24 พ.ค. 2022 เวลา 17:37 • ข่าวรอบโลก
อนาคตของระบบขนส่งสาธารณะอังกฤษ
เมื่อโรคระบาดได้เปลี่ยนแปลงวิถีการเดินทาง
อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
--- ใช้เวลาอ่าน 10 นาที ---
ภาพจาก Getty Images
24 พฤษภาคม 2022 ทางรถไฟสายใหม่กลางมหานครลอนดอน หนึ่งในเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน และวัฒนธรรม ของโลก ได้เปิดเดินรถเป็นปฐมฤกษ์เพื่อบริการชาวลอนดอน ภายหลังการก่อสร้างนานนับทศวรรษภายใต้การต่อสู้ทางการเมืองถึงโครงการที่จัดได้ว่า ‘ฟุ่มเฟือย และ ทะเยอทะยาน’
5
‘รถไฟฟ้าสายเอลิซาเบธ’ (Elizabeth line) เชื่อมต่อชานเมืองเข้าสู่ใจกลางย่านธุรกิจการค้าในแนวตะวันตกและออก รวมถึงท่าอากาศยานฮีทโธรว์ อันเป็นหนึ่งในหกสนามบินหลักของกรุงลอนดอน
ขบวนรถไฟที่ให้บริการในสายเอลิซาเบธมีความยาวถึง 205 เมตร นับเป็นความสำเร็จทางวิศวกรรมที่ซึ่งชาวลอนดอนย่อมจะให้การตอบรับเป็นอย่างดีเมื่อรถไฟฟ้าสายนี้เปิดให้บริการ แม้โครงการดังกล่าวจะดู ‘ฟุ่มเฟือย’ เมื่อพิจารณาถึงวิถีการเดินทางที่เปลี่ยนไปของผู้คนหลังโรคระบาด
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงถือแผ่นโลหะจารึกสัญลักษณ์รถไฟฟ้าสายเอลิซาเบธ หลังเสด็จพระราชดำเนินเปิดทางรถไฟสายใหม่อย่างเป็นทางการ (ภาพจาก Richard Pohle/WPA/Getty Images)
ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา แม้ว่ามาตรการทางโควิดอันนำมาซึ่งข้อจำกัดในการใช้ชีวิตนั้นได้ผ่อนปรนลง จำนวนยอดผู้ใช้งานบริการขนส่งสาธารณะก็หาได้เพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปยังจำนวนดั้งเดิมก่อนวิกฤตโควิดไม่
ยอดผู้ใช้งานรถไฟฟ้าใต้ดิน (Tube) อยู่ที่ 75% จากยอดก่อนโควิด และ 80% สำหรับรถโดยสาร (Bus)
พฤติกรรมการเดินทางดูเหมือนจะมีแนวโน้มที่ ‘คงที่’ ทั่วทั้งประเทศอังกฤษ “เรากำลังเข้าสู่สถานะคงตัว” โจนาธาน สปรูซ (Jonathan Spruce) ผู้ดำรงผลประโยชน์แห่งสถาบันวิศวกรโยธา (Trustee) กล่าว
1
วิถีการเดินทางของผู้คนนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเมื่อมองย้อนกลับไปถึงอดีตในช่วงก่อนวิกฤตโควิด
ภายในขบวนรถไฟฟ้าสายเอลิซาเบธ (ภาพจาก Jill Mead/The Guardian)
นอกเหนือจากการเดินทางด้วยจักรยานไฟฟ้าและสกูตเตอร์ ซึ่งยากที่จะวัดยอดการเดินทาง การเดินทางในทุกรูปแบบที่ใช้พลังงานนั้นลดลงอย่างสังเกตได้ (ดูกราฟด้านล่าง)
รถไฟฟ้าใต้ดินกรุงลอนดอนนั้นค่อนข้างเงียบเหงา โครงข่ายรถไฟแห่งชาติก็เช่นกัน อย่างไรก็ดีการเดินทางด้วยรถยนต์ยังคงระดับไว้ได้อยู่ แม้ว่าเมื่อพิจารณาถึงตัวเลขทางสถิติแล้ว จำนวนรถใหม่ที่ลงทะเบียนกับทางการในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้ (2022) อยู่ที่ 536,727 คัน ลดลงกว่าสามแสนคันจากยอดในช่วงเดียวกันเมื่อสามปีก่อน (2019) ที่ 862,100
No rush (ภาพจาก The Economist)
ยอดการเดินทางในวันทำการนั้นลดลงรุนแรงกว่ายอดการเดินทางในวันหยุด สะท้อนให้เห็นถึงความไม่สมัครใจในการเดินทางของผู้คนในการ ‘ไปทำงาน’ มากกว่าการ ‘ไปจับจ่ายหรือดื่มสังสรรค์’ ในขณะที่การเดินทางในช่วงเวลาเร่งด่วนนั้นลดลงมากที่สุด
1
สำนักการถนