24 พ.ค. 2022 เวลา 04:12 • ข่าวรอบโลก
ปากีสถานขึ้นดอกเบี้ย 1.5% สู่ระดับ 13.75%
สูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจากศรีลังกาที่ 30%
เพื่อผ่านเงื่อนไขการช่วยเหลือด้านเงินกู้จากIMF
ปากีสถานจำเป็นต้องมีปรับหลักเกณฑ์ให้สอดรับกับเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เพื่อกู้ยืมเงินในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ ท่ามกลางสถานการณ์อันเลวร้ายจากผลกระทบของราคาพลังงานที่พุ่งสูงและขาดแคลน
คณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารแห่งรัฐปากีสถาน จำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็น 13.75% ในวันจันทร์ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการเก็บภาษีเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้าในวันที่ 1 กรกฎาคม
1
สิ่งที่เกิดขึ้นคืออัตราเงินเฟ้อจะพุ่งสูงขึ้นทันทีอาจยังคงยกระดับนี้ตลอดปีงบประมาณถัดไปอีกด้วย
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกที่สูงและการนําเข้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อของปากีสถานพุ่งสูงมากที่สุดเป็นอันดับสองของเอเชีย รองจากศรีลังกาที่ตอนนี้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 30% ราคาสินค้าผู้บริโภคเพิ่มขึ้นกว่า 13% ในเดือนเมษายน สวนทางกับค่าเงินรูปีปากีสถานที่ดิ่งลง ไปอยู่ที่ 200 รูปีต่อ 1 ดอลลาร์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็นครั้งแรก
2
ท่ามกลางการขาดแคลนสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่ทุนสํารองเงินตราต่างประเทศของปากีสถานเหลือเพียง 10.2 พันล้านดอลลาร์ หรือ 3.49 แสนล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะนำเข้าสินค้าได้น้อยกว่าสองเดือนเท่านั้น
ผู้กำหนดนโยบายทางการเงินกําลังเจรจากับ IMF เกี่ยวกับเงื่อนไขในการเข้าถึงโครงการกู้ยืมเงิน 3,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1 แสนล้านบาท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Miftah Ismail กล่าวว่าปากีสถานอาจต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่ทะยานขึ้น แต่ไม่สามารถที่จะเพิ่มต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้
2
ซึ่งถ้าหากไม่ทำตามเงื่อนไขดังกล่าวในข้อตกลงกับ IMF ในอีก 2 วันข้างหน้า ก็จะไม่ได้รับการอนุมัติเงินกู้อีกเลย ซึ่งการเจรจาระหว่างปากีสถานและ IMF เริ่มต้นขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
ธนาคารกลางกล่าวว่า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของปากีสถานจะลดลงเหลือประมาณ 3% ของ GDP หลังจากรัฐบาลกำหนดมาตรการนําเข้า
"การจํากัดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนี้พร้อมกับการสนับสนุน IMF อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า ความต้องการทางการเงินภายนอกของปากีสถานในช่วงปีงบประมาณหน้าจะเป็นไปตามที่ต้องการได้อย่างเต็มที่
1
โดยมีส่วนแบ่งเกือบเท่ากันที่มาจากการการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สของสกุลเงินต่างประเทศแบบระยะยาว (Rollover) เพื่อคงสถานะการลงทุนที่ต้องการไว้เมื่อสัญญาใกล้หมดอายุ และการรวมกันของการออกพันธบัตรรัฐบาลที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)
1
สาเหตุของวิกฤตทางการเงินในปากีสถานเกี่ยวข้องกับการเมือง เมื่ออดีตนายกรัฐมนตรีอิมราน ข่าน ซึ่งเพิ่งถูกขับออกจากตำแหน่งก่อนหน้านี้ และเกิดเหตุการ์ความวุ่นวายขึ้น ทำให้ IMF ระงับการให้เงินกู้ยืมแก่ปากีสถานจนกว่ารัฐบาลปากีสถานจะมีเสถียรภาพในประเทศ
โดยเงินช่วยเหลือจาก IMF จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการคลังของปากีสถาน หลังจากที่ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศลดลงจนเหลือใช้สำหรับซื้อสินค้านำเข้าได้ไม่ถึง 2 เดือน
1
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Line : @reporterjourney
1
โฆษณา