24 พ.ค. 2022 เวลา 08:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
📌 "นับ 1 ให้ถึงล้าน" ซีรีส์ทางการเงินที่จะทำให้คุณมีเงินล้านได้ไม่ยาก กลับมาพบกันต่อในตอนที่ 4 : พอร์ตไม่เป็นตามแผน ปรับแต่งยังไง? เมื่อคุณลงทุนไประยะหนึ่ง แล้วพบว่าพอร์ตการลงทุนไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ คุณจะปรับแต่งอย่างไรได้บ้าง มาติดตามกันครับ🙂
👉 อ่านต่อ คลิก >>
✅ ติดตามบทความก่อนหน้าได้ที่ :
ซีรีส์ 1: ล้านแรกในชีวิต
ตอนที่ 1: ตั้งเป้า "เก็บเงินล้านแรก"
อ่านต่อ คลิก >> https://link.kkpfg.com/ucLXY
ตอนที่ 2: รอยรั่วทางการเงินจบได้ด้วยจดบัญชีรับ - จ่าย
อ่านต่อ คลิก >> https://link.kkpfg.com/p5Y3R
ตอนที่ 3 : จัดพอร์ตตามสไตล์ แบบกระจายความเสี่ยง
อ่านต่อ คลิก >> https://link.kkpfg.com/I1UGe
Ep.ที่แล้วผมได้ทดลองจัดพอร์ตลงทุนตามแบบประเมินความเสี่ยง ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผมรับความเสี่ยงได้ในระดับสูง ทำแบบประเมินความเสี่ยงได้ที่ https://www.smarttoinvest.com/Pages/Know%20Investment/Money%20Calculation%20Tool/InvestmentPortfolio.aspx
สิ่งที่ผมต้องทำคือ กำหนดสัดส่วนการลงทุนระยะยาวตามเป้าหมายและความเสี่ยงที่รับได้ หรือที่เรียกว่า SAA (Strategic Asset Allocation)
ในที่นี้ผมกำหนดสัดส่วนการลงทุนโดยมี กองทุนรวมตราสารทุน 50% กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว 25% กองทุนรวมทองคำ 15% และกองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น 10%
จากภาพ เมื่อระยะเวลาผ่านไปพอร์ตการลงทุนของผมเติบโต โดยเฉพาะในสัดส่วนของกองทุนรวมตราสารทุน (หุ้น) จาก 50% กลายเป็น 80% ซึ่งสูงกว่ากลยุทธ์ SAA ที่วางไว้ และทำให้พอร์ตของผมกลายเป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูงค่อนข้างมาก
หากในภาวะที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน พอร์ตการลงทุนของผมมีโอกาสที่จะติดลบมาก ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ในทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี ผมต้องติดตาม ทบทวนพอร์ตการลงทุน และทำการ Rebalancing หากพอร์ตการลงทุนมีสัดส่วนของสินทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปจาก SAA ค่อนข้างมาก (Rebalancing คือ การเพิ่มหรือลดสัดส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้)
และอีกกลยุทธ์การลงทุนที่จะช่วยให้คุณถึงเป้าหมายการมีเงินล้านได้เร็วขึ้น นั่นคือ การทำ TAA ควบคู่กับ SAA (TAA ย่อมาจาก Tactical Asset Allocation คือ กลยุทธ์เพิ่มหรือลดสัดส่วนการลงทุนในระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี เพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติมตามสภาพเศรษฐกิจ)
จากภาพ หากเป็นช่วงขาขึ้นของตลาดหุ้น ผมอาจพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนจาก 50% เป็น 60% เพื่อหาโอกาสทำกำไรในระยะสั้น และในทางตรงกันข้าม หากเป็นช่วงขาลงของตลาดหุ้น ผมก็อาจพิจารณาลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลง เพื่อลดโอกาสการขาดทุนได้เช่นกันครับ
ท้ายสุดวันนี้…อยากชวนคุณมาลองทำ To do list ไปพร้อมกัน แม้เราจะมีการจัดพอร์ตการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง แต่การลงทุนย่อมมีโอกาสเกิดความไม่แน่นอนขึ้นได้เสมอ ดังนั้น นอกจากการกำหนดกลยุทธ์ลงทุนแบบ SAA และ TAA ควบคู่กันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรลืม นั่นคือ การทำ Rebalancing พอร์ตนั่นเองครับ
แล้วกลับมาพบกันใหม่กับ ซีรีส์ที่ 2 : เงินล้านกับการลงทุน ได้ในครั้งหน้า…วันนี้สวัสดีครับ
#KIATNAKINPHATRA
#KKP
#นับ1ให้ถึงล้าน
#ล้านแรกในชีวิต
#จัดพอร์ตลงทุน
#Rebalancing
#S1Ep.4
📌 ติดตามธนาคารเกียรตินาคินภัทรได้ทุกช่องทางที่:
โฆษณา