4 พ.ค. 2022 เวลา 03:30
ฌาน กระทำในขณะดำเนินชีวิตตามปกติ หรือแม้ภาวะคับขัน
เพื่อความถ้วนรอบในฌาน ลำดับต่อไปนี้ อาตมาจะแสดงธรรมในหัวข้อธรรมว่า ฌาน ต้องกระทำในขณะที่ดำเนินชีวิตอยู่ตามปกติ หรือแม้ภาวะคับขัน โดยอาตมาได้อาศัยเอา สัพพาสวสังวรสูตร ข้อ10 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่12 เป็นที่ตั้ง เพื่อแสดงธรรมนี้ ขอพวกเราได้รับฟังไปตามลำดับเถิด
ชานโต อหัง ภิกขเว ปัสสโต
อาสวานัง ขยัง วทามิ อปิจจะ
โน อชานโต โน อปัสสโต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ทรู้อยู่ ผู้เห็นอยู่
เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่
นี่เป็นคำตรัสขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ท่านได้แสดงสัพพาสวสังวรสูตร ให้กับบรรดาพระภิกษุสงฆ์สาวกของพระองค์ท่านได้รับฟัง
ในเรื่องนี้ถ้าอาตมาจะนำเอาสัพพาสวสังวรสูตรทั้งสิ้นนั้น มาอ่านให้กับพวกเราได้รับฟัง จะเป็นความเนิ่นช้าจะทำความลำบากให้แก่ผู้ฟังอยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้นลำดับต่อไปนี้อาตมาจะนำเอาสัพพาสวสังวรสูตร มาอธิบายสรุปให้กับพวกเราได้รับฟังเพื่อให้พวกเราได้เห็นเนื้อความแห่งธรรมเป็นเบื้องต้นก่อนดังต่อไปนี้
ในเรื่องนี้ องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ทรู้อยู่ ผู้เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่
อาสวะ อาสวะกิเลส กิเลสที่เป็นส่วนที่ละเอียด ส่วนที่เล็ก ที่แผ่ว ที่เบา ที่บางแล้ว
คือกิเลสจะมีอยู่3 ระดับ
คือ วีติกกมกิเลส คือกิเลสที่หยาบที่สุด ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดของรักของชอบใจ โกหก ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ มุ่งหวังในกาม พยาบาทในกาม เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่หยาบๆอยู่ที่กระทำได้โดยไม่ยากเลย กระทำบาปเหล่านี้ นี่เป็นหยาบ ต่อมาก็เป็นระดับกลางๆ ในกิเลสกลุ่มเดียวกันนี่แหละ และที่สุดก็คือที่เบา ที่พยายามละมาแล้วหรือเป็นคนที่มีน้อยแล้วหนิ แต่ก็ยังมีอยู่
การที่จะละอาสวะกิเลส ซึ่งเป็นกิเลสที่เคยกระทำหยาบ เคยกระทำกลาง และที่สุดนี้ให้สิ้นได้นั้น มีวิธีการกระทำอยู่ องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่ามีวิธีการกระทำโดยบุคคลผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่รู้จริง แทงตลอด หรือผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่
เห็นอย่างไร เห็นว่านี่คือทุกข์ นี่คือสมุทัย นี่คือนิโรธ นี่คือมรรค นี่คือผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เป็นผู้เห็นอริยสัจ4 หรือเห็นดังที่พวกเราได้รับฟังประจำว่า ภิกษุผู้เห็นเหตุเกิด เห็นเหตุดับ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง6 ตามความเป็นจริง ภิกษุนี้เป็นผู้รู้ยิ่งกว่าใครทั้งมวล นี่คือผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่ ผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่เท่านั้น จึงจะสามารถทำความสิ้นอาสวะได้
การที่จะทำให้สิ้นอาสวะอาตมาได้อธิบายให้ฟังแล้วว่า พระศาสดาประกาศชัดว่าการกระทำความให้สิ้นไปได้นั้น จะต้องเกิดจากการกระทำฌานเท่านั้น ต้องกระทำฌานเท่านั้น ทำตามลำดับ
1
ดังนั้นในวันนี้อาตมาจึงตั้งหัวข้อธรรมว่า ฌานนั้นจะต้องกระทำในขณะที่ดำเนินชีวิตอยู่ตามปกติ หรือแม้ในภาวะคับขันเช่นทุกวันนี้ คับขันที่ต้องมีโรคมีภัยเข้ามาเบียดเบียน ทั้งๆที่มีชีวิตอยู่ก็ลำบากอยู่แล้ว เราจะต้องเป็นผู้รู้ผู้เห็นอยู่ในสิ่งเหล่านี้ทั้งสิ้น เพื่อให้ชีวิตตนเองมีความสุขอยู่ มี ตั้งอยู่ได้ และมีความสุข และสามารถประพฤติปฏิบัติธรรมจนตัวเองสิ้นทุกข์สิ้นอาสวะได้
ลำดับต่อไปนี้ เรามาฟังการอธิบายสรุปสัพพาสวสังวรสูตร ไปตามลำดับดังต่อไปนี้ ในเบื้องต้นนี้องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านได้ตรัสเอาไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ทรู้อยู่ ผู้เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย(ดูที่ไม่แยบคายก่อนนะ)อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น นั่นหมายถึงว่า ภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ผู้ไม่เห็นอยู่ ย่อมทำความไม่แยบคาย คือเป็นผู้รู้ไม่จริง ไม่เห็นจริง ไม่รู้จริงไม่เห็นจริงนั่นเอง ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นสมุทัย ไม่เห็นนิโรธ ไม่เห็นมรรค ก็คือผู้คนโดยทั่วๆไปนั่นเองด้วย บุคคลผู้นี้เมื่อกระทำการดำเนินชีวิตอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ก็ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ย่อมเจริญอยู่อย่างนั้น ยังเวียนเกิด เวียนตายอยู่ในวัฏสงสารไม่สิ้นสุด
แต่เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคายแล้ว(คือเป็นผู้รู้จริงเห็นจริงและปฏิบัติตามธรรมได้แล้ว) อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป
พระองค์ท่านก็แสดงให้ภิกษุของพระองค์ท่านได้รับฟังต่อไปว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่1 ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี1 ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี1 ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี1 ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี1 ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี1 ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี1
การที่จะละ หรือการที่จะดับอาสวะกิเลสได้นั้นมีอยู่ 7 ลักษณะ
คือ1 เป็นผู้เห็น การเห็นอยู่การรู้จริงเห็นจริง
อย่างที่2 คือสังวร
อย่างที่3 พิจารณาเสพ
อย่างที่4 อดกลั้น
อย่างที่5 เว้นรอบ
อย่างที่6 บรรเทา
และย่างที่7 อบรมให้เกิดขึ้น
เราจะต้องทำการละไปตามลำดับเหมือนองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงนี้เช่นกัน ในการดำเนิ่นชีวิตอยู่
คำว่าละหรือดับนั้น เราจะได้ฟังคำว่านิโรธ นิโรธา นิรุธ ปหาน หรือปหาตัพพา แปลว่าความละความดับ การกระทำโดยการกระทำฌานทั้งสิ้น ละอย่างอื่นไม่ได้ แค่ดูแค่เห็น แค่ฟัง แค่ดม แค่กิน แค่สัมผัส แค่รับรู้เท่านั้นไม่พอ แต่เมื่อเห็นเกิดขึ้นแล้ว เมื่อเห็นเกิดขึ้นแล้วดังที่อาตมาแสดงในตอนที่แล้วว่า เมื่อเห็นทุกข์นั้นเกิดขึ้นแล้วเมื่อเห็นสิ่งใดเกิดขึ้นแล้วเรารู้ว่าเห็นแล้ว เราได้เกิดความยินดีไม่ยินดี ทั้งยินดีและไม่ยินดีแล้วเช่นนี้ อาการที่ยินดีไม่ยินดี ทั้งยินดีไม่ยินดีเช่นนี้ มันเป็นหยาบๆ สภาวะที่เกิดขึ้นแล้วถ้าเราอุเบกขา เราจะเป็นความประณีตเป็นสุข สภาวะที่ได้อุเบกขาหนิคือสภาวะที่กระทำฌาน1 ฌาน2 ฌาน3 ฌาน4 ไปตามลำดับแล้วจึงจะได้สภาวะนั้น
เรามาดูในสภาวะที่1 ที่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงเอาไว้ว่า เราจะละอาสวะได้ด้วยการเห็น หรือ อัตถิ ภิกขเว อาสวา ทัสสนา ปหาตัพพา จะละด้วยการเห็น เห็นอย่างไร?
