3 พ.ค. 2022 เวลา 02:40
ฌาน กระทำขณะอายตนะทั้ง 6 ดำเนินอยู่ตามปกติ(ตลอดชีวิต)
เพื่อความถ้วนรอบในฌาน ลำดับต่อไปนี้ อาตมาจะแสดงธรรมในหัวข้อธรรมว่า ฌาน ต้องกระทำขณะอายตนะทั้ง 6 ดำเนินอยู่อย่างปกติ ตลอดชีวิต โดยอาตมาได้อาศัยเอา อินทริยภาวนาสูตร ข้อ853 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่14 เป็นที่ตั้ง เพื่อแสดงธรรมนี้ ขอพวกเราได้รับฟังไปตามลำดับดังต่อไปนี้เถิด
ในเรื่องของการกระทำฌานนี้ อาตมาได้แสดงธรรมในองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กับพวกเราได้รับฟังมาตามลำดับแล้วว่า เมื่อองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในธรรมอันเป็นเหตุแห่งความเกิดทุกข์อย่างบริบูรณ์แล้ว พระองค์ท่านก็ได้ตรัสรู้ อันเป็นเหตุแห่งความดับทุกข์อย่างบริบูรณ์เช่นเดียวกัน
ธรมอันเป้นเหตุแห่งความดับทุกข์นั้นคือธรรมที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรม อันประกอบไปด้วย สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์8 ในธรรมที่ชื่อว่าโพธิปักชิยธรรมนี้ ปลายสุดของธรรม หรือที่สุดแห่งธรรม คือสัมมาสมาธินั้น องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศธรรมของพระองค์ชัดเจนว่า การที่จะได้มาซึ่งสัมมาสมาธินั้น จะต้องเกิดจากการกระทำฌานเท่านั้น
ดังนั้น บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดที่จะได้มาซึ่งสัมมาสมาธิ บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดนั้น จะต้องเป็นบุคคลผู้ที่รู้เหตุเกิด รู้เหตุดับ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง6 ตามความเป็นจริงเท่านั้น จึงจะสามารถปฏิบัติธรรมเพื่อความสิ้นทุกข์ คือการกระทำฌานนั้นได้
คำว่ารู้เหตุเกิด คือรู้เหตุเกิดทุกข์ ทุกที่ต้องไปในนรก ในเดรัจฉาน ในเปรต ในมนุษย์ ในเทวดาทั้งสิ้นนั้นรู้แล้ว และต้องรู้เหตุดับว่า ทำยังไงถึงจะดับทุกข์ที่ต้องไปในนรก ในเดรัจฉาน ในเปรต ในมนุษย์ ในเทวดานั้นจนสิ้นได้ ไปสู่นิพพาน สู่ปรินิพพาน โดยธรรมที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรมนี้
ขณะที่รู้เหตุเกิด รู้เหตุดับนี้ ขณะที่รู้เหตุเกิดนั้น ก็ต้องรู้คุณด้วย เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้มีคุณด้วย คือเรามีร่างกายเรามีอัตตาตัวตนของเราอยู่ เป็นที่อยู่ของวิหารธรรม เป็นที่อยู่ของจิต ของมโน ของวิญญาณที่เป็นธรรม เพื่อให้เราปฏิบัติธรรม
เจ้าร่างกายนี้จะต้องตั้งอยู่ และอยู่อย่างมีความสุขด้วยอาหาร อาหารที่ต้องเข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจหรือทางจิต ต้องกินเข้ามา เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความดำรงอยู่อย่างมีความสุข เพื่อจะเป็นที่อยู่ของธรรม แต่เมื่อรู้คุณแล้วก็ต้องรู้โทษ การที่มีร่างกาย การที่มีอัตตาตัวตน การที่มีอาหารนี้ เป็นเหตุให้เราต้องเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนเจ็บ เวียนตายอยู่ในทุกข์ ไม่มีที่สิ้นสุด
ตรงนี้เองเราจึงต้องดับทุกข์เพื่อพ้นจากทุกข์ วิธีการดับทุกข์นั้น กระทำโดยอุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง6 ตามความเป็นจริง เท่านั้น คือการหระทำฌาน ทุกข์เกิดที่ตาดับที่ตา ทุกข์เกิดที่หูดับที่หู ทุกข์เกิดที่จมูกดับที่จมูก ทุกข์เกิดที่ลิ้นดับที่ลิ้น ทุกข์เกิดที่หายดับที่กาย ทุกข์เกิดที่จิตดับที่จิต ทำตลอดเวลาที่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิตหรือใจดำเนินอยู่
