22 เม.ย. 2022 เวลา 07:22 • ความคิดเห็น
ก่อนที่จะไปถึงคำว่า ปล่อยวาง เราก็ควรสำรวจตรวจสอบ ชีวิตของเรามีความมุ่งหวัง ทะเยอทะยาน อยากมีอยากเป็น อยากร่ำรวย อยากมีบ้านใหญ่ มีคนเอาอกเอาใจ ใช้สอย แวดล้อมไปด้วย เหล่าขุน ..ขุนพลอยพยัก ดีครับท่านดีครับนาย สรรเสริญเยินยอ ไม่อยากให้ใครมาขัดอกขัดใจ อยากแต่จะทำเป็นตามอารมณ์ที่ปรุงแต่งขึ้นภายในกาย เป็นอัตตา ยึดถือในสิ่งที่อารมณ์ปรุงแต่งขึ้นมา กายก็ต้องดูและ เสาะแสวงหาหาปัจจัย มาหล่อเลี้ยงสังขาร หาได้มากก็เก็บสะสมกองๆเอาไว้ แล้วก็เจ็บตายตาย บ้างก็ไม่ต้องใช้กายเสาะแสวงหาให้เหน็ดเหนื่อย บ้างหาแถบตายก็แถบไม่พอกิน ทั้งที่ก็มีกายเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่ทำไมหากินกันได้ไม่เหมือนกัน
นั้นก็ล้วนแล้วที่ เค้าเรียกว่า บุญกรรมที่สะสมมาแต่อดีต อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นพาไปยึดเรื่องราวทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เราก็ไม่เคยนึกเฉลียวใจ ว่ามันทำให้จิตเกิดมีกรรมอย่างไร เพราะเราอยู่กับความเคยชิน ที่ใช้อารมณ์ มีโลภโกรธหลงเป็นตัวการใหญ่ แล้วก็มีอารมณ์กรรมที่ผุดขึ้นมาในกายนี้มากมาย โดยที่เราก็ไม่เคยรู้จัก อารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในกายนี้เลย เราก็ทำไปตามอารมณ์เพลินไป ด้วยรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส เกิดขึ้นที่กายนี้ เมื่อลิ้นมันอยากกินของอร่อย ก็พากายไปเสาะแสวงหากิน ไปตามลิ้นที่อยาก กินอิ่ม อารมณ์อยากนั้นก็หายไป แล้วเดียว ก็เกิดขึ้นมาใหม่ อยากกินอะไรอร่อยๆอีก อารมณ์มันก็สั่งจิตพากาย ไปกินของอร่อยๆ อีก วนเวียนอย่างนี้
กลับมาเรื่องของของการปล่อยวาง ปล่อยวางอะไรล่ะ ที่เราควรปล่อยวาง ทำไมต้องวาง ทำไมต้องหัดปล่อยวางตอนมีชีวิตอยู่ หรือ ว่าเราคิดว่า เมื่อตายแล้วมันก็ปล่อยวาง ทุกอย่างเอง
คนที่จะรู้จักการปล่อยวางได้ ก็ต้องรู้จัก กรรม .. รู้จักว่าจิตนั้น ไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้ สิ่งที่มีชีวิตไม่มีชีวิต จิตไปยึด นำเข้ามา ทับถมจิตถมใจของตัวเอง เกิดเป็นกรรม ถ้าเราไม่มีความรู้สึกตรงนี้ เราก็มองไม่เห็นว่า การสร้างบุญกุศลด้วยปัจจัยที่เราเหน็ดเหนื่อยไปเสาะแสวงหามา นำมาสร้างแปรสภาพเป็นทานกุศลด้วยความเต็มใจ ก็เป็นการฝึกหัดปล่อยวาง ของที่เราไปหามาสะสมมา สลละความยึดถือไปวันละเล็กวันน้อย เราก็ค่อยเท่าไป เหมือนกับเราเองเหมือนกัน