วางแผนการเงินฉบับเด็กจบใหม่
เด็กจบใหม่แต่ละคนมีเส้นทางในการดำเนินชีวิตหลังเรียนจบที่แตกต่างกัน หากที่บ้านมีฐานะหน่อยก็อาจจะหยุดพักผ่อนสัก 6 เดือน หรือ 1 ปี แล้วค่อยเริ่มหางาน แต่สำหรับหลาย ๆ คนที่ทางบ้านอาจจะไม่มีกำลังซัพพอร์ตมาก ก็จะต้องหางานทำหลังจากเรียนจบเลย เพื่อที่จะได้ไม่เป็นภาระของครอบครัว แต่เงินเดือนของเด็กจบใหม่ที่ได้รับนั้น ก็แสนจะนิดน้อย พอเงินเดือนออกก็ไม่รู้ว่าจะต้องจัดสรรปันส่วนเงินยังไงให้เหลือเก็บและพอดีกับการเอาชีวิตรอดไปจนถึงสิ้นเดือน วันนี้เราจะพาทุกคนไปวางแผนการเงินกันครับ
1
การวางแผนการเงินนั้นสิ่งที่เราจะต้องคำนึงคือ ค่าใช้จ่ายประจำเดือน เช่น ค่าห้อง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าซื้อข้าวของใช้ หรือค่าเดินทาง ถ้าเรารู้ว่าเรามีค่าใช้จ่ายประจำอะไรบ้าง มันจะทำให้เราวางแผนการเงินได้ง่ายขึ้นครับ ยกตัวอย่างเช่น
ตู่ เป็นเด็กจบใหม่แรง หลังจากเรียนจบได้ทำงานประจำอยู่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 18,000 บาท ตู่ลองคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ และทำแผนการเงินออกมาดังนี้
1. ค่าอาหาร ตู่คิดค่าทานอาหารวันละ 150 บาท
- อาหาร 50 บาท/มื้อ
- น้ำดื่ม 1,000 บาท/เดือน
- ของทานเล่น 500 บาท/เดือน
- อาหารบุฟเฟ่ต์ 300 บาท/เดือน (ตู่ชอบกินหมูกระทะเดือนละครั้ง)
2. ค่าห้อง ตู่อาศัยอยู่อพาร์ทเม้นท์ธรรมดา 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ ภายในห้องมีแอร์ ตู้เสื้อผ้า โต๊ะ เก้าอี้ และตู้เย็น ค่าห้องจึงไม่ค่อยแพงมาก
- ค่าห้อง 4,800 บาท
- ค่าไฟ 500 บาท
- ค่าน้ำ 100 บาท
3. ค่าเดินทาง ตู่เลือกอพาร์ทเม้นท์ที่อยู่ไม่ไกลจากที่ทำงานมากนัก จึงทำให้มีค่าใช้จ่าย ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน
4. ค่าโทรศัพท์ ตู่หาโปรโมชันที่คุ้มและเหมาะกับตัวเองที่สุดคือ 500 บาท
5. ค่าของใช้ต่าง ๆ เช่น สบู่ แชมพู แปรงฟัน ยาสีฟัน โฟมล้างหน้า มีดโกนหนวด รวมถึงค่าซักผ้า ซึ่งคำนวณแล้วตู่ใช้ประมาณเดือน 3,000 บาท
6. เงินออม ตู่ต้องการออมเงินสำรองฉุกเฉินเดือนละ 1,800 หรือ 10 % ของรายได้ และมีเป้าหมายคือต้องเก็บให้ได้อย่างน้อย 6 เดือน เพราะหากตู่ตกงานหรือเกิดเจ๊บปวดกระทันหันก็จะสามารถนำเงินในส่วนนี้มาใช้ได้
ทั้งหมดนี้เป็นค่าใช้จ่ายของตู่ที่ยังไม่รวมหนี้อื่น ๆ เช่น บัตรเครดิต บ้าน หรือรถ เพราะตู่เป็นเด็กจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ไม่นานจึงไม่อยากแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
ทุกคนสามารถนำแผนของตู่ไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม เพราะแต่ละคนมีการใช้จ่ายและภาระที่ไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เราอยากจะแนะนำทุกคนคือ พยายามเก็บเงินให้ได้อย่างน้อย 10 % ของรายได้ หากมีค่าใช้จ่ายมากกว่าตู่ อาจจะลดเงินออมลงมาเล็กน้อยได้ แต่ก็ไม่อยากให้ลดมากจนเกินไป เพราะในอนาคตเงินสำรองฉุกเฉินมีประโยชน์กับเราเป็นอย่างมาก
และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่เราอยากเตือนทุกคนก็คือ ช่วง 2-3 ปีแรกเราไม่ควรใช้จ่ายเกินตัว สิ่งไหนที่ยังไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตควรจะหลีกเลี่ยง เด็กจบใหม่ส่วนใหญ่มักจะมีความสุขกับการใช้เงิน เมื่อเราสามารถทำงานหาเงินได้อย่างเต็มที่ เราก็จะมีความสามารถในการใช้เงินที่เราหามาได้อย่างเต็มที่เช่นกัน และมันก็ทำให้เรากลับมาวิตกกังวลตอนสิ้นเดือนเพราะมีเงินไม่พอใช้ ทางออกของหลาย ๆ คนจึงเป็นการกู้เงิน ยืมเงิน หรือสมัครบัตรเดรดิต สุดท้ายกลายเป็นหนี้ เพิ่มภาระขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นควรคิดหน้าคิดหลังให้ดีก่อนใช้จ่ายทุกครั้ง และถ้ามีเงินมากขึ้นก็อาจจะต้องหารายได้เสริมเป็นงานที่สองหรือสามเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือน
หากทุกคนลองวางแผนการเงินของเราในแต่ละเดือนแล้ว ก็จะสามารถใช้จ่ายได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น แม้ว่าช่วงแรก ๆ อาจจะทำไม่ค่อยได้ตามแผนหรือคิดว่าแผนที่เราวางมันยังไม่โอเค ก็ลองปรับไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้แผนที่เหมาะสมกับเราและไม่ทำให้เรากดดันตัวเองมากจนเกินไป หากเราสามารถทำตามแผนที่เราวางได้ก็จะทำให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิต โดยที่ไม่ต้องมากังวลว่าตอนสิ้นเดือนเราจะมีเงินกินข้าวมั้ย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
3 ถูกใจ
3 แชร์
954 รับชม
แสดงความคิดเห็นของคุณ...
  • 3
    โฆษณา