23 พ.ค. 2022 เวลา 16:18 • ความคิดเห็น
How to เก็บเงินฉบับพนักงานประจำธรรมดา!!
จากการที่ได้อ่านบทความของคุณตุล เจ้าของเพจ “จุด by Tara Thow” เมื่อวันก่อน ชื่อบทความว่า “วิธีเก็บเงินสำหรับคนที่ไม่มีเงินจะให้เก็บ”
ขอบคุณภาพจาก canva
โอ้ววว…อ่านแล้วถึงกับจุกในอกค่ะ นึกถึงนางสาวกระต่ายในวันที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ที่กำลังสนุกกับการใช้ชีวิตอิสระ เหมือนกับนกที่ได้โบยบินออกไปชมโลกกว้าง
เมื่อทำงานมีเงินเดือน ดูแลครอบครัวตัวเองเรียบร้อยแล้ว ที่เหลือก็จ่ายให้กับความต้องการของตัวเอง ออกเดินทางไปต่างจังหวัดแทบทุกเดือน เสาร์- อาทิตย์ไม่เคยว่างเว้นจากงานกิจกรรม
ในตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่มีความสุข สนุกกับการใช้ชีวิตมาก แต่ภายใต้ความสุขมันมีความทุกข์ซ่อนอยู่นั่นคือระบบการจัดการเงินเละเทะมาก เงินเก็บไม่มี ใช้เดือนชนเดือน แถมมีหนี้จากบัตรเครดิตหลักแสน ทำงาน ใช้หนี้ เที่ยว วนอยู่แบบนี้หลายปี
นี่คือชีวิตของพนักงานประจำธรรมดา ที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องการวางแผนการเงิน!!
จนวันที่ได้นั่งดูคลิปของโค้ชหนุ่ม The Money Coach และเจอกับประโยคทองคำที่จำไม่ลืม “ต่อให้เป็นหนี้มากแค่ไหน ก็ต้องจ่ายให้ตัวเองก่อน และเราแค่เป็นหนี้ไม่ได้ฆ่าใครตายไม่ต้องกลัว ” 
(ใครจิตอ่อนอาจจะหวั่นไหวและเสียใจกับสไตล์การพูดของโค้ชนะคะ แต่เราจิตแข็งเลยถูกจริต ) …..
หลังจากนั้นก็ติดตามดูข้อมูลการเงินที่โค้ชหนุ่มสอน และนำมาปรับใช้กับตัวเอง
เมื่ออ่านบทความของคุณตุลย์ เลยคิดอยากจะแบ่งปัน How to เก็บเงินสไตล์พนักงานประจำธรรมดา จากคนติดลบหลายปี สู่คนที่มีเงินเก็บหลักแสนภายในไม่กี่ปี  นี่คือสูตรของคนธรรมดาค่ะ
👉 ทำ Cash flow เพื่อวางแผนการเงินทั้งปี
เขียนออกมาให้หมดว่า เรามีหนี้สิน มีสินทรัพย์อะไรบ้าง และเขียนค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะต้องจ่ายในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง
คือเขียนทุกอย่าง ที่เป็นรายจ่าย ส่วนรายรับมีอยู่ทางเดียวนั่นก็คือเงินเดือน 
ตอนเขียนเสร็จ นั่งอึ้งพักหนึ่ง ไม่คิดว่าหนี้ที่เกิดจากการจ่ายให้ตัวเองและสร้างมาเองกับมือนั้น พอเอามารวมกันแล้วมันเยอะจนน่าตกใจ
1
จากนั้นบวก ลบ เพื่อดูว่าในแต่ละเดือนเราจะเหลือเงินให้เก็บเท่าไร  ถ้าเห็นแล้วว่าเงินที่จะเหลือเก็บมันน้อยเป็นหลักร้อย เราก็จะไปมองในส่วนของค่าใช้จ่ายว่ามีตัวไหนที่จะสามารถลดลงไปได้อีก  แล้วเอามาใส่เป็นเงินเก็บ
