราจะทำงานต่อ แฟ้ม #2 เราก็ใช้แฟ้ม #1 อิงข้อมูลเก่า ก่อนจะไป เขียนงานบนแฟ้ม #2 ที่จะอ้างอิงกันเสมอ ไม่ให้ข้อมูลตกหล่น ครับ)
🟢 1.3 Bitcoin - เงินสกุลดิจิตอลตัวแรก ของโลก ที่ประสบความสำเร็จ สร้างโดยคุณ Satoshi Nakamoto
🟢 1.4 Ethereum - platform ตัวนึงที่ สร้างให้มากกว่า เงินสกุลดิจิตอล โดยใช้ Smart Contract & dApps สร้างเสริมกัน
(Ethereum - แบบย่อยง่าย = นึกสภาพ ตู้ขายน้ำอัดลมครับ เขาเป็นตู้(platform) ที่ให้ A. เลือกน้ำอัดลม > B. หยอดเหรียญ > C. เราน้ำอัดลม นี้คือรูปแบบ smart contract เพราะ เรา เลือกน้ำ 10 แบบ > ใส่เงินให้ถูกต้อง (และทอนเงินถูกต้อง) > เราได้รับของที่เราเลือก
ถ้าให้เข้าใจลึกอีกนิดนึง ก็คือ Ethereum มี dApps คือ ตู้นั้นๆ อาจจะทำให้หลายอย่าง นอกจากขายน้ำอัดลม อาจจะ สามารถเติมเงินมือถือได้ อาจจะ สามารถเติมค่าทางด่วนได้ อาจจะ สามารถชงกาแฟสด ให้เราได้ เป็นต้นครับ )
🟢 1.5 Alt L1's - Layer 1 platform ที่ส่วนใหญ่ fork (ลอกการบ้าน) มาจาก Ethereum ข้อ 1.4 นั่นละ หรือ บางตัวก็สร้างใหม่ ก็มี
platform เหล่านี้ มองว่า Ethereum ทั้งเก่า ทั้งช้า ทั้งแพง ก็จะอยากเป็น เทคฯ ที่เหนือชั้นกว่า โดยมาแก้ปัญหา scalability trilemma (ไว้ค่อยอธิบายเพิ่มนะครับ คำนี้คืออะไร)
🟢 1.6 Meme coins - เหรียญมีม เป็นเหรียญคริปโต ทำเอาฮา ลอกจากรูปบนอินเตอร์เนท หรือ ตัวละครเฮฮา เช่น Doge, Shiba Inu
***
2️⃣ TIER 2 มือเริ่มเก๋า
🟡 2.1 Smart Contract - จากที่ตะกี้เล่าไป ข้อ 1.4 จะมาเสริมมากขึ้น Smart Contract คือ ระบบโปรแกรมที่ เมื่อคำสั่ง A ถูกต้อง > ทำขั้นตอน B ให้เป็นอัตโนมัติ โดยไม่ต้องพึ่งคนใดๆ
🟡 2.2 dApps - แอปที่ทำงานเหมือน แอปมือถือทั่วไปนี้ละ แต่ พื้นฐานหลังบ้าน มันทำอยู่บน network ของบล็อกเชน ทำให้โดนแทรกแซงไม่ได้
dApps นึกสภาพอย่างงี้ครับ สมมุติ Google Apps / Apple Store บอกว่า แอปพวกนี้ ห้ามลิสบน platform เค้า ก็ลิสไม่ได้ เพราะ บริษัทบอกว่าห้ามลง แต่ dApps ใครก็สร้างได้ ไม่มีใครห้ามกันได้ แต่ของดีหรือเปล่า อันนี้ ต้อง 1. อ่านโค้ดเป็น ว่ามันทำงานถูกต้องจริงไหม หรือ 2. มีคนใช้งานเยอะ ใช้งานมานาน มีเงินทุนหนา ก็ (น่าจะค่อนข้าง) ดี ครับ
🟡 2.3 Gas - ค่าแก๊ส ที่แพงชริบเลยช่วงนี้ อ่อ ไม่ใช่ๆ แต่จริงๆ ก็ใช่ประมาณหนึ่ง gas คือ เหรียญคริปโต ที่ใช้ในการจ่ายค่าธรรมเนียม การทำธุรกรรมบน platform ที่เกิดขึ้น
เช่น Ethereum ใช้ ETH หรือ หน่วยย่อยกว่านั้น เรียกว่า gwei
เช่น Terra Chain ใช้ LUNA (หรือ ส่วนใหญ่ ใช้ UST แทนด้วยซ้ำ) เป็นต้น
