15 เม.ย. 2022 เวลา 16:11 • การศึกษา
Dunning-Kruger เคยติดกับดักหุบเขาแห่งคนโง่ และคนส่วนใหญ่ยังติดอยู่พร้อมกับเขาจนถึงทุกวันนี้ รวมทั้งผมด้วย
.
ผมเคยได้เขียนบทความสั้น ๆ เกี่ยวกับ Dunning-Kruger Effect และได้สนทนา และเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังเกี่ยวกับ Dunning-Kruger Effect ไปเยอะ และภูมิใจเหมือนกันว่าเรารู้เรื่องที่คนอื่นไม่รู้ (ใครสนใจอ่านรายละเอียด กดไปอ่าน Related Post ก่อนเลยครับ)
.
Dunning-Kruger Effect เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ว่ามนุษย์ที่รู้เรื่องอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ มักจะเคลมว่าตัวเองรู้เยอะ ในขณะที่ผู้ที่รู้เยอะกว่า มักจะกล้าพูดว่าตัวเองไม่รู้เรื่องอะไร เวลาใครฟังคำอธิบายเรื่องนี้ ก็จะรู้สึกเออจริงว่า มีคนโง่ แล้วอวดฉลาดเต็มเลย
ช่วงหยุดสงกรานต์นี้ไม่ได้ทำอะไรมาก เลยได้มีโอกาสลองไปเปิดอ่าน paper จริง ๆ ซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่ปี ค.ศ.​ 1999 ซึ่งเล่าให้ฟังถึงการทดสอบผู้เข้าร่วมการทดลองด้วยหัวข้อหลาย ๆ เรื่อง เช่น ความขัน (humor) การใช้เหตุผลทางตรรกะ (logical reasoning) และไวทยากรณ์ภาษาอังกฤษ​ (English grammar)
.
พอเปิดดู ผมยังไม่ได้อ่านเนื้อหา แต่ไปดูที่กราฟของงานวิจัยก่อนเลย ก็พบกับรูปที่ 2 และสะดุดใจกับกราฟของเขาที่แกน Y เป็น Percentile ในขณะที่แกน X เป็น Quantile และสะดุดกับชื่อของข้อมูลเล็กน้อย
พอดูเสร็จ ก็แอบอุทาน "อุ้ย" แบบพี่หนุ่ม กรรชัยเลยครับ นี่มันช่างคล้ายคลึงกับกับดักของการทำ Machine Learning อันนึงที่เรียกว่า Autocorrelation (https://towardsdatascience.com/how-not-to-use-machine-learning-for-time-series-forecasting-avoiding-the-pitfalls-19f9d7adf424) ที่อาจารย์ผมเคยพูดถึง คือ การที่เราเผลอเอาข้อมูลของ time-series ในเวลาใกล้ ๆ กัน มาทำนายข้อมูลในอนาคต และข้อมูลทางสถิติจะบอกว่ามันเป็นตัวแปรที่ดี (important variable) ในการทำนาย
1
.
พอเห็นกราฟนี้ ผมเลยคันมือ และลองสร้าง Excel มาสุ่มตัวเลขสองแถว แถวหนึ่งเป็น คะแนนสอบจริง ( x ) และอีกแถว เป็นค่าที่ผู้สอบคิดว่าตัวเองสอบได้ ( y ) ซึ่งอยู่ระหว่าง 0-100 ถ้าเอามาพล็อตกราฟก็จะได้ตามรูปที่ 3 ซึ่งจะเห็นว่ามันดู random มาก ๆ ก็ใช่ครับ ก็ผม random มันขึ้นมาล้วน ๆ เลยนี่
แต่ถ้าเอามาพล็อตเป็นกราฟระหว่างคะแนนที่ได้ (x) กับ ความแตกต่างระหว่างคะแนนที่คิดจะได้ และคะแนนที่ได้จริงๆ (y-x) ก็จะเป็นตามรูปที่ 4 ที่ดูมีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน
และพอเอามาพล็อตเป็นกราฟ คล้าย ๆ กับในงานวิจัยก็เหมือนกันเลย ของผมเท่กว่าเสียด้วยซ้ำ กลายเป็นว่าคนที่ได้คะแนนทดสอบจริงสูง กลับคิดว่าตัวเองโง่กว่าคนที่ได้คะแนนทดสอบต่ำเสียด้วยซ้ำ
และพอในกราฟที่ต้นฉบับงานวิจัยจริงใช้เป็น Percentile มันยิ่งปิดบังข้อมูลเข้าไปอีก
.
