6 พ.ค. 2022 เวลา 07:01 • การศึกษา
อะไรคือ..ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน👨‍✈️👩‍✈️👨‍🚒
เมื่อสองสามวันก่อน พนักงานสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 1 เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับคุณพี่ประธานชมรมช่วยเหลืออาชญากรรม ในฐานความผิด ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน รวมทั้งหมิ่นประมาท
กรณีแถลงข่าวและกล่าวหา พนักงานสอบสวนอ้างว่า มีการสร้างพยานหลักฐานเท็จในคดีหนึ่งซึ่งเป็นข่าวดังอยู่ต่อเนื่อง
ผู้เขียนไม่ขอก้าวล่วงในพฤติการณ์แห่งคดี บทความนี้จะขอพูดถึงความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ที่มีการกล่าวหากันว่ามีความหมายว่าอย่างไร
ความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 มีถ้อยคำว่า ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำตามหน้าที่ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ดูหมิ่น หมายความว่าอย่างใร ก็คือการกระทำใดๆ เป็นการดูถูก เหยียดหยาม สบประมาท ด่าทอ ซึ่งเป็นการลดคุณค่าของผู้อื่น อาจจะเป็นการใช้วาจา กริยา หรือกระทำเป็นลายลักษณ์ษรก็ได้ เช่นการเปลีอยกายโชว์อวัยวะเพศให้เจ้าพนักงาน ,ถ่มน้ำลายใส่เจ้าพนักงาน
การลงข้อความลงเฟชบุ็ค กล่าวดูถูก สบประมาท เจ้าพนักงาน ก็เป็นความผิดตามมาตรา 136 เช่นกัน
การกระทำที่จะเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ต้องดูพฤติการณ์เป็นเรื่องๆไป ไม่ใช่ว่ากระทำไปแล้วจะเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน เช่น
คำพูดที่เป็นคำท้าทาย ,พูดในลักษณะเปรียบเปรย ประชดประชัน ตัดพ้อต่อว่า ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน เช่นพูดว่า " แน่จริงมึงถอดเสื้อมาต่อยกับกูเลย" เป็นเพียงคำท้าทาย ไม่ได้ดูถูกเหยียดหยาม (ฎีกาที่ 4327/2540) หรือคำกล่าวไม่สุภาพ เช่น "ทำได้อย่างไรไม่รับผิดชอบ" (ฎีกาที่ 860/2521)
แต่แม้จะเป็นคำพูดไม่สุภาพกล่าวโดยสุจริตก็ตามแต่ก็อาจจะพิจารณาเพียงคำพูดอย่างเดียวไม่ได้ อาจจะต้องมีพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อเท็จจริงอื่นประกอบอีกส่วนหนึ่ง
ในการพิจารณาความผิดฐานนี้อาจจะต้องมีการพิจารณาถึงความบกพร่องหรือการกระทำของเจ้าพนักงานประกอบในการปฏิบัติหน้าที่ หากเป็นการใช้คำพูดที่เชื่อโดยสุจริต ว่าถูกเจ้าพนักงานกลั่นแกล้ง การกล่าวถ้อยคำหรือกระทำสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นการปกป้องตนเองไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน เช่น
จำเลยชี้แจงเรื่องต่อภาษีรถยนต์ประจำปี เจ้าพนักงานตำรวจไม่รับฟังและไม่ชี้แจงเหตุผลในการออกใบสั่ง การที่จำเลยกล่าวว่า " ตำรวจแม่งใช้ไม่ได้" เป็นการกล่าวในเชิงตำหนิการกระทำของเจ้าพนักงานเท่านั้น เป็นเพียงถ้อยคำไม่สุภาพ ไม่ผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (ฎีกาที่ 8016/2556)
การดูหมิ่นเจ้าพนักงานถ้ามีข้อเท็จจริงเป็นการใส่ความด้วยก็อาจอาจเป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานและความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326 และหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา มาตรา 328 ด้วยนะครับ
เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำมากขึ้น การเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายย่อมง่ายต่อการถูกตรวจสอบได้จากบุคคลภายนอกไม่เหมือนกับในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้เสียหายแต่เพียงฐานะเดียว
ความจริงย่อมยุติธรรมในตัวของมันเองเสมอ แต่ความจริงก็ทำให้คนเราเจ็บปวดเช่นเดียวกัน
พบกับบทความทางกฎหมายตอนต่อไปครับ
ขอบคุณครับ🎃🎈🥉🎀
โฆษณา