6 พ.ค. 2022 เวลา 01:27 • ประวัติศาสตร์
เมื่อกองทัพ(ปู)แดงของสตาลินบุกนอร์เวย์
ถ้าทุกคนมีโอกาสได้ไปเที่ยวตอนเหนือของนอร์เวย์ และรัสเซียตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณทะเลแบเร็นตส์ (Barents Sea) นอกจากจะได้ชมความงามของฟยอร์ดและแสงเหนือแล้ว ยังสามารถทำกิจกรรม crab fishing คือการจับปูจากใต้น้ำแข็ง ซึ่งก็คือปูอลาสก้านั้นเอง
1 แผนที่ทะเลแบเร็นต์ / 2 ทิวทัศน์ฟยอร์ด / 3 แสงเหนือ
จริงๆแล้วปูอลาสก้านั้นไม่ใช่สัตว์พื้นถิ่นของทะเลแบเร็นตส์ จัดเป็นเอเลียนสปีชีส์ด้วยซ้ำ
ปูอลาสก้ามีการกระจายพันธุ์อยู่มากบริเวณทะเลแบริ่ง (Bering Sea) กั้นระหว่างรัฐอลาสก้า สหรัฐฯ กับเขตตะวันออกไกลของรัสเซีย ไปจนถึงแคนาดาฝั่งแปซิฟิก ตลอดจนตอนเหนือของฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
แผนที่การกระจายพันธุ์ของปูอลาสก้า
ในทศวรรษที่ 1930 โจเซฟ สตาลิน ผู้นำเผด็จการแห่งสหภาพโซเวียต มีคำสั่งให้ขนปูอลาสก้ามาเพาะบริเวณทะเลแบเร็นตส์ เพื่อแก้ปัญหาความอดอยากในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการเพาะปูอลาสก้าครั้งนี้ล้มเหลว ปูจำนวนมากตายไประหว่างการขนส่ง
โจเซฟ สตาลิน
ในทศวรรษที่ 1960 มีการนำปูอลาสก้ามาเพาะในทะเลแบเร็นตส์อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ประสบความสำเร็จ
จนในทศวรรษที่ 1990 ประชากรพวกมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ทำให้สัตว์พื้นถิ่นลดจำนวนลงไปมาก
ปูอลาสก้ากระจายไปทั่วตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซียไปจนถึงตอนเหนือของนอร์เวย์
จนมีการเรียกอย่างติดตลกเกี่ยวกับปูอลาสก้าที่นอร์เวย์ว่าเป็นกองทัพแดงของสตาลิน หรือปูสตาลิน เนื่องจากปูมีสีออกแดงๆ และสตาลินเป็นผู้ดำริโครงการเป็นคนแรก
1 ปูอลาสก้าในนอร์เวย์ / 2 กองทัพแดง มักหมายถึงกองทัพของประเทศคอมมิวนิสต์
แม้ปูจะทำลายระบบนิเวศ แต่ก็สร้างรายได้ให้กับชาวประมงในพื้นที่อย่างมาก
เมือง Kirkenes ตอนเหนือของนอร์เวย์ มีการจับปูอลาสก้าเป็นจำนวนมาก
ประเด็นปูอลาสก้านั้นยังเป็นเรื่องให้ถกเถียง โดยเฉพาะในนอร์เวย์ ที่นักสิ่งแวดล้อมจำนวนมากสนับสนุนให้กำจัดปูต่างถิ่นนี้ให้สิ้นซาก
1
ในปัจจุบันยังมีความกังวลว่าปูอลาสก้าอาจกระจายพันธุ์ไปไกลกว่านี้ได้
โฆษณา