26 พ.ค. 2022 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์
เราไปทำความรู้จักฟีดแบ็ก 4 ขั้นตอน เพื่อการพัฒนาผลการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานให้เป็นคนที่เก่งขึ้นได้ในทุกวัน !
ขั้นตอนที่ 1 : การสร้างความเชื่อใจ
หากคุณต้องการให้พนักงานใคร่ครวญเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของตัวเอง และต้องการให้ฟีดแบ็กที่มีประสิทธิภาพแก่พวกเขา รวมถึงเชื่อมโยงฟีดแบ็กนั้นกับการปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารจะต้องได้รับความไว้วางใจจากพนักงาน เพราะถ้าพนักงานไม่ไว้ใจผู้บริหาร พวกเขาจะไม่เล่าความกังวลใจหรือความสนใจของตัวเองให้ฟัง
ขั้นตอนที่ 2 : การประเมินผลการปฏิบัติงาน
อันดับแรก ต้องกำหนดมาตรฐานความเป็นเลิศอย่างชัดเจน และค้นหาตัวอย่างพนักงานที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานนั้น ข้อผิดพลาดที่สุดอย่างหนึ่งของผู้บริหารคือ การรักษามาตรฐานเหล่านั้นไว้เป็นความลับเมื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยผู้บริหารมักกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจนและลืมบอกให้พนักงานทราบ
คุณต้องให้ฟีดแบ็กเกี่ยวกับวิธีการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมและสม่ำเสมอ เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างเป็นกลาง และต้องสร้างระบบที่ตรวจสอบได้ว่าพนักงานพัฒนาตัวเองไปมากน้อยเพียงใด
ขั้นตอนที่ 3 : การเสริมแรงเชิงบวก
พนักงานทุกคนอยากรู้ว่าตัวเองปฏิบัติงานยอดเยี่ยมไหม นั่นหมายความว่าโดยสัญชาตญาณแล้วทุกคนต้องการความเห็นเกี่ยวกับงานที่ตัวเองกำลังทำ เพราะฉะนั้นหากมีเรื่องไหนที่พวกเขาควรได้รับการยอมรับ คุณควรให้การเสริมแรงเชิงบวก เช่น การยอมรับหรือคำชมทันที ถึงแม้ว่าความคาดหวังของแต่ละคนจะแตกต่างกัน
การเสริมแรงเชิงบวกก็ช่วยสนองความต้องการการยอมรับของมนุษย์ คุณจะช่วยเพิ่มขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานและส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมอันพึงประสงค์มากขึ้น คุณภาพของงานก็จะดีขึ้น แล้วการพัฒนาผลการปฏิบัติก็จะตามมาอย่างเป็นธรรมชาติ
ขั้นตอนที่ 4 : รางวัลและการยอมรับ
ปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีแรงบันดาลใจในการทำงาน 3 ประการ
1. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร : ช่วยให้พนักงานกระตือรือร้นในการทำงาน
2. การเติบโตและการพัฒนา : พนักงานจะมีแรงบันดาลใจเมื่อได้รับโอกาสฝึกฝนทักษะการทำงานใหม่ ๆ รวมถึงการอบรม ประสบการณ์ และฟีดแบ็กต่าง ๆ ที่จำเป็นในการทำงาน
3. ค่าตอบแทน : การให้รางวัลที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของพนักงาน พวกเขาจะกระตือรือร้นมากขึ้น และจะเป็นเช่นนี้ไปอีกนาน
เคล็ดลับจากหนังสือ "คนเก่งให้ FEEDBACK ที่แตกต่าง"
คิมซังบอม โชยุนโฮ และฮาจูยอง เขียน
ชนามาศ เพ็งสมบูรณ์ แปล
สำนักพิมพ์ Amarin HOW-TO
โฆษณา