27 เม.ย. 2022 เวลา 04:58 • คริปโทเคอร์เรนซี
สรุป Tacsha’s Crypto Macroeconomics VDO 1 ชั่วโมง เดือน Apr 2022
Tacsha เป็นใคร ทำไมผมต้องมาเขียน สรุปด้วย ❓
✔️เธอเป็นบุคคลหนึ่ง ผู้ติดตาม 140k ใน Twitter ที่ เขียนเกี่ยวกับ #Crypto #Macroeconomic วิเคราะห์ประเด็น ภาพรวม Crypto DeFi ได้ดีมากๆ ผมได้ฟัง หลายๆ VDO ถือว่า มองหลายอย่างได้ขาดทีเดียว
เธอมี PhD ในด้าน #macroeconomics และ วิเคราะห์ในเทรนด์การลงทุนระยะ กลาง-ยาว (ตรงกับ แนวที่ผมเขียนวิเคราะห์เป็นหลัก) และ คดีเด็ดของเจ๊แกที่ทำให้โด่งดังคือ นำเพชร (เพชรเป็นเม็ดจริงๆ) ที่ซื้อมา มาทุบทำลาย & mint NFT เพชร ขึ้นมา ไว้ขาย!! (ขายไปได้ 5.5 ETH)
จะเปรียบยังไงดี นึกสภาพเหมือน เจ๊แก พูดแนวคล้ายๆ อจ. นิรันดร์ ครับ (ขออนุญาตพาดพิง 55+)
(อย่างไรก็ตาม เวลาฟัง/อ่าน ก็ต้อง เชื่อส่วน ไม่เชื่อส่วนด้วย เป็นไว้ไอเดีย เพื่อ finalized ไอเดียตนเอง ดีที่สุดนะครับ!!) 🛑 #NFA & #DYOR เสมอ!!
***
❓Q: #DEX ทำยังไง ให้อยู่รอด? มีตัวอย่างไหม?
✔️OSMO น่าสนใจมากขึ้น แต่ DEX เป็นธุรกิจที่โดนกอปปี้ง่าย การแข่งขันถือว่าลำบาก OSMO แตกต่าง เพราะเป็น Cross Chain Swap แถมเข้าถึง 20+ Chain ด้วย Tasha ส่วนตัวชอบ OSMO พอควร แต่บอกนะ DEX ก็เป็นตลาดที่คู่แข่งเยอะมาก
Disclaimer เจ๊บอก ยังไม่มี OSMO นะ (แต่อาจจะมีซื้อบ้างละ)
❓Q: #OSMO เป็นเหรียญ high inflationary นะ? จะไหวหรอ?
✔️Token Emission (เหรียญผลิต) โดนปล่อยออกมา แตกต่างจาก inflation (เหรียญเฟ้อ)
Tascha เล่าว่า ถ้าเหรียญโดนปล่อยออกมา 5% ก็จริง แต่ถ้าการเติบโตของ Protocol มา & ความต้องการ 5% หรือมากกว่า ก็ถือว่าเป็นผลดี
ของ OSMO ปัจจุบันประมาณ 85% ต่อปี ซึ่งนำไปแจกกับ LPs ที่คนมาปล่อยสภาพคล่อง
ปกติเวลาเห็น Protocol ใหม่ๆ มักมี Token Emission (เหรียญผลิต) ให้ APY สูงมากๆๆ
***
✔️ลองนึกเป็นประเทศหนึ่ง ประเทศต้องการอัดฉีดให้เศรษฐกิจก้าวหน้าไวๆ #ร้าบาล กระตุ้นโดยการแจกเงิน (airdrop)
 
สมมุติประเทศแจก จากเม็ดเงินที่มีหมุนเวียนในประเทศ เพิ่มขึ้น 20% ภายใน 1 ปี & ผลปีถัดไป:
A) ถ้าอาหาร ราคาขึ้น 3-15% = แสดงว่า แจกไป เศรษฐกิจยังไม่เฟ้อมาก (ในระยะสั้น) คนรู้สึกมีกำลังใจ กล้าใช้เงิน
B) ถ้าอาหาร ราคาขึ้น 20% หรือมากกว่า = หยั่งงี้ แจกไป เหมือนไม่แจก
***
❓Q: แจก #Token เยอะๆ ต่อปี ยังไงมันก็เฟ้อ & ราคาตกอยู่ดีไหม?
✔️ตราบใดที่ การแจก APY 100-200% ต่อปี ถ้า Protocol รายได้เติบโต 100-200% เหมือนกัน หรือ มากกว่า ถือว่ายังไม่เฟ้อ เพราะ ธุรกิจก็โตตาม (มีคนใช้งานเพิ่ม มีสินค้าใหม่ให้ใช้งาน เป็นต้น) เป็นการเติบโตแบบ ยั่งยืน
แบบนี้เรียกว่า #Bootstrap Growth
แต่!! ถ้าคุณซื้อ & ถือเฉยๆ อาจจะถือว่าไม่เหมาะ เพราะ คุณไม่ได้ Stake / ปล่อย LPs เพื่อรับ Protocol Share ไว้ด้วย
เช่น ตัวอย่าง:
A) ซื้อถือไว้ เฉยๆ 100 token = 100 บาท (1 token = 1 บาท)
>> 1 ปีถัดมา >> ยังมี 100 token = มูลค่าตกเหลือ 50 บาท (1 token = 0.5 บาท)
B) ซื้อ Stake / ปล่อย LPs 100 token = 100 บาท (1 token = 1 บาท) รับ APY 100%
>> 1 ปีถัดมา >> มี 200 token = มูลค่าตกตามบาทก็จริง แต่เงินยัง 100 บาท (1 token = 0.5 บาท) แต่คุณได้รับ token เพิ่มไง!!
(ยกตัวอย่างให้แบบ เหมือนไม่ได้ กำไร นะครับ เพื่อจะได้เห็นตัวเลขง่ายๆ หน่อย)
C) สมมุติเหมือน ข้อ B) เลย แต่ 1 ปีถัดมา >> ราคาเท่าเดิม แปลว่า คุณก็มีเงิน 200 บาท เลยนะ!
จะเห็นได้ว่า ทาง Protocol อย่าง OSMO กึ่งบังคับ อยากให้ participate (มีส่วนร่วม) ใน Protocol
***
❓Q: การลด #TokenEmission (ลดการแจกจ่ายเหรียญที่ผลิตออกมา) ใน Protocol ต่างๆ จะอิงรูปแบบเหมือน #Bitcoin ไหม?
Bitcoin ตัวมันเอง เป็น #StoreofValue ไม่ได้ สร้าง Cash flow เข้าธุรกิจ เข้า protocol
✔️ปัจจัยคือ protocol สร้างมูลค่าได้จริงไหม? มีผู้ใช้งานเพิ่มไหม? กักเก็บ TVL ไว้ได้ไหม?
***
❓Q: #Superfluid Staking เป็นยังไง model นี้?
Superfluid Staking คือ ประมาณว่า Staking โดยไม่มีการบังคับขั้นต่ำ ว่าระยะเวลาแค่ไหนในการถอน คือ ถอนได้เลย (สมมุติของ Luna ถ้า Stake จะโดนล็อค 21 วัน)
❓Q: รูปแบบของ Superfluid #Staking ถือว่าเป็น Moat (ป้อมปราการของบริษัท) ไหม?
✔️ปูพื้นฐานนิดนึง #Moat คือ
1. ทรัพย์สินไม่มีตัวตน (Intangible Asset) = ได้แก่ แบรนด์ที่ลูกค้าภักดี สิทธิบัตร สัมปทาน
2. ความได้เปรียบทางด้านต้นทุน (Cost advantage) = ต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งมาก
3. ต้นทุนการเปลี่ยนย้าย (Switching Cost) = เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าย้ายไปใช้สินค้าหรือบริการของคู่แข่งได้ยาก
4. พลังแห่งเครือข่าย (Network Effect) = บริษัทที่สินค้าหรือบริการจะมีคุณค่าเมื่อมีคนใช้จำนวนมาก
5. ตลาดที่จำกัด (Efficiency Scale) = อุตสาหกรรมที่มีขนาดตลาดจำกัด และเติบโตอย่างช้าๆ
ข้อมูลจาก: Finnomena
✔️รูปแบบของ Superfluid Staking มักจะมีเรื่องของ Slippage เพราะต้องแลกกัน ระหว่าง (A) เหรียญโดนล็อค 21 วัน vs (B) เหรียญถอนได้ด่วน ทันใจ อยู่ใน กึ่งๆ LP หรือ ตัว DEX นั่นละ
(จริงๆ ผมตอนแรก นึกว่า เป็น Penalty Fee ซะอีก) กรณีถอนก่อนกำหนด เช่น มี 100 token ฝากไว้ แต่จะ ถอนด่วนทันใจ จะต้องเสียค่าถอนด่วน 3% เป็นต้น
แต่ถ้า Slippage น้อยมากๆ ก็ถือว่า เกือบแลกได้ 1 ต่อ 1 ถือว่า เป็น Moat ที่ดี ทีเดียว (คุณ Tascha ชอบ OSMO เพราะ Slippage ถือว่าน้อย ในส่วน Superfluid Staking)
Moat ที่แข็งแรงของ DeFi เช่น มี สภาพคล่องสูง มีผลิตภัณฑ์ที่โครตดี คนอื่นกอปไม่ได้
***
❓Q: “#Value #accrual” ของ Protocol คืออะไร?
แปลตรงตัวคือ มูลค่าคงค้าง ซึ่งอาจจะงงนิดๆ
✔️ให้แปลให้เข้าใจง่ายกว่านี้ คือ มูลค่าที่กักเก็บไว้ได้ จากการสร้างรายได้ & เพิ่มเข้าไปสู่เหรียญนั้นๆ
เวลาดูแบบนี้ ต้องดู
1 การที่เก็บมูลค่าได้ “ใคร” ได้ประโยชน์สูงสุด? เช่น Smart Contract platform ตัวนึง ไม่มี DEX เลย แต่ เมื่อมี DEX มาเปิดแล้ว ทำให้คนซื้อขายง่าย Platform Coin ได้ประโยชน์
2 ใครโดนทดแทนได้ยากที่สุด? สร้าง DEX 10ตัว 100ตัว ได้ง่ายๆ สบายๆ ไม่มีประโยชน์เท่าไร
***
❓Q: เราควรเลือกแต่เหรียญ #Layer1 ไหม? แม้ว่าจะไม่รู้ตัวไหนรอด แต่มีพื้นฐานดีสุด?
✔️Tascha เห็นด้วยว่า Risk to Reward เหรียญ Smart Contract มีโอกาสได้ดีสุด
Cosmos platform เป็นตัวอย่าง ที่ เพราะ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวว่า ATOM ราคาจะขึ้นนะ เพราะไม่ต้องใช้ เหรียญ ATOM ด้วย จะเห็นได้ว่า แม้ว่า Cosmos โตได้ดี แต่ไม่เอี่ยวกับ ราคาเหรียญ ATOM ขึ้นไปด้วย
แต่ถ้าเหรียญ OSMO จะต้องใช้ OSMO ในการทำเป็นค่าธรรมเนียม
***
❓Q: คิดยังไงกับ #Terra?
✔️Tascha มองลบนิดนึง ให้ดู market cap ของ UST ถ้ากรณี ขนาดโตขึ้น ก็ไปเพิ่มราคา Luna
แต่ปัญหาคือ 70% ของ UST ไปไหน? มันไปอยู่กับ Anchor Protocol ที่คนฝากกินดอกเบี้ย 19.5%
เจ๊มองเรื่องของความยั่งยืนของ Anchor ว่า จ่ายเงินให้คนเกินตัว แม้กระทั่งมายืมเงิน ก็จ่ายอีก (ด้วย ANC) เป็นธุรกิจที่ไม่กำไร ซึ่งอาจเป็นปัญหา…
รูปแบบ Startup ที่ให้ Incentive แก่ผู้ใช้งานเริ่มต้น เช่น Paypal ก็มีแจกเงิน เมื่อมีการโอนเงิน อย่าง Paypal ทำคือ สร้าง network effect ให้กลุ่มคนใช้กันเยอะๆๆ ถ้าคนใช้ Paypal ก็ไม่มีประโยชน์เลย
✔️เป้าหมายคือ Terra ทำให้ scale ขนาดใหญ่ได้แบบ Paypal ได้เปล่า? ปัญหาเพิ่มคือ คนแค่เอามาฝาก แล้วถ้าลด APY 20% ลงละ? คนจะหนีการใช้งานเปล่า?
กึ่งๆแล้ว Tascha ยังมองแอบเป็น Ponzi อยู่ แถมถึงยังมีพวก TRON, NEAR ก็พยายามผลักดัน Algo Stablecoin เช่นกัน
SoLunAvax ทาง Tascha มองว่า Luna ถือว่าเป็นตัวเสี่ยงสุด เพราะ Sol & Avax กระจายความเสี่ยงได้ดีกว่า
ปล. ส่วนนี้ละ! นี้ผมคัดค้านไม่เห็นด้วยแน่นอล! ผมสายมู เฮ้ย สายมูน อยู่แล้ว
Never bet against the moon!! (NFA)
ปล2. ใน Twitter เจ๊ มีบทความวิเคราะห์ Crypto Macroeconomics อีกมากมาย ไปติดตามอ่านได้นะครับ
#EarthDeFIRE รายงาน 27/04/2022
โฆษณา