12 พ.ค. 2022 เวลา 02:00 • ไลฟ์สไตล์
หนูเป็นเด็กคนนึงที่ยึดกับคำว่ายุติธรรมค่อนข้างเยอะ พอโตเข้าวัยทำงาน มักจะเจอว่าถูกใจมักจะมาก่อนถูกต้อง เป็นคนของใครคนนั้นรอด สังคมแบบนี้มันโอเคจริงๆหรอคะ มาแชร์ประสบการณ์หรือให้คำแนะนำหนูได้นะคะ ?
คำถามนี้ถูกลบ
ยุติธรรมแบบที่เรารับรู้กันมาตั้งแต่เด็กคือ การได้รับส่วนแบ่งที่เท่ากัน และการกระทำใดๆที่ได้รับผลตอบแทนเท่าที่กระทำลงไปนั่นคือ ยุติธรรม
พอโตมาสังคมมันสลับซับซ้อนมากขึ้น การนำหลักการเดิมมาตัดสินความยุติธรรมอาจจะเป็นไม่ยุติธรรมก็ได้ การยอมปล่อยผ่านไม่ทะเลาะกับคนโง่ที่มีอำนาจอาจจะดีกว่า ยอมได้รับความไม่ยุติธรรมนิดหน่อยดีกว่าเพื่อความสงบ ดีกว่าการไปต่อสู้เอาชนะกัน
ดังเช่นนิทานที่ผมชอบ เรื่องมีอยู่ว่า ลูกศิษย์ขงจื้อคนหนึ่งไปทะเลาะกับทหารหัวหมู่คนหนึ่ง เรื่องของ แปดคูณสามเท่ากับเท่าไหร่ ลูกศิษย์ขงจื้อตอบว่ายี่สิบสี่ แต่ทหารบอกว่าไม่ใช่ต้อง ยี่สิบสาม เถียงกันจนถึงขั้นลงไม้ลงมือทุบตีกัน จนขงจื้อต้องเข้ามาตัดสินว่าใครผิดใครถูก ขงจื้อตัดสินให้ทหารถูก ทำให้ลูกศิษย์ไม่พอใจเป็นอย่างมากที่ไม่ได้รับความยุติธรรม จึงลาออกจากการเป็นศิษย์ ออกจากสำนักไป
เรื่องราวดูเหมือนว่าขงจื้อจะยอมสยบหรือเกรงกลัวอำนาจทหาร แต่ไม่ใช่ ขงจื้อได้มีโอกาสอธิบายให้ศิษย์ฟังหลังจากนั้นว่า การที่เขาตัดสินไม่ยุติธรรมลงไปเพราะว่า การอธิบายเรื่องราวให้คนโง่หรือคนที่มีอคติหรือคนที่มีความหยิ่งทะนงตน(อีโก้สูง) ป่วยการที่จะไปเสียเวลาทะเลาะหรือเป็นศัตรูกัน การยอมรับความไม่ยุติธรรมนิดหน่อยเพื่อแลกกับความสุขสงบแล้วถ่อว่ามันก็ยุติธรรมดีกว่ามั้ย
เด็กจึงเข้าใจความยุติธรรมในกรอบหนึ่งแต่พอโตขึ้นกรอบความยุติธรรมก็ต้องขยายออกให้ครอบคลุมในหลายๆมิติมากขึ้น การเสียบ้างจึงเป็นสิ่งจำเป็น
โฆษณา