เห็นก็คือภืกษุผู้เห็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ รู้เหตุแห่งความดับทุกข์ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง6 ตามความเป็นจริง บุคคลผู้นี้เป็นผู้รู้ยิ่ง คือรู้จริง เห็นจริง รู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งนั้นๆทั้งหมดนั่นเอง บุคคลผู้นี้จึงจะอยู่ในฐานะที่เป็นผู้ทัสสนา หรือผู้รู้อยู่ เห็นอยู่
เรามาเทียบกันตามคำของพระศาสดาดังนี้ พระศาสดาได้ประกาศว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปุถุชนไม่ได้เคยฟังธรรม ย่อมไม่มนสิการอยู่ในธรรมที่ควรมนสิการ โดยปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายดังนี้ว่า เราได้มีในอดีตกาลหรือหนอ หรือเราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เราได้มีในอดีตตกาลเป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ
นั่นหมายถึงว่า ปุถุชนนั่นย่อมคิดไปในอดีตว่า หรือเห็นไปในอดีตสงสัยไปในอดีตว่า ในอดีตเรามีหรือไม่หนอหรือเราไม่มีหนอ เราเป็นอะไรหนอหรือเราไม่เป็นอะไรหนอ เราเป็นอะไรหนอจึงได้มาเป็นอะไรต่อไปหนอดังนี้ นี่คือปุถุชนจะคิดในอดีต
ถ้าไปในอนาคตก็เช่นกัน ในอนาคตก็จะบอกว่า อนาคตจะมี ชาติหน้าจะมีหรือไม่หรือชาติหน้าจะไม่มี ชาติหน้าเราจะมีหรือไม่หรือเราจะไม่มี ชาติหน้าเราจะเป็นอะไรหรือเราจะไม่เป็นอะไร ถ้าชาติหน้าถ้าเราเป็นอย่างนี้อยู่แล้วเราจะไปเป็นอะไรต่อ นี่คือปุถุชนย่อมคิดเช่นนั้น
เมื่อไม่รู้ทั้งอดีต ไม่รู้ทั้งอนาคต ถ้ามาดูในปัจจุบันก็จะเกิดความสงสัยว่า ชาตินี้คืออะไร มีหรือไม่หรือไม่มี ชาตินี้เรารู้ตัวหรือไม่หรือเราไม่รู้ตัวเรา หรือเราเป็นอะไรมาก่อนเราจึงมาเป็นดังนี้ แล้วเราจะไปเป็นอะไรต่อ นี่คือปุถุชนโดยทั่วไปย่อมคิดอยุ่เช่นนี้ ถ้าเมื่อคิดได้ดังนี้ ถ้าเมื่อเห็นอยู่เท่านี้ ก็คือความลังเลสงสัย ไม่รู้จริงไม่แทงตลอด
ปุถุชนเหล่านี้ก็จะมีความเห็นต่อไปว่า หรือตั้งความหวังต่อไปว่า ถ้าเมื่อตายไปแล้ว เราจะไปมีร่างกายเช่นนี้ เราจะไปมีชีวิตเช่นนี้ เราจะต้องไปเสวยวิบากแห่งกรรมที่เรากระทำแล้วชาตินี้ในชาตินั้น ให้เป็นสุขอยู่อย่างนี้หรือตั้งมั่นอยู่อย่างนี้ เราจะคิดเอาเอง เราจะคิดเอาเอง เราจะเห็นเอาเอง
องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านประกาศชัดว่า ทิฏฐิดังนี้นั้นเป็นทิฏฐิที่6 ที่เกิดขึ้นของปุถุชนทั่วไปว่า ทิฏฐิคตัง ทิฏฐิคหณัง ทิฏฐิกันตาโร ทิฏฐิวิสูกัง ทิฏฐิวิปผันทิตัง ทิฏฐิสังโยชนัง
ทิฏฐิดังนี้นั้นคือป่าชัฏ คือความกันดาร ตือเสี้ยนหนาม คือความดิ้นรนแสหาเรื่อง คือความผูกตัวเองเอาไว้ในสังโยชน์ไม่มีที่สิ้นสุด นี่คือความเห็นของคนทั่วไป ซึ่งเหมือนทุกวันนี้ ตายแล้วจะต้องไปเป็นอย่างนั้น ตายแล้วจะต้องไปเป็นอย่างนี้ ป่านนี้พ่อเราไปเป็นอย่างนั้น ป่านนี้แม่เราไปเป็นอย่างนี้ ญาติเราที่รักไปเป็นอย่างนั้น นั่นเป็นความเห็นของคนทั่วไป ไม่สิ้นทุกข์
แต่ภิกษุขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ฟังธรรมที่รู้จริง รู้จริงเห็นจริงแล้ว ภิกษุนี้ก็จะรู้ในอริยสัจ4 ว่านี่คือทุกข์ ที่เป็นอยู่อย่างนี้หนิเป็นทุกข์ สาเหตุของทุกข์หนิเป็นไปเพราะตัณหาและอวิชชาเป็นเครื่องประกอบไว้จึงอยู่เช่นนี้ ดังนั้นจึงดับทุกข์ ทุกข์ที่เกิดดับลง นิโรธา เกิดขึ้นดับลงๆๆ และรู้ในข้อธรรมคือทุกขคามินีปฏิปทาอัญญาณัง รู้ในเหตุของความดับทุกข์คือมรรคมีองค์8 รู้เลยว่าทุกข์สิ่งทุกอย่างในเบื้องหน้าที่ดำเนิ่นชีวิตอยู่จะเป็นเช่นนี้ ดับไปก่อนเลย
นิโรธนี้เป็นสมถะ มรรคนี้คือขั้นตอนของการทำอย่างรู้จริงเห็นจริงเป็นวิปัสสนารู้ก่อนเลยกระทำให้สิ้นก่อน จนนาทีสุดท้าย นี่คือฐานะที่ อัตถิ ภิกขเว อาสวา ทัสสนา ปหาตัพพา คือดับด้วยความรู้จริง เห็นจริง นี่ประการที่1
ประการที่2 ภิกษุเป็นผู้ อัตถิ อาสวา สังวรา ปหาตัพพา
อาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการสังวร คำว่าสังวรในที่นี้ก็คือสังวรในตา ในหู ในจมูก ในลิ้น ในกาย ในจิตของเรา ทุกข์เกิดขึ้นที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่จิต ในการที่เกิดขึ้นนี้เพราะมีคุณ เราต้องอาศัยอาหารเข้ามา เพื่อเลี้ยงร่างกายเพื่อเลี้ยงอัตตาตัวตนเราให้ตั้งอยู่ได้ ให้มีความสุขอยู่ได้ เพื่อเราจะได้เป็นผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความสิ้นทุกข์ ถ้าไม่มีร่างกาย ถ้าไม่มีอัตตาตัวตน จิต มโน วิญญาณไม่มีที่ตั้ง ก็ไม่มีที่ปฏิบัติธรรมสำหรับดับทุกข์ก็ดับไม่ได้
แต่เราผู้รู้ในตอนนี้ เราเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เกิดที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่จิตแล้วเราก็ดับไป ดับโดยการกระทำฌาน ฌาน1 ได้ปีติอันเกิดแต่วิเวก ฌาน2 ได้สุขเสมือนปราศจากอามิส ฌาน3ได้เวทนาอันเป็นทุกข์ก็ไม่ใช่สุขก็ไม่ใช่ ฌาน4 ได้ความเป็นผู้สงบ เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทานใดๆแล้ว มี มีการดู มีการฟัง มีการดม มีการกิน มีการสัมผัส มีการรับรู้ธรรมารมณ์ใดๆปกติ
แต่มีแล้วหนิ ละได้เหมือนบรุษตาดีกระพริบตา ฟังแล้วเหมือนดีดนิวมือ ดมแล้วเหมือนน้ำกลิ้งบนใบบอนหายไปเลย กินแล้วเหมือนตะล่อมน้ำลายใส่ปลายลิ้นแล้วถ่มออกทันที สัมผัสแล้วเหมือนคู้แขนเข้าแล้วเยียดแขนออกก็หายทันที รับรู้ธรรมารมณ์ใดๆแล้ว ก็เหมือนกระทะร้อนๆหยดน้ำลงไปหยดสองหยดก็หายวั๊บไปทันทีนั่นเอง นี่คือความเป็นผู้สังวร ไม่ใช่ไม่ดู ไม่ฟัง ไม่ดม ไม่กิน ไม่อะไรไม่ใช่ ดู ฟัง ดม กิน สัมผัส รับรู้ทุกอย่าง แต่ลพออกทันที นี่คือการสังวร
อย่างที่3 พิจารณาเสพ
ละโดยการพิจารณาเสพคือ ปฏิเสวนา ปหาตัพพา
พิจารณาเสพ อย่างเช่นหลักๆนี้ อย่างเช่นภิกษุก็จะมี จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานะ สิ่งเหล่านี้ที่มีมา เรามีเพียงเพื่อจีวรก็เพื่อบริหารกาย เพื่อทนต่อความหนาว ความร้อน แมลง ยุง เหลือบ ลิ้น ไล หรือสัตว์ร้ายมีพิษ เราเพื่อให้ตั้งอยู่ได้
บริขาร หรือ ภัตตาหาร ก็เหมือนกันเราก็เพียงเพื่อให้ตั้งอยู่ได้ สิ่งที่ต้องดู ต้องฟัง ต้องดม ต้องกิน ต้องสัมผัส ต้องรับรู้ เพื่อให้ตั้งอยู่ได้ ไม่ใช่เพื่อให้เป็นไปเพื่อความเมาความมันคือความมาก ความเป็นมหาศาลใดๆ ไม่ใช่เลย นี่คือลักษณะของการที่เราจะเป็นผู้พิจารณาเสพ ไม่เป็นไปในสิ่งที่เป็นโทษ
เสนาสนะก็เช่นกัน ที่อยู่อาศัย ก็อยู่ไปโดยง่าย ไม่เบียดเบียนด้วยความร้อน ความหนาว ความเน็บ ความเจ็บ ความป่วยใดๆ ให้อยู่ได้สบาย นั่นคือเสนาสนะ คิลานะก็เช่นกัน เมื่อเราตั้งตนอยู่ในที่ๆดีแล้ว เพียงฉันน้อย เพียงอยู่น้อย โรคภัยก็เบียดเบียนน้อย ไม่ใช่ไม่มีโรค มี แต่เบียดเบียนน้อย แต่ถ้าถึงคราวที่สุดเราก็เป็นพิจารณาดีแล้วเราย่อมรู้ดี นี่คือสิ่งที่เราละได้โดยการพิจารณาเสพ
ลำดับต่อไป ลำดับที่4 ภิกษุหรืออาสวะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น ด้วยความอดกลั้นที่4
อดกลั้นคือ อดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ความสัมผัสต่อยุง เหลือบ ลมแดด หรือสัตว์เลื้อยคลาน หรือผู้มีชาติที่อกทนต่อวาจาที่กล่าวหยาบ กล่าวร้ายแรงที่มีอยู่ ที่บังเกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์กล้า เราไม่อดทนไม่ได้ มีคนกล่าวคนว่าคนอะไรให้หรือการคอยปองร้าย เราก็ต้องอดทนอดกลั้นหรือต่อสู้กับสภาวะนั้นได้
ถ้าเราอดทนอดกลั้นได้ เราก็ต่อยละไป สิ่งที่มีอยู่แล้วเราต้องยอมรับในสิ่งที่มีอยู่ การอดทนอดกลั้นโดยการที่เราไม่ทำกรรมเพิ่มนั้น ถ้าจิตที่เราได้ฝึกแล้วหนิ กระทำให้มากแล้ว ทำให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จิตเราจะนำความสุขมาสู่เรา แต่ถ้าไม่ได้ฝึกจะเป็นทุกข์ นี่คือสภาวะที่เราต้องอดกลั้นต่อสภาวะทั้งร้อน ทั้งหนาว ทั้งหิว ทั้งกระหาย ทั้งแมลง ยุง เหลือบ หรือการกล่าวร้าย วาจาร้ายต่างๆ เราก้ต้องอดทนอดกลั้น เราจะละสิ่งที่เป็นอาสวะได้ก็เพราะเหตุนี้ เป็นประการที่4
ประการที่5 อาสวะเหล่าใดที่จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ
การเว้นรอบก็คือ ไม่เข้าไปหาไม่เข้าไปไกล้เลย เว้นรอบให้ได้ อย่างเช่นทุกวันนี้ ที่เห็นๆคือสภาวะของโรคภัยที่เบียดเบียนหมู่มวลมนุษยชาติอยู่ เรารู้ว่าสิ่งนี้ถ้าเป็นกับเราแล้วหนิ
1 ทำความลำบากให้กับตัวเอง จะต้องถึงกับเสียชีวิต ถ้าต้องตายไปก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรม เราต้องเว้นรอบให้ได้ ไม่เข้าใกล้ ไม่เข้าหาต่อโรคภัยเหล่านี้ ต้องป้องกันสุดขีด นั่นคือเว้นรอบ
หรือในที่นี้ท่านแสดงเอาไว้ว่า เว้นรอบจากช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย งูที่ดุร้าย หลักตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว น้ำคร้ำ น้ำครำ เพื่อนพรหมจรรย์ที่ไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ที่แท้จริงก็อย่าเข้าไปใกล้ หรือดังที่อาตมาได้ชี้ก็อย่าเข้าไปใกล้ สิ่งที่เป็นโรคภัยใข้เจ็บที่จะนำมาซึ่งสู่ความเป็นทุกข์นี้ ต้องเว้นรอบ ถ้าเราเข้าไปยุ่งไปเกี่ยวไปใกล้ นั่นแสดงว่าเราเป็นผู้แสหาเรื่อง เราก็ไม่พ้นทุกข์ เราก็ยังต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ เราก็ไม่ได้กระทำฌาน เรายังชอบใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนถึงไปยึดไปติดอยู่ นั่นเราทำผิด นี่เป็นการละอาสวะประการที่ 5
ประการที่6 ละได้ด้วยการบรรเทา
บรรเทาคือเราชอบที่จะมีในกาม สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ที่เกิดจากกามคุณ5 ที่มาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจอยู่แล้ว เราชอบอยู่แล้ว เรายินดีอยู่แล้ว ถ้าเราเห็นว่าในจิตเรามีมากให้เราละออก ละไปตามลำดับฌาน1 ทำอย่างนี้ ฌาน2 ทำอย่างนี้ ฌาน3 ทำอย่างนี้ ฌาน4 ทำอย่างนี้ จนไปถึงเนวสัญญานาสัญญายตนญาณ จนที่สุดนั่นละในกาม ละในพยาบาท พยาบาทก็ในเรื่องที่จะเอากามนี่แหละเราก็ละออก ละออกคือละด้วยการกระทำฌานหนึ่งสองสามสี่ไปตามลำดับ
และที่สุดเราก็จะต้องไม่เป็นไปด้วยความหลงในสิ่งนั้น ไม่มั่วเมาลุ่มหลงคือไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เราละออก ถ้าเราละได้ด้วยการบรรเทา ค่อยทำไปๆตามลำดับ คือเราจะกระทำฌานนี้ เราจะกระทำบอกด้วยปริมาตรหรือบอกเวลาไม่ได้ แต่เราทำเรื่อยๆ เดี๋ยวอาตมาจะแสดงนาวาสูตรให้ฟังในเรื่องนี้จะได้รู้ว่า การกระทำฌานนั้นบอกไม่ได้ว่าวันนี้1 วันนี้ทำ5 วันนี้ทำ10 บอกไม่ได้ ทำได้ก็คือทำได้ ทำไม่ได้ก็รู้ว่าทำไม่ได้เท่านั้นเอง ในการกระทำฌานเป็นดังนั้น นี่เป็นประการที่6 ที่เราต้องรู้
และที่สุดสุดท้ายคือประการที่7 อาสวะจะพึงละได้ด้วยการอบรม การอบรมก็คือเราเป็นผู้รู้ในธรรมที่พระศาสดาประกาศโพธิปักขิยธรรม คือมีสติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์8 มรรคมีองค์8นี้เป็นหลักธรรมอยู่แล้ว แต่ขั้นตอนของการปฏิบัติมีอยู่6 คือสติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 ข้อสุดท้ายโพชฌงค์7 นี้คือข้อสรุปลง
ก็จะมี สติสัมโพชฌงค์ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติโพธิปักขิยธรรม ซึ่งอาตมาพูดถึงข้อที่6 จริง แต่หลักต้องปฏิบัติตามมรรคมีองค์8 เพื่อละให้สิ้นต้องอาศัยหลักนี้ ขั้นตอนของการปฏิบัติ ปฏิบัติอยู่6 แต่ต้องปฏิบัติตามหลักที่7 นี้
ทุกคนต้องกระทำได้ บุคคลผู้ที่กระทำดังนี้ได้ ดังที่อาตมาแสดงมาโดยลำดับ จะต้องรู้ว่านี่เหตุเกิดทุกข์ นี่เหตุดับทุกข์ นี่คุณ นี่โทษ นี่อุบายเครื่องออก วิธีการทำนั้นไม่ได้ทำด้วยวิธีอื่น ต้องกระทำฌานเท่านั้น เกิดที่ตาทำที่ตา เกิดที่หูทำที่หู เกิดที่จมูกทำที่จมูก เกิดที่ลิ้นทำที่ลิ้น เกิดที่กายทำที่กาย เกิดที่จิตทำที่จิต
แต่ส่วนมากอาตมายกตัวอย่าง แล้วเมื่อคราวก่อนโน้นว่า ถ้าผู้ชายคนหนึ่งเห็นผุ้หญิงคนหนึ่ง เข้าเห็นผู้หญิง เขาก็ย่อมได้ยินเสียงผู้หญิงด้วย เขาก็ย่อมได้กลิ่นของผู้หญิงด้วย เขาก็ย่อมรู้รสของผู้หญิงด้วย เขาก็ย่อมรู้สัมผัสในผู้หญิงด้วย เขาก็ย่อมรู้ในเรื่องราวหรือธรรมารมณ์ของผู้หญิงด้วย เจอสิ่งใดสิ่งหนึง หรือเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือพบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมเข้ามาทุกช่องทาง
เราเห็นแม่เรา เรารักแม่เรา เราก็เห็นแม่ ได้ยินเสียงแม่ รู้กลิ่นของแม่ดีว่ากลิ่นนี้ประเสริฐ รู้รสของแม่ดีว่า รสนี้ประเสริฐที่สุด สัมผัสนี้ดีที่สุด เรื่องราวของแม่ประเสริฐที่สุด เรารู้อยู่แล้ว เข้ามาทั้ง6 เลย แต่รู้แล้วเรารู้ว่านี่มีคุณนะ เป็นเหตุแห่งความเป็นทุกข์นะ เราเห็นโทษทีนี้ เราก็ละออก โดยการกระทำฌานไปตามลำดับ
ดังที่อาตมาแสดงมานี้ นั่นหมายถึงว่าเราทุกคนจะต้องกระทำฌานอยุ่ทุกขณะ ในการดำเนินชีวิต ทุกขณะ ขณะที่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือดำเนินชีวิตอยู่ จนถึงที่สุดเราต้องกระทำฌาน เพื่อละอาสวะ อาสวะทั้งหมดทั้งมวลที่มีอยู่จะเทียวเกิด เกิดอยู่ประจำ เมื่อสิ่งใดเคยละได้แล้วก็จะละได้ สิ่งใดที่รู้ว่าจะเกิดเบื้องหน้าเราก็ทำการละไว้ก่อน เมื่อกระทบเข้า สัมผัสเข้า ก็ไม่เกิดความยุ่งยาก
เดี๋ยวอาตมาจะอธิบายทั้งสมถะและวิปัสสนาให้ฟังในตอนหลัง ตอนนี้ให้พวกเรารับรู้ว่า การกระทำฌานนั้น หรือฌานนั้น จะต้องกระทำในขณะที่ดำเนินชีวิตอยู่ตามปกติ หรือแม้ภาวะที่คับขัน อย่างเช่นปัจจุบันนี้ จะไปไหนมาไหนไว้ใช่ใครไม่ได้ นั่นแหละเบื้องต้นเราต้องรู้ก่อน รู้ว่านี่คือทุกข์นะ รู้ว่าเหตุของทุกข์เป็นดังนี้นะ ต้องรู้คุณนะ รู้คุณให้เราได้อยู่ ทำไงเราจะอยู่ได้ไม่เข้าไปชนกับโรค ไม่ไปเป็นโรค เราต้องรู้ตัวเองเรา
เราเห็นโทษแล้วทีนี้ ถ้าไปกระทบโรค เป็นโรค เราจะต้องเจ็บป่วย หรือถึงกับเสียชีวิต ทำความลำบากให้คนอื่นด้วย เราก็จะไม่ได้ปฏิบัติธรรมไม่สิ้นทุกข์ เราก็เห็นโทษ เราก็ออกมา ไม่เข้าไป เมื่อเห็นดังนี้ก็ละออก สิ่งที่เคยชอบต้องไปที่นั้น แต่พอเห็นจะไปเกิดทุกข์เกิดภัยจากโรคภัยใข้เจ็บ เราก็ถอนออกมา นั่นหละคือจิตที่เราได้ฝึกแล้ว เราจึงทำอุบายเครื่องออกจากสิ่งทั้งหมดทั้งมวลที่มีอยู่
ตอนนี้ อนุโมทนากับทุกคนเอาไว้เท่านี้
แสดงธรรมโดย หลวงพ่อ พุทธปัญโญ
วันศุกร์ที่ 14 เดือน พฤษภาคม ปี 2564

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา