24 เม.ย. 2022 เวลา 13:12 • ไอที & แก็ดเจ็ต
อาชีพไหน 'เสี่ยงที่สุด' เมื่อ Automation มาถึง?
4
‘อีกไม่กี่ปีหุ่นยนต์จะแย่งงานเราไปจนหมด’
1
เราได้ยินประโยคทำนองนี้บ่อยๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มันอาจจะฟังดูน่าหวั่นสำหรับใครหลายๆ คน แต่ก็ต้องยอมรับจริงๆ ว่าเอไอ (AI) หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในทุกอุตสาหกรรมมากขึ้น แถมยังสร้างมูลค่าได้มากเสียด้วย
รายงานผลวิเคราะห์จาก PwC บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก พบว่าเอไอ หุ่นยนต์ และการทำให้เป็นอัตโนมัติ (หรือที่จะเรียกตลอดในบทความนี้ว่า ‘Automation’) จะช่วยเพิ่ม GDP ให้ทั่วโลกถึง 15 ล้านล้านเหรียญเลยทีเดียว
ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจเติบโต ในอดีตนั้นจะมีความต้องการในตลาดแรงงานมากขึ้น หรือ เกิดอาชีพใหม่ๆ ในกรณีนี้ก็เช่นกัน รายงานพบว่าการเติบโตอันมหาศาลนี้ จะทำให้เกิดความต้องการในตลาดแรงงานจำนวนมาก
1
แต่ก็มีเรื่องน่ากังวล คือ งานไหนบ้างจะถูกเทคโนโลยีทดแทน?
รายงานของ PwC ได้วิเคราะห์รายละเอียดของงานกว่า 200,000 ตำแหน่ง จาก 29 ประเทศทั่วโลก เพื่อดูความเป็นไปได้ว่า Automation จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างไรในอีก 20 ปีข้างหน้า
1
มาดูกันดีกว่าว่ารายงานนี้พูดถึงประเด็นน่าสนใจอะไรบ้าง
1) การเปลี่ยนแปลง 3 ครั้งใหญ่
การเปลี่ยนแปลงโดย Automation ถูกแบ่งไว้เป็น 3 ครั้งใหญ่หรือ 3 ระลอกด้วยกัน ดังนี้
ครั้งที่ 1 : “Algorithm Wave”
เกิดในช่วงทศวรรษ 2020 ตอนต้น ในช่วงนี้จะเกิดการ Automation งานคำนวณที่ไม่ซับซ้อนและงานวิเคราะห์ข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน อย่างงานที่เกี่ยวกับการให้บริการด้านการเงิน
ครั้งที่ 2 : “Augmentation Wave”
เกิดในช่วงทศวรรษ 2020 ตอนปลาย งานรูทีนบางอย่าง เช่นการกรอกแบบฟอร์ม จะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี ส่วนงานในสภาพแวดล้อมแบบกึ่งควบคุม (Semi-controlled) เช่น การย้ายสิ่งของในคลังสินค้า จะเป็นงานของหุ่นยนต์แทน ภาษาโปรแกรมบางภาษาจะถูกลดความสำคัญ เพราะงานบางอย่างถูกทำให้เป็นอัตโนมัติไปแล้ว และระบบคอมพิวเตอร์สามารถสร้างและเรียนรู้อัลกอริทึมด้วยตนเอง
1
การให้บริการด้านการเงินจะยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระลอกแรก แต่ในระลอกที่ 2 นี้ งานเสมียน งานธุรการ การผลิต และการขนส่งจะเริ่มได้รับผลกระทบ
ครั้งที่ 3 : “Autonomy Wave”
เกิดในช่วงทศวรรษ 2030 ตอนต้นถึงกลาง ในช่วงนี้การ Automation จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในงานที่ใช้แรงงาน ใช้ความชำนาญ และที่ต้องการความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ในระลอกนี้ งานก่อสร้าง งานจัดการระบบน้ำ ระบบน้ำเสียและของเสีย และ งานขนส่งและจัดเก็บ จะถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรและหุ่นยนต์อย่างเต็มรูปแบบ
1
2) อุตสาหกรรมใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ
ทุกอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบ แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับ ‘ประเภท’ ของอุตสาหกรรม และ ‘ช่วงเวลา’ ของการเปลี่ยนแปลง
ในระยะแรกๆ อุตสาหกรรมอย่างการให้บริการด้านการเงินจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะการใช้อัลกอริทึมจะนำไปสู่การวิเคราะห์และการประเมินที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า
แต่ในระยะยาวที่การพัฒนาเทคโนโลยีการเดินทางแบบไร้คนขับสำเร็จ อาชีพในด้านการคมนาคมจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ดังที่เห็นในกราฟว่าช่วงแรกๆ การคมนาคมไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ตั้งแต่ระลอก 2 ไปจนถึง 3 กลับกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจาก Automation โดยมีความเสี่ยงอยู่ที่ 50%
1
จริงอยู่ที่ว่าไม่มีงานใดที่ไม่ได้รับผลกระทบ แต่การแพทย์และสาธารณสุขจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าภาคส่วนอื่นๆ เพราะงานเหล่านี้ต้องใช้ทักษะทางสังคมและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ แน่นอนว่าในอนาคต เอไอและหุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากๆ ในวงการแพทย์ แต่จะเข้ามาเป็นเครื่องมือ ‘เพิ่มประสิทธิภาพ’ ให้หมอและพยาบาล มากกว่าการ ‘แทนที่’ บุคลากรเหล่านี้