🟡 2.4 Gas limit - เราสามารถเซ็ทค่าได้ว่า ในการทำ 1 ธุรกรรมครั้งนี้ เราอยากจ่ายค่าแก๊ส (ค่าธรรมเนียม) แพงสุดเท่าไร? เช่นเรารีบมาก ขอลัดคิว จากปกติ ค่าโอน 10 บาท เราก็อัดแก๊ส ขอจ่าย 100 บาทเลย เพื่อลัดคิวคนอื่น เป็นต้น
🟡 2.5 CEX - Exchange (กระดานเทรด) ที่เป็นตัวกลาง ในการให้ความเชื่อมั่น แก่นักเทรด ซึ่งให้ นักเทรด/คนซื้อ&ขาย มาแลกเปลี่ยน เหรียญคริปโต กันและกัน (โดยมีบริษัทอยู่เบื้องหลัง)
🟡 2.6 DEX - Exchange (กระดานเทรด) ที่ "Decentralized" หรือ กระจายอำนาจ กระจายความมีเจ้าของ/ตัวกลาง (ในทางคำพูดนะ บางที ก็ยังอยู่ในการควบคุมเจ้ามืออยู่ดี)
🟡 2.7 Consensus Mechanisms - แปลแบบยาก " คือ ฉันทามติ ข้อตกลงที่ใช้ร่วมกันระหว่าง node ในการทำให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นชุดเดียวกัน"
ขอแปลง่าย+อธิบายเพิ่มนิดหน่อย คือ การที่เราส่งข้อมูลไป เรารู้ได้ยังไงว่า ข้อมูลถูกต้อง? คนส่ง ข้อความ "สวัสดี" คนรับได้ "ลาก่อย" หรือเปล่า? แต่ถ้ามี 10คน 100คน ช่วยตรวจทาน (validator) ละระหว่างทาง ก็จะทำให้ชุดข้อมูลที่ส่ง มั่นใจมากขึ้นมากๆ ว่าส่งถูกต้อง ฉันทามติ คือช่วยให้มีการตรวจทานเสมอว่า ข้อมูลถูกต้อง 100%
ซึ่งจะไปลงรายละเอียดเพิ่มเติมใน PoW & PoS
🟡 2.8 Pow (Proof of Work) - หนึ่งในรูปแบบ ฉันทามติ ที่โด่งดังที่สุด ซึ่ง ใช้ศักยภาพ ของ 'นักขุด' (มันขุดไรฟระ?!) ขอเล่าแบบนี้ คือ นักขุด คือ คนที่กึ่ง ลงทุนซื้อคอม มาเปิดวางให้ประมวลผลธุรกรรม มีค่าไฟ มีค่าเสือมคอม ซึ่งการ ประมวลผลคือ ตรวจทานธุรกรรม (เป็น validator) ให้มันคิดเลข เกิดการสุ่มเลือก และ ประมวลถูกต้อง เราก็จะได้รับ คริปโต Ex. Bitcoin
(กึ่ง technical จ๋าเลย อาจจะบอกว่า ผมอธิบายไม่เชิงถูกนะ แต่ผมขอเล่าแบบให้เข้าใจง่าย แค่นี้ก่อน)
🟡 2.9 PoS (Proof of Stake) - อีก หนึ่งในรูปแบบ ฉันทามติ ที่โด่งดังที่สุด เป็นการ 'วางเงินเดิมพัน' เพื่อให้ ระบบประมวลผลธุรกรรม ประมวลถูกต้อง ก็ได้รับค่าธรรมเนียม ถ้าประมวลผิดพลาด ไม่โปร่งใส ไม่ส่งงาน ก็จะโดนหักเงินต้น (ในมูลค่าที่โหดมาก เช่น 20-30% ต่อครั้ง ในขณะ ที่ทำงานทั้งปี อาจจะได้ส่วนแบ่งค่าธรรเนียมเฉลี่ย 5-20% ต่อปี)
🟡 2.10 Blocks - หน่วยของข้อมูล ของ บล็อกเชน ที่จะโดนบันทึกไปตลอดกาลลล
🟡 2.11 Miner - นักขุด หรือ คอมพิวเตอร์ที่เปิดทำธุรกรรมไว้ เพื่อให้ ระบบประมวลผลธุรกรรม
***
จบตอนที่ 1 ก่อน... กลัวยาวเกิ๊น 😵
ใครอดใจไม่ไหว อยากไปตำอ่าน ทำความเข้าใจ TIER 3, TIER 4, & TIER 5 🙌 ไปจัดได้ที่ลิ้งค์ตามเม้นท์เลยจ้า
#EarthDeFIRE รายงาน 02/04/2022
โฆษณา