23 พ.ค. 2022 เวลา 11:02 • หุ้น & เศรษฐกิจ
US-to-China Rotation ชี้แนวโน้มการลงทุน “จีน” น่าสนใจกว่าสหรัฐ
“หุ้นสหรัฐ” ซึ่งเคยสร้างผลตอบแทนโดดเด่นในทศวรรษที่ผ่านมา กำลังเผชิญแรงกดดันจากนโยบายเข้มงวดของเฟดเพื่อคุมเงินเฟ้อ จนระดับราคาหุ้น (P/E) ดิ่งลงครั้งใหญ่นำโดย growth stocks กลุ่มเทคโนโลยี
ยีลด์พันธบัตรพุ่ง หุ้นร่วง credit spreads กว้างขึ้น ดอลลาร์แข็งค่า สภาพคล่องตึงตัวรุนแรง 2-3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้จนเริ่มลามถึงเศรษฐกิจจริง กดดันความสามารถสร้างกำไร (profitability) ของธุรกิจอเมริกันเป็นวงกว้าง
2
ดอลลาร์พลิกอ่อนค่า dollar Index ปรับตัวลงกว่า 2% จุดพีค 12 พ.ค. หนุนสภาพคล่องคืนสู่ตลาดเพราะนักลงทุนมองเฟดโชว์ท่าทีเข้มงวดสุดแล้ว
สภาพคล่องมาแต่ยังมี Stagflation ต้นทุนพุ่ง-ดีมานด์หด กดแนวโน้มกำไรหมองฉุด S&P 500 เฉียด “หมี” 20 พ.ค. ดัชนีร่วงระหว่างวันจนต่ำกว่าจุดสูงสุดประวัติการณ์เกิน 20% ก่อนรีบาวด์
หุ้นจีนบวกสวนสหรัฐ จากจุดโลว์ 26 เม.ย. - 20 พ.ค. CSI 300 +7.76%, iShares MSCI China ETF +6.97% ตรงข้ามกับ S&P 500 -6.56%
JPMorgan อัพเกรดวิวหุ้นเทคจีนหลายตัว
รวมถึง Tencent, Alibaba, Meituan, NetEase, Pinduoduo จาก underweight เป็น overweight เพียง 2 เดือนหลังแบงก์ใหญ่สุดสหรัฐเคยบอกว่า “ลงทุนไม่ได้” (uninvestable)
PBOC ลดดอกเบี้ยระยะยาวแรงกว่าคาด (20 พ.ค.) loan prime rate (LPR) 5 ปี ปรับลง 15 bps จาก 4.6% เหลือ 4.45% (แรงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะลด 10 bps) เป็นการปรับ LPR ลงมากสุดตั้งแต่ปฏิรูปดอกเบี้ยปี 2019
จีนกระตุ้นเศรษฐกิจ พลิกทิศหยวนแข็งค่า พาตลาดฟื้นคืนชีพ!
ความคาดหวังเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกตะวันตก (สหรัฐและยุโรป) ซึ่งเผชิญปัญหาเงินเฟ้อสูงในช่วงปลายวัฏจักร อาจสวิงไปมาอีกหลายรอบ ทำให้ตัดสินใจลงทุนยาก
(อ่านเพิ่มเติม “แผนที่กองทุน” KTAM Focus 1 พ.ค.)
ประเทศ เงินเฟ้อ เม.ย. (%)
  • 1.
    จีน : 2.1 %
  • 2.
    ซาอุดิอาระเบีย : 2.3 %
  • 3.
    ญี่ปุ่น : 2.5 %
  • 4.
    ไทย : 4.65 %
  • 5.
    เกาหลีใต้ : 4.8 %
  • 6.
    แอฟริกาใต้ : 5.9 %
  • 7.
    ยูโรโซน : 7.4 %
  • 8.
    อินเดีย : 7.79 %
  • 9.
    สหรัฐ : 8.3 %
  • 10.
    สหราชอาณาจักร : 9 %
  • 11.
    บราซิล : 12.13 %
  • 12.
    รัสเซีย : 17.8 %
  • 13.
    ตุรกี : 69.97 %
2 ตลาดหลักแห่งโลกตะวันออก: จีน และ ญี่ปุ่น เงินเฟ้อต่ำกว่ามาก สนับสนุนการลงทุน KT-Ashares, KT-CHINA, KT-CHINABOND และ KT-JAPAN รับโอกาสฟื้นตัวจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงต้นวัฏจักร
โฆษณา