2
อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบน้อยเช่นกัน ได้แก่ ด้านสังคมสงเคราะห์ และการศึกษา
3) ใครบ้างที่จะได้รับผลกระทบ
#ชายหรือหญิง
การศึกษาพบว่าในการเปลี่ยนแปลงระลอก 1 และ 2 เพศหญิงจะได้รับผลกระทบมากกว่าเพศชาย โดยในช่วงระลอกที่ 2 หรือทศวรรษ 2020 ตอนปลาย เพศหญิงจะได้รับผลกระทบมากถึง 25% ในขณะที่เพศชายจะอยู่ที่ประมาณ 16% เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะงานที่ถูก Automation ในช่วงแรกๆ เป็นงานเสมียนและงานธุรการ อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวเพศชายจะได้รับผลกระทบมากกว่า (อยู่ที่ประมาณ 34%) เพราะในระลอกที่ 3 นั้นจะเริ่มมียานพาหนะไร้คนขับและเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม มาแทนที่แรงงานเพศชาย
1
#เด็กหรือแก่
หากดูที่ ‘อายุ’ เป็นเกณฑ์อาจไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะทุกๆ วัยได้รับผลกระทบใกล้เคียงกัน โดยมีการคาดการณ์ว่าเมื่อถึงช่วงทศวรรษที่ 2030 ตอนกลาง คนหนุ่มสาว (อายุต่ำกว่า 25 ปี) และคนสูงอายุ (อายุมากกว่า 55 ปี) จะได้รับผลกระทบประมาณ 30% ขึ้นไป ในขณะที่คนวัยกลางๆ (อายุ 25-54 ปี) ได้รับผลกระทบน้อยกว่า 30% เล็กน้อย
#ระดับการศึกษา
ในการเปลี่ยนแปลงระลอกแรก กลุ่มคนที่มีการศึกษาปานกลางถึงสูง จะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มที่มีระดับการศึกษาต่ำ อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว กลุ่มคนที่มีระดับการศึกษาต่ำจะได้รับผลกระทบมากเกือบ 50% และตามมาด้วยกลุ่มระดับการศึกษาปานกลาง (≈ 38%) ในขณะที่กลุ่มระดับการศึกษาสูง จะได้รับผลกระทบราวๆ 12% เท่านั้น
4) รัฐบาลจะรับมืออย่างไร
จริงอยู่ที่หลายคนกังวลว่าจะถูก ‘แย่งงาน’ แต่ถ้าหากประเทศของเราขับเคลื่อนด้วยความกลัว ไม่ยอมเรียนรู้และไม่ยอมนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ๆ อาจจะเสียโอกาสดีๆ และต้องตามหลังประเทศอื่นๆ เพราะไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว เอไอและหุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตเราแน่นอน
ดังนั้นจะดีกว่าไหมหากเราเตรียมรับมือตั้งแต่วันนี้?
จากผลการศึกษา เราจะเห็นได้ว่าการลงทุนในการศึกษา การพัฒนาทักษะเดิม (Upskill) หรือการเพิ่มเติมทักษะใหม่ (Reskill) นั้นสำคัญมาก ในการตอบรับความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนี้ โดยเฉพาะทักษะทางด้านดิจิทัล ทักษะด้าน STEM และซอฟต์สกิล อย่างความคิดสร้างสรรค์ ความยืดหยุ่น และการแก้ไขปัญหา
2
อีกหน้าที่สำคัญของภาครัฐ คือ การสร้างความเท่าเทียมเมื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาถึง ไม่ว่าจะเป็นเอไอ หุ่นยนต์ หรือเครื่องมืออื่นๆ ทุกภาคส่วนและทุกอุตสาหกรรมต้องสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเป็นโจทย์ที่ยากไม่น้อยสำหรับรัฐบาลเลย
แม้งานบางอย่างจะหายไปในอนาคต แต่เชื่อเถอะว่าหากเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ จะมีงานใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อรองรับแรงงานแน่นอน อย่างไรก็ตาม งานใหม่นี้อาจจะต้องการ ‘ทักษะใหม่’ และทักษะเดิมที่เรามีคงไม่เพียงพอ
ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ในฐานะปัจเจกบุคคล คือ การฝึกตัวเองให้เป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learners) ที่พร้อมจะเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ตลอดเวลา แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปแค่ไหนนั่นเอง
อ้างอิง:
รายงาน Will Robots Really Stedl Our Jobs? : An international analysis of the potential long term impact of automation จาก PwC
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ
Lifelong Learners 101: อะไรเป็น 'ตัวกระตุ้น' ให้เราเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต? >> https://bit.ly/3EFN5fw
อายุเท่าไรก็เรียนได้! พัฒนาทักษะและความรู้ ด้วย ‘Lifelong Education’ >> https://bit.ly/3wbsYDE
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#reskill
โฆษณา