หากไม่ตั้งใจที่จะทำให้เป็นอย่างนั้นจริง (ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ​) นักวิจัยทั้งสองน่าจะติดอยู่บนยอดเขาของคนโง่เช่นเดียวกับผม เขาอาจจะคิดว่ามีความสามารถในการวิเคราะห์ทางสถิติจริง ๆ แต่พอมาทำกลับทำผิดพลาดแบบขั้นพื้นฐานไป แต่ก็ไม่มีใครสังเกตพบเป็นระยะเวลานาน
.
ซึ่งพอผมไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ผมก็พบว่า เรื่องนี้จริง ๆ มีการพิสูจน์มาแล้วหลายครั้งรวมทั้งนักวิจัยท่านนั้นเอง (https://thepsychologist.bps.org.uk/volume-35/april-2022/dunning-kruger-effect-and-its-discontents) ด้วยว่าผิดพลาดในหลายเรื่อง เรื่องที่ผมเล่ามาเป็นเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นเอง ซึ่งผมขอไม่ลงรายละเอียด แต่ถ้าใครอยากจะอ่านรายละเอียด ซึ่งต้นทางน่าจะอธิบายได้ดีกว่าผมมาก ตามไปอ่านได้ที่
.
นอกจากนั้น ไอ้กราฟตามรูปที่ 1 ที่ผมเที่ยวเอาไปโชว์ชาวบ้านไปหมด ก็ไม่ได้มาจาก paper อันนั้นเลย ผมยังหาไม่เจอเลยว่าใครเป็นต้นตอ (หากใครหาเจอ ช่วยชี้เป้าด้วยครับ)
.
ถึงแม้งานวิจัยเริ่มต้น (1999) จะเป็นงานวิจัยที่มีความผิดพลาด และนักวิจัยทั้งสองก็ได้พิสูจน์เรื่องที่ตัวเองทำการพิสูจน์ว่าเป็นจริงโดยไม่ตั้งใจ แต่ก็มีงานวิจัยอื่น ๆ ที่ออกตามมาในภายหลัง ซึ่งสนับสนุนปรากฏการณ์นี้ แต่อาจจะไม่ได้มีความผิดพลาดในลักษณะเดียวกัน ซึ่งผม "เข้าใจ" เองว่า ปรากฏการณ์นี้ยังพอ "น่าเชื่อถือ" ได้มั้งครับ (ไม่กล้าเคลม กลัวหน้าแตกอีก)
.
ท้ายสุดนี้ ใครเคยได้ยินผมโม้เรื่องนี้ไว้เยอะ ผม "ขอโต้ด" ที่ผมติดอยู่บนยอดเขาแห่งคนโง่อยู่นาน ตอนนี้ตกมาอยู่หุบเขาแห่งความสิ้นหวังเรียบร้อยแล้วครับ
.
ใครที่อ่านจนถึงบรรทัดสุดท้าย แล้วยังไม่รู้เรื่องว่า ผมพูดถึงเรื่องอะไร ดีแล้วครับ ลืม ๆ มันไปนะว่า ผมพูดอะไร ผมผิดไปแล้วครับ ส่วนใครที่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน ช่วยกด หัวเราะ หน่อยครับ
ป.ล. มีเพื่อนเพิ่งแชร์บทความภาษาอังกฤษที่มีข้อสังเกตบางส่วนคล้าย ๆ กัน แต่น่าจะอธิบายได้ดีกว่าผมเยอะเลย ลองไปอ่านกันที่
ตามไปอ่านตอนต่อไปแบบเบาสมองกันได้ที่
โฆษณา