👉 เมื่อเงินเดือนออกเราก็จะโอนเงินจำนวนที่ได้คำนวณไว้นั้นไปเก็บก่อนเลย ที่เหลือก็จัดการไปตามรายการที่ได้เขียนไว้แบบเป๊ะ ๆ ไม่วอกแวกแอบยักยอกหรือออกนอกทาง
วิธีนี้ทำให้รู้สึกสบายใจ มั่นคงและมีความปลอดภัยทางความรู้สึก  ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาขึ้น
1
เพราะจัดการเรื่องเงินได้ตามแผน ปีแรกที่ทำ ต้องใช้ความพยายามมากเหมือนกันค่ะ  เพราะต้องหักห้ามหัวใจตัวเอง ไม่ให้มือลั่นไปซื้อทริปเดินทางแบบรัว ๆ เหมือนแต่ก่อน แต่ก็ยังมีบ้างอย่าง 3 เดือนครั้ง เพราะการเดินทางทำให้เรามีพลังกลับมาทำงานแบบกระปรี้กระเปร่า เรารู้สึกอย่างนั้น
👉 ทำฉลากออมเงิน เอาไว้จับเสี่ยงดวงก่อนออกไปทำงานในทุก ๆ เช้า เป็นการเพิ่มความตื่นเต้นให้กับหัวใจรับเช้าวันใหม่  ซึ่งฉลากก็จะมีตั้งแต่ 5 บาทไปจนถึง 100 บาท
1
ถ้าจับได้ 100 บาทในช่วงปลายเดือน และคำนวณดูแล้วเงินที่อยู่ในส่วนของค่าใช้จ่ายประจำวันอาจจะอยู่ไม่ถึงสิ้นเดือน เราก็จะตัด 0 ออก เพราะ 0 ไม่มีค่า ...55555
1
วิธีนี้อย่างน้อย ๆ เราจะมีเงินเก็บตอนสิ้นเดือนราว ๆ 600 บาทค่ะ ...แค่นี้ก็ Happy แล้ว
👉 เทกระเป๋า  นั่นคือ เมื่อเงินเดือนใหม่เข้า แล้วในกระเป๋าเรามีเหลือเท่าไร เราจะเทใส่กระปุกออมสินโดยที่ยังไม่ต้องนับ แค่รอดูมันเต็มแล้วค่อยเอาไปฝากธนาคาร ส่วนที่มีอยู่ใน App ของธนาคารเราก็จะโอนเข้าบัญชีเงินออม ที่แยกไว้
1
หนึ่งปีผ่านไปไวเหมือนโกหก กลับมาดูเงินฝาก เอ้า ๆ …..มีเงินฝากหลักหลายหมื่นนอนนิ่ง ๆ ในบัญชีแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนตลอดเวลา 10 กว่าปี
แสดงว่าเรามาถูกทาง  และตอนนี้ก็กำลังศึกษาเรื่องการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตหลังเกษียณค่ะ
บทความนี้ไม่ได้จะเขียนขึ้นเพื่อโอ้อวด แต่อย่างใด  แต่เขียนขึ้นจากหัวใจ เพื่อส่งต่อกำลังใจให้ใครที่อยากเริ่มต้นเก็บเงินแต่ยังทำไม่ได้สักที
1
ลูกชาวนาธรรมดา ๆ แบบเราทำได้ คุณก็ทำได้เช่นกันค่ะ  เราเป็นกำลังใจให้น๊าา
แวะมาพูดคุยกันหรือแนะนำวิธีเก็บเงินแบบสนุก ๆ กันได้นะคะ เผื่อเป็นอีกหนึ่งวิธีให้การเก็บเงินกลายเป็นเรื่องสนุกค่ะ
และต้องขอบคุณบทความกระตุ้นใจให้เราลุกขึ้นมาเขียนบทความนี้ ตามลิ้งค์นี้ค่ะ
ขอบคุณที่ติดตามแล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปน๊า
ติดตามผลงานในช่องทางอื่นที่
เจ้ากระต่ายขี้เซา :
ฝันจะนั่งรถไฟไปทรานส์ – ไซบีเรีย
รักการเขียนและการเล่าเรื่อง
และกำลังฝึกเขียนนิยาย
โฆษณา