เพื่อให้เห็นถ้วนรอบในเรื่องนี้อาตมาจพนำเอา อินทรียภาวนาสูตร ข้อ853 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่14 มาอ่านให้กับพวกเราได้รับฟัง เพื่อคงเนื้อความแห่งธรรมให้บริบูรณ์ ให้กับพวกเราได้รับฟัง ดังต่อไปนี้ แล้วอาตมาจะอธิบายสรุปเป็นข้อๆ ให้กับพวกเราได้รับฟังไปตามลำดับดังต่อไปนี้
อินทรียภาวนาสูตร ข้อ853 ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา ครั้งนั้นแล อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันได้แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ข้อ854 พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า ดูกรอุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า อุตตรมานพกราบทูลว่า แสดง พระโคดมผู้เจริญ
ดูกรอุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียงด้วยโสต
ดูกรอุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์ ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอดไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ ก็ได้นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก
ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
ข้อ855 ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุตตรมาณพศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์นั้น นั่งนิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งกับท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของ
พระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต เป็นการสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาค จะทรงแสดงการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้
นี่เป็นคำ ที่เป็นคำเบื้องต้น ที่เป็นจุดเกิดเหตุ ที่ทำให้องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แสดงอินทรียภาวนาสูตรนี้ นั่นเพราะว่า เมื่ออุตตรมานพผู้เป็นศิษย์ของพราหมณ์ปาราสิริยะ ได้เข้าเฝ้าองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พอทักทายกันแล้ว องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสถามอุตตรมานพว่า ปาราสิริยะพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของเรานั้นหนะ ได้แสดงวิธีเจริญอินทรีย์ภาวนา คือการปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ให้แก่สาวกหรือไม่?
อุตตรมานพก็ตอบว่า แสดงท่านพระโคดม เป็นเหตุให้พระศาสดาได้ถามว่าแสดงอย่างไร? ด้วยประการใด? อุตตรมานพก็ตอบว่า ปาราสิริยะนั้นแสดงว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียงด้วยโสต ก็คืออย่าเห็นรูปใดๆด้วยตา อย่าใด้ยินเสียงใดๆด้วยหูเลย
ทำให้พระศาสดาได้ตรัสกับอุตตรมานพว่า ถ้าคนที่เจริญอินทรีย์ตามปาราสิริยะแล้วหนิ ย่อมเป็นคนตาบอด ย่อมเป็นคนหูหนวก นั่นเพราะคนตาบอดจะไม่เห็นอะไร คนหูหนวกจะไม่ได้ยินอะไร นี่เพียง 2 เรื่องนะ เพียง 2 อายาตนะ ถ้ามาถึงจมูกก็คือจะไม่ได้กลิ่นอะไรเลย ลิ้นก็ไม่มีรสชาติอะไรเลย กายก็ไม่สัมผัสอะไรเลย จิตก็ไม่รับรู้ใดๆเลย
เพียง 2 เรื่อง ก็ถูกพระผู้มีพระภาคได้ทักท้วงเอาแล้วอย่างจังแล้ว นี่คือความเห็นผิด ซึ่งวิธีการกระทำดังกล่าวนี้ มาพ้องกับคนในยุคพุทธกาลหลายๆคณะ และก็มาพ้องกับคนในยุคหลังพุทธกาลนี้ ซึ่งมาการนั่งสมาธิ นั่งเลือกเวลา ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า ก็หลับตาเพื่อไม่ให้ดูอะไร หูก็ไม่ฟังอะไร จมูกก็ไม่ดมกลิ่นอะไร ลิ้นก็ไม่รับรสอะไร กายก็ไม่สัมผัสอะไร จิตก็ไม่รับรู้อะไร
นิ่งๆกดตัวเองอยู่ เป็นอาการเดียวกัน กับที่อุตตรมานพ รับมาจากปาราสิริยะนี้ ที่พระพุทธเจ้าทักท้วง ผู้เป็นชาวพุทธต้องรู้เรื่องนี้ เรื่องนี้กำลังทำผิด ต่อธรรมของพระศาสดาอยู่ในหมู่ของผู้นั่งสมาธิบ้าง ผู้เดินจงกรมบ้าง ผู้สวดมนต์บ้าง ผุ้ปฏิบัติธรรม 3วัน 5วัน 7วันบ้าง หรือผู้เดินธุดงค์บ้างอย่างนี้ เป็น ขัดต่อธรรมของพระศาสดาชัดๆ พระศาสดาได้ว่าให้ฟัง คือการกระทำต้องกระทำที่ในขณะที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจทำงานอยู่อย่างปกติ
ดังนั้น เมื่อท่านพระอานนท์ได้ปราบทูลแล้ว พระศาสดาก็แสดงดังนั้นว่า ดูกรอานนท์ถ้าเช่นนั้นเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป ท่านพระอานนท์ก็ทูลรับคำพระผุ้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า
เริ่มต้นที่ส่วนต่อไปดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ก็การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากเหมือนอย่างบุรุษผู้มีตาดีกระพริบตา ฉะนั้น อุเบกขาเขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ด้วยจักษุ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ
เราฟังเนื้อความแห่งธรรมแล้วเราจะเห็นว่า องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสชัดเจนว่า การที่อายตนะที่1 คือตานี้ เมื่อตาเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง จักษุวิญญาณรับรู้แล้ว เกิดสัมผัสแล้ว เกิดรูปขึ้นแล้ว ลำดับต่อมาก็เกิดเวทนา ที่เป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง หรือเกิดความชอบใน มนาปา หรือความไม่ชอบใจ อมนาปา หรือทั้งความชอบใจไม่ใชอบใจ คือ มนาปามนาปัง
เมื่อเกิดขึ้นแล้วดังนี้ ตัวเรารู้ก่อนว่ามันเกิดขึ้นแล้ว เราได้เกิดความชอบใจและความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจขึ้นแล้วในสิ่งนี้ เรารู้ชัดว่า ไอ้ความชอบใจดังนี้หนะ เป็นสังขตะ เป็นการปรุงขึ้น เมื่อชอบใจบางทีก็เปลี่ยนเป็นไม่ชอบใจ เมื่อไม่ชอบใจก็เปลียนเป็นชอบใจได้ เมื่อทั้งชอบใจและไม่ชอบใจก็พร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นทั้งชอบใจและไม่ชอบใจได้เช่นเดียวกัน เรารู้ว่าเป็นความเกิดขึ้น ที่ปรุงแต่งกันเกิดขึ้นหยาบๆ ยังพร้อมที่จะเป็นทุกข์อยู่ในวัฏสงสารนั่นเอง
เธอทราบชัดว่า ยังมีสิ่งที่ละเอียดที่ประณีตกว่านี้คืออุเบกขา คือการวางเฉย การที่จะได้การวางเฉยหรืออุเบกขานั้น คือการกระทำฌานมาแล้วตามลำดับ จึงจะได้ความเป็นอุเบกขาที่เป็นปลายสุด นั่นหมายถึงว่า เมื่อเกิดความชอบใจไม่ชอบใจในรูปใดๆ เธอเห็นแล้วว่านี่เกิดขึ้นแล้วนะ เป็นสิ่งที่เกิดต้องอาศัยแล้วนะ พอเธอได้อาศัย เธอรู้ชัดว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้เธอเป็นทุกข์อยู่ เพราะเป็นปัจจัยปรุ่งแต่งหยาบๆ
เธอก็ทำความดับ คือเธอละกาม ละอกุสลธรรมจากสิ่งนี้จนเกลี้ยง ได้ปีติอันเกิดแต่วิเวก อันเป็นองค์ฌาน1
ลำดับต่อมาในขณะเดียวกันนั่นแหละ เธอได้สุขเสมือนปราศจากอามิสกับสิ่งนี้
ลำดับต่อมาในขณะเดียวกัน เธอได้เวทนาอันเป็นทุกข์ก็ไม่ใช่สุขก็ไม่ใช่ ในสิ่งนี้