เราก็สะสมกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทุกวันเหมือนกัน ชอบใจคนนั้นคนนี้ ไม่ชอบใจ ติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ กรรมของผู้อื่นทั้งนั้น นั่นแหละ เค้าเรียกว่า ไปดึงกรรมเข้ามาหาตัวเอง จิตของตัวเองก็เลยร้อนไปด้วยอารมณ์ที่ฟุ้งซ่าน ลุกลี้ลุกลนเผาผลาญตัวเราเอง ไม่ได้ไปเผาผลาญใครที่ไหน เผาผลาญตัวเองให้ทุกข์
คราวนี้ เราอยากปล่อยวาง เราก็ดูกายคนตาย พอตาย กายมันก็นิ่ง ไม่มีอะไรเคลื่อนไหวเลย ไม่สามารถสร้างกรรมอะไรได้อีกแล้ว เราก็ฝึกหัด ตายก่อนตาย เอากายมานั่งนิ่ง ทำจิตเฉยๆ ไม่ต้องนึกคิดอะไรทั้งนั้น นั่งพับเพียบ กราบพระก่อน นั่งนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อน กายวาจาใจ ก็นิ่งไม่ขยับเขยื้อนไปสร้างกรรม จิตก็อยู่กับคำของพระ ภาวนาพุทโธ รักษากายนิ่งจิตนิ่ง เฉย ปลดปล่อยเรื่องราวต่างๆ ด้วยกายนิ่งจิตที่เฉย ที่มีสติสัมปชัญญะ ปัญญาควบคุมกายให้นิ่งเฉย จิตนิ่งเฉย แล้วเราก็ลดละปลดปล่อยเรื่องราว ปลดปล่อยอารมณ์ต่างออกไป จากกายจากจิต
เราฝึดหัดกระทำ โดยเสียสละปล่อยวางเวลาที่นำกายวิญญาณหก ไปสัมผัสตรงนั้นตรงนี้ เค้าเรียกว่า สละเวลา หยุดเวลาที่ไปตามอารมณ์ นำเวลานั้นมาประพฤติปฏิบัติธรรม หยุดเรื่องราวของอารมณ์ที่โลกนี้มีให้ มาเป็นเวลาของธรรม ทำให้กายนิ่ง จิตนิ่ง เมื่อกายนิ่ง จิตนิ่ง แสงของธรรมก็ส่องมาที่จิต ให้สิ่งที่สกปรกนั้นหลุดออกไป
เมื่อเราพอรู้จักกรรม เราก็ค้นหาหาเหตุ ที่ทำให้เรามีกรรม นั้นก็คือ อารมณ์ เมื่อเรารู้ว่ามาจากอารมณ์ เราก็ศึกษาทำความเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในกายนี้ ศึกษาเรื่องของสติ นั้นเป็นอย่างไรกันแน่ ศึกษาเรื่องของคำว่าจิต ก็คือตัวเราที่มาอาศัยกายพ่อแม่ชั่วขณะหนึ่ง ศึกษาไปว่า ทำไมเราต้องเกิดมามีกาย เราเกิดมาทำไม เพื่อสร้างกรรม หรือ สร้างบุญกุให้แก่จิต เรื่องราวเหล่านี้ มันก็ล้วนเป็นการศึกษา เพื่อให้จิตเรารู้จัก แล้วปล่อยวาง เหมือน เราเดินไปเจอใบไม้ใบหนึ่งเราก็หยิบขึ้นมา พิจารณา ทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจ แล้วก็วางใบไม้นั้นลง เดินทางต่อ ก็เหมือนจิตเราเดินทางมาพบกายนี้ อาศัยเรือนกายนี้ เราก็นำมาพิจารณาทำความเข้าใจเหมือนใบไม้นั้น จิตจะได้รู้จักสิ่งที่เกิดขึ้นในเรือนกายที่มีแต่อารมณ์ แล้วจะปล่อยวางอารมณ์ต้องทำอย่างไร ก็เป็นเรื่องราวของจิตแต่ละดวงอีกเหมือนกันว่า จะเห็นความสำคัญในเรื่องราวการปลดปล่อยอารมณ์
โฆษณา