16 พ.ค. 2022 เวลา 13:10 • ความคิดเห็น
เมื่อเราต้องการปรับตัวเราเอง เพื่อที่จะฟังคนอื่นก็ คือ อดทนที่จะฟังในสิ่งที่เค้าพูด ..บางคนเค้ามีความคิดเห็นอะไรดีๆ ก็เป็นประโยชน์ เราเองก็มีสติปัญญามิใช่หรือ เพียงแค่อดทนฟังในสิ่งเค้าพูด เราก็ทำใจเราเฉย..ดูว่าเราทนได้มั้ย..ขณะเดียวกัน เราก็สามารถกลั่นกรองเรื่องราวต่างๆได้ ว่าสิ่งที่เค้าพูด พูดด้วยอารมณ์ หรือพูดด้วยเหตุผล มีเรื่องราวอะไร ..พูดเพ้อเจ้อ มีสาระ..สำคัญ หรือ ไม่สำคัญ เราก็แยกแยะได้ ..
การที่เราอดทนฟังเค้า ฟังเรื่องราวของเค้า เราก็สังเกตตัวเอง อีกนิดอารมณ์ ทิฐิความคิดเห็น.อะไรมันเกิด ..เราก็ฝึกหัดปิดปากของเราเสียหน่อย ไม่พูด.แต่เราก็ดูอารมณ์ทิฐิความคิดเห็นของเราเป็นอย่างไร
..เห็นตัวเองดีแล้ว ..ข้ารู้แล้ว..เก่งแล้ว ไม่ต้องมาบอกข้า เพราะข้านั้นรู้แล้ว อ่านมามากมายก่ายกอง รู้ไปหมด..แต่ไม่รู้จักอารมณ์ของตัวเอง เราฟังเค้า..ก็เพื่อจับผิดตัวเราเอง จับผิดไอ้ตัวทิฐิไม่ยอม ตัวปฏิเสธไม่ยอมฟังใคร ตัวที่ไม่มีความเห็นอกเห็นใจ ..
สิ่งนั้นก็ คือ การจับผิดที่ตัวเรา จับผิดอารมณ์ความคิดเห็นที่มันเกิดขึ้น ..รู้ว่าอารมณ์มันเกิดเราก็นิ่งเฉย..อารมณ์นั่นมาเหมือนเมฆ พายุฝนบ้าง เพียงแต่เราอดทน อดทนให้เมฆนั้นลอยผ่านไป..ฝนก็คือ อารมณ์ทิฐิความคิดเห็นอะไร มันผ่านไป ฝนก็ไม่ล่วงหล่นให้เรากายวาจาใจ ออกไปด้วยอารมณ์ที่ฝนนั้นตกลงมา..
เรื่องราวทำนอง เราลองทดลองตัวเราเอง ลองดูทีวีก็ได้ บอกตัวเองสักนิด ทำจิตนิ่งเฉยๆ บอกตัวเองเสียหน่อย..ทำจิตนิ่งๆเฉย..เราสำรวจตัวเอง หายใจลึกๆกั้นลมหายใจ ..เพื่อให้ให้จิตนิ่ง..ช่วยหยุดอารมณ์นึกคิดออกไป ..แล้วเราก็รักษาจิตไว้ ไม่นึกคิดอะไร ให้หนักแน่นไว้ ไม่เอนเอียงเหมือนตราชั่ง ..
เหมือนตราชั่งมีความสมดุลย์ดีแล้วเราก็ดู..ดูทีวีไป..(เอาข่องที่เราไม่ชอบ..เรื่องที่เราไม่ชอบ เราดูเพื่อจับผิดตัวเรา ไม่ได้ไปจับผิดคนอื่น จับผิดตัวเราเอง) เราก็ทำใจเฉย..สังเกตอารมณ์อะไรบ้างที่มันเกิดขึ้นมา สังเกตว่ามีอารมณ์
เราก็พยายามทำจิตให้เที่ยงเหมือนตราชั่ง เพือ่จะได้ทบทวนจิตของเรานั่นเป็นอย่าง อารมณ์ชอบไม่ชอบ มันเป็นอย่างไร เราจะได้ค่อยรู้จัก อารมณ์ความคิดเห็น ความอคติที่เกิดขึ้นในเรือนกายของเราเอง ..บอกใคร..เค้าก็ไม่ได้ ต้องกระทำเองเพื่อที่เราจะรู้จักตัวตนของจิตเรา ..นั้นเที่ยง..หรือ ไม่เที่ยง
1
เมื่อมีอารมณ์เข้ามา..เปรียบเหมือนเมฆนั้นแหละ เมื่อเราทำได้มากขึ้น เราจะเห็นอารมณ์นั้น ลอยมาดำทะมึน.. เราก็เตรียมตัวหลบฝน นำพาจิต.ให้นิ่งให้เฉย นิ่งเฉยไม่ได้..ก็เรียกหาพระ คือ..ภาวนาพุทโธ (อย่าท่องคาถา เด็ดขาด เพราะนั้น เราไปเรียกร้องกรรม มาสู่ตัวเราเอง จิตมันยึดคาถา..มันก็จม ไม่ตื่นขึ้นมา..กลั่นกรอง พิจารณาเหตุผลอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่ตัวเองได้ )
เค้าจึงฟังด้วยรักษาจิตให้นิ่ง ท่านบอกว่า ..ตัวที่เรานิ่งเฉยได้ นั่นแหละ จะทำให้เรามีปัญญา..ที่จะต่อสู้กับอารมณ์ของตนเอง
เมื่อเราจิตทำใจได้ ..เราก็มองผู้อื่นให้เป็นเหมือนครูฝึกหัด..ที่ส่งเรื่องราวต่างๆ..มาสอนเรา..เรื่องทิฐิ ไม่ยอม..เรื่องอารมณ์..เรื่องกลัวเสียหน้า..เรื่องราวอะไรต่างๆที่เกิดในตัวตนของเรา
เมือเราปรับจิตของเรา ..มาจับผิดที่ตัวเราเอง ..เราก็น้อมรับฟัง ..ดูอารมณ์ ..ไตร่ตรอง..เรื่องราวอารมณ์ไหนไม่ดีเกิดขึ้นที่ตัวเรา ก็ให้เรามีสติใช้เหตุผล ..ทำไปในลักษณะ..ให้เกิดเป็นความสันติ ทั้งเค้าและเราที่เป็นมิตรต่อกัน..เห็นอกเห็นใจกัน..
โฆษณา