ลำดับต่อมาเป็นฌาน4 เธอได้เป็นผู้สงบ เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทานใดๆแล้ว ในสิ่งนี้
เธอจึงเป็นผู้ใดอุเบกขาอยู่ เธอได้ทำความดับไปโดยการกระทำฌาน
ที่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธจ้าได้ตรัสว่า เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสียอุเบกขาจึงดำรงมั่น คำกล่าว คำตรัสนี้ คือการกระทำฌาน ไม่ใช่พูดว่าดับแล้วดับไปด้วยความคิดเท่านั้น ไม่ได้ เพียงฟังและคิด ไม่ได้ ต้องกระทำ นี่คือการกระทำฌานขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธจ้า
ทำให้พระองค์สรุปว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากเหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา เพียงกระพริบตาเดียวหายไปเลย อาศัยแล้วนะ อยู่กับสิ่งนี้แล้วนะ เมื่อรู้คุณแล้วก็รู้โทษ ก็ดับไปแล้วตามลำดับไปแล้วตามลำดับขั้นของการกระทำฌาน เหมือนบุรุษผู้มีตาดีกระพริบตา ลืมตาขึ้นครั้งเดียวก็หายไปแล้ว นี่คือการเจริญอินทรีย์ในอริยะวินัยขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธจ้า ที่ไม่มีใครยิ่งกว่า ที่เกิดขึ้นทางตา นี่เป็นช่องทางแรก
ที่เกิดขึ้นทางหูก็เช่นกัน เกิดขึ้นทางหูเดี๋ยวอาตมาจะอ่านให้ฟังอีกที่หนึ่ง ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต หรือได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ทั้งความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อย่างไม่มีใครยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ
เมื่อเสียงใดๆที่ไพเราะเกิดที่หู แล้วโสตวิญญาณรับรู้ เธอเกิดความชอบใจไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เธอรู้ชัดว่า เธอเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้ว เธอก็ดับ เพราะเธอรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นสังขตะหยาบๆ ที่ปรุงกันอยู่ ที่พร้อมจะแปรปรวนไปในทุกข์
ยังมีสิ่งที่ละเอียดประณีตคืออุเบขาอยู่ เธอก็กระทำความดับสิ่งนั้น คำว่าความดับในที่นี้คือการกระทำฌาน ตามลำดับ ฌาน1 ฌาน2 ฌาน3 ฌาน4 ดับสิ่งนั้นไป ที่เกิดที่หูหนิ เหมือนบุรุษมีกำลังดีดนิ้วมือดังตั๊บอย่างนี้ แล้วหายไปเลยทันที นี่คือที่พระศาสดาสรุปว่า การเจริญอินทรีย์ภาวนาที่เป็นในวินัยของพระอริยะอันยิ่งนั้นคือเกิดเสียงแล้วดับไปได้เลยในทันที นี่คือการกระทำฌาน เกิดทุกครั้งดับทุกครั้ง นี่เกิดที่หู
ถ้าพอเกิดที่จมูกทีนี้ เกิดที่จมูกเมื่อเกิดความชอบใจไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจแล้วก็ดับไป จึงได้อุเบกขา เหมือนน้ำกลิ้งบนใบบอน เหมือนน้ำกลิ้งบนใบบอนบนใบบัว เมื่องกลิ้งไปแล้วก็หายไปเลย ไม่มีสิ่งใดติดค้าง นั่นคือการเจริญอินทรีย์ภาวนาที่กลิ่นที่รับรู้ด้วยฆานะคือจมูก
ต่อไปในการที่รส รับรู้ด้วยลิ้น หรืออาหารที่เข้ามาทางลิ้น เมื่อเกิดความชอบใจความไม่ชอบใจ ทั้งความไม่ชอบใจและความชอบใจแล้ว เธอดับไป การดับได้เร็วเหมือนตะล่อมน้ำลายไว้ที่ปลายลิ้นแล้วถ่มทิ้งไปทันที ก็หายไป นั่นคือการเจริญอินทรีย์ภาวนาในธรรรมวินัยของพระศาสดาที่เป็นยิ่ง ไม่มีใครเท่า
หรือในกรณีที่เกิดการสัมผัส หรือโผฏฐัพพะทางกาย ก็เปรียบเสมือนว่า ถ้าเกิดขึ้นแล้วต้องกระทำฌานดับ เหมือนกับบุรุษผู้มีกำลังคู้แขนแล้วเหยียดแขนออก หรือเหยียดแขนออกแล้วคู้เข้าหายไปทันที อาการที่สัมผัสทางกายก็หายไปทันที นี่คือการเจริญอินทรีย์ภาวนาที่ไม่มีใคร่ยิ่งกว่า แต่ต้องกระทำฌานนะ แต่เร็วๆปั๊บหนิ กระพริบตาเดียว ดีดนิ้วมือ น้ำกลิ้งบนใบบอน หรือตะล่อมน้ำลายไว้ปลายลิ้นแล้วถ่มออกไป หรือคู้แขนเหยียดแขนหนิ เป็นขั้นตอนของการกระทำฌาน หนึ่ง สอง สาม สี่ จนกระทั้งอรูปญาณ จนถึงเนวสัญญาณาสัญญายตนญาณ นะ
นั่นคือคนที่ทำเก่งแล้วก็ต้องทำได้ขนาดนั้น อาตมาเชื่อมั่นว่าปวงญาติของอาตมาก็ไม่ลำบากในเรื่องนี้ ในระยะเวลาต่อไป ต้องรู้
และช่องทางสุดท้าย คือช่องทางทางจิต เมื่อรับรู้ธรรมารมณ์ใดๆเข้ามาทางจิตแล้ว เธอรู้ว่าเกิดความชอบใจความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจขึ้นแล้ว เธอรู้ชัด เธอรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสังขตะปรุ่งกันหยาบๆ พร้อมที่จะสุขพร้อมที่จะทุกข์เวียนเกิดเวียนตายในวัฏสงสาร แต่ถ้าเธอได้ธรรมอันประณีตกว่าละเอียดกว่าคืออุเบกขาอยู่ อันเป็นผลจากการกระทำฌานเธอรู้ชัด เธอจึงกระทำฌาน หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด แล้วได้อุเบกขาอยู่ เธอก็เป็นสุข
อาการที่เกิดขึ้นทางจิตทุกครั้ง เปรียบเสมือนกระทะที่ถูกเผาไฟร้อนๆอยู่ หยดน้ำที่หยดลงไปเล็กๆ เพียงสองสามหยด ขณะที่หยดก็ยังช้า แต่พอหยดลงไปแล้วละลายหายวั๊บไปทันที นั่นก็เท่ากับว่าเรื่องใดๆที่เกิดที่จิตของเรานั้น ให้เราพรากออกทันที พรากออกทันที เหมือนกระทะร้อนๆถูกหยดน้ำหยดลงไปในกระทะนั้น แล้วความเป็นน้ำนั้นก็หายวั๊บไปทันที คือสิ่งใดๆเกิดขึ้น
นี่คือการเจริญอินทรีย์ภาวนา หรือการกระทำฌานเพื่อความดับทุกข์ ต้องกระทำขณะที่ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำงานอยุ่ ปฏิบัติอยู่ เกิดเมื่อไรดับเมื่อนั้น เกิดเมื่อไรดับเมื่อนั้นๆๆ เกิดที่ตาดับที่ตา เกิดที่หูดับที่หู เกิดที่จมูกดับที่จมูก เกิดที่ลิ้นดับที่ลิ้น เกิดที่กายดับที่กาย เกิดที่จิตดับที่จิต ทำให้เร็ว
ที่ตา เหมือนกระพริบตาทีเดียวหายไป
ที่หู เหมือนดีดนิ้วมือทีเดียวหายไป
ที่จมูก เหมือนน้ำกลิ้งบนใบบอน กลิ้งแล้วก็หายไปไม่มีส่วนติดข้าง
เกิดที่ลิ้น เหมือนตะล่อมน้ำลายไว้ที่ปลายลิ้นแล้วก็ถ่มออกไป ก็หาย
เกิดที่กาย เหมือนคู้แขนเหยียดแขนแล้วก็หาย
เกิดที่จิต เหมือนกระทะร้อนๆถูกน้ำ หยดลงไปเพียงหยดสองหยดก็ละลายหายวั๊บไปทันที นี่คือการเจริฐอินทรีย์ภาวนา ที่ไม่มีใครยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ ที่พระศาสดาแสดงเอาไว้ ต้องเกิดจากการกระทำฌานเท่านั้น ไม่ใช่คิดเอา ไม่ใช่แค่ฟัง ไม่ใช่แค่พูด ต้องกระทำฌาน
อาตมานำพระสูตรนี้มาแสดงให้พวกเราเห็น เพื่อให้พวกเราได้รู้ว่า ถ้าเมื่อถึงปลายสุดที่พวกเราได้รู้จริงได้แทงตลอดในธรรมนี้แล้วได้ปฏิบัติตามธรรมนี้ไปตามลำดับ พวกเราจะเป็นดังนี้ พวกเราจะเป็นดังนี้ เราจะอยู่อย่างเป็นสุข กับการกระทำฌานขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนถึงผลอันเป็นที่สุด
สำหรับตอนนี้ให้พวกเรารู้ว่า การกระทำฌานนั้น ต้องกระทำขณะที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรรืออายตนะทั้ง6 ทำงานอยู่อย่างปกติ ตลอดเวลา ตลอดชีวิต
อนุโมทนากับทุกคนเอาไว้เท่านี้
แสดงธรรมโดย หลวงพ่อ พุทธปัญโญ
วันพุทธที่ 12 เดือน พฤษภาคม ปี 2564
อ้างอิง https://youtu.be/yiKm-xKQ2p4

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา