26 เม.ย. 2022 เวลา 13:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลอย่างมากกับทั้งภาคเศรษฐกิจและภาคสังคมทั่วโลก ทั้งกับการดำเนินชีวิตของผู้คนและแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กร วันนี้จึงหยิบเรื่อง "เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)" มาให้ผู้อ่านทำความรู้จักกัน
3
เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) นั้นเป็นเทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบกระจาย ซึ่งถ้าจะเปรียบไปก็เหมือนกับการมีแผ่นตารางทำการขนาดใหญ่ ที่สามารถใช้บันทึกธุรกรรมต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1
โดยคนที่เข้ามาร่วมทำงานกับข้อมูลนี้ สามารถทำงานได้จากคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ส่วนตัวของตนเองเพราะเป็นข้อมูลเปิดสาธารณะที่ใคร ๆ ก็สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือตรวจสอบได้
ซึ่งการทำเช่นนี้ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกธุรกรรมต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้ในชุดข้อมูล Blockchain ใช้วิทยาการเข้ารหัสข้อมูลและเทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ในการบันทึกข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม
หากเรานำปริมาณข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ Internet of Things มาใช้บันทึกข้อมูลด้วยเทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ ก็จะพบว่ามีรายการข้อมูลธุรกรรมที่จะต้องบันทึก เป็นจำนวนหลายล้านครั้ง
เมื่อนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้จะช่วยให้ไม่ต้องอาศัยพลังของแพลตฟอร์มขนาดใหญ่แต่สามารถประมวลผลผ่านแพลตฟอร์มขนาดเล็ก ๆ จำนวนมากที่จะเข้ามาช่วยกันประมวลผลให้การบันทึกธุรกรรมมีความปลอดภัย ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ
จึงทำให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain กับอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและยังพัฒนาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย
ถึงแม้ Blockchain จะมีประโยชน์ และสามารถใช้ได้อย่างหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ Blockchain มักเป็นที่รู้จักในแวดวงทางการเงินผ่านการประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลสกุลเงินดิจิทัล
ซึ่งสกุลเงินดิจิทัลที่คนส่วนใหญ่รู้จักก็คือ Bitcoin โดยในหลายประเทศยังไม่อนุญาตให้เราสามารถซื้อขาย แลกเปลี่ยนบริการต่าง ๆ ด้วย Bitcoin ได้เพราะการทำธุรกรรมหรือการซื้อขายแลกเปลี่ยน ด้วย Bitcoin
1
ทั้ง 2 ฝ่ายที่เข้ามาทำธุรกรรมไม่จำเป็นต้องรู้ว่าอีกฝ่ายเป็นใครทำให้เป็นอิสระจากการควบคุมจากหน่วยงานกลางที่มีอำนาจ แต่ก็ยังได้รับความเชื่อถือในการทำธุรกรรม
โดยวิธีการทำงาน Blockchain คือถ้าเราจะบันทึกธุรกรรมภายในของเราในฐานข้อมูลแบบกระจาย ทุกคนที่อยู่ในสายโซ่เดียวกัน (Chain) แต่ละคนก็จะมีการบันทึกข้อมูลลงในบล็อกที่มีการเข้ารหัสไว้พร้อม ๆกันในฐานข้อมูลของแต่ละคน ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลที่บันทึกรายการใดถูกต้อง
ดังนั้นในแต่ละสายโซ่ Chain จะต้องมีผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมรายการนั้น ซึ่งแต่ละครั้งจะมีผู้ตรวจสอบความถูกต้องได้เพียงคนเดียว ซึ่งผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องนั้นเราจะเรียกว่า Miners
ซึ่งการมี Miner คนเดียว ย่อมไม่สามารถไว้ใจได้ ดังนั้นในระบบ Blockchain จึงถูกออกแบบให้มี Miner จำนวนมาก เข้ามาแย่งกันทำหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของรายการ โดยในแต่ละครั้งจะมี Miner เพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะได้รับฉันทามติให้เป็นผู้ตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม ผ่านหลักฐานการทำงาน
ดังนั้นการที่ Miner จะสามารถเป็นผู้ตรวจสอบรายการได้สำเร็จ Miner จะต้องมีทรัพยากรการคำนวณที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในสายโซ่ (Chain) ด้วยกลไกนี้ ทำให้เทคโนโลยี Blockchain มีความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือสูง
ซึ่งจากการคาดการณ์ของหลายสำนัก ทำให้ประมาณการณ์ได้ว่าพลังการคำนวณทั้งหมดที่มีอยู่ของ Google เทียบได้กับพลังการประมวลผลเพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ของพลังการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในสายโซ่ Blockchain ที่ใช้ในการตรวจสอบการบันทึกรายการธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin
1
เนื่องจาก Bitcoin ถือได้ว่าเป็นเงินสกุลดิจิทัลที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในตลาดที่ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนบริการ ดังนั้นการตรวจสอบรายการชำระเงิน จึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ทำให้มีผู้คนจำนวนมากเข้ามาลงทุนในทรัพยากรในการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อที่จะคอยทำหน้าที่เป็น Miner ให้กับระบบ Blockchain Bitcoin โดย Miner ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมแต่ละรายการสำเร็จใน Bitcoin Blockchain
จะได้รับผลตอบแทนเป็น Bitcoin และนั่นเองคือเหตุผลสำคัญว่า ทำไมระบบ Bitcoin Blockchain จึงมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือสูง เพราะใน Bitcoin Blockchain มีคอมพิวเตอร์จำนวนนับไม่ถ้วนที่คอยทำหน้าที่ Miner
ดังนั้นการที่จะกระทำการฉ้อโกงภายใต้ทรัพยากรการคำนวณที่ทรงพลังที่สุดในโลกย่อมไม่สามารถกระทำได้
เทคโนโลยี Blockchain ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการนำไปประยุกต์ใช้งานและกำลังจะกลายเป็นเทคโนโลยีกระแสหลักในระยะต่อไป
เพราะ Blockchain เป็นเทคโนโลยีการประมวลผลข้อมูลแบบกระจายตัว ทำให้ไม่ถูกควบคุมจากส่วนกลาง ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้การทำธุรกรรมในสังคมและเศรษฐกิจ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม
ซึ่งต่างจากรูปแบบการทำธุรกรรมในรูปแบบเดิม การนำ Blockchain เข้ามาใช้จะทำให้รูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตของเราทุกคนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ดังนั้นการปรับตัวในโลกยุคดิจิทัลนี้รวดเร็วและรุนแรง
3
การเตรียมพร้อมและการสร้างความสามารถในการเปลี่ยนตัวเองบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงเป็นคุณสมบัติพื้นฐานขององค์กรยุคใหม่ที่จะอยู่รอดได้ในอนาคต
ข้อมูลจาก : สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
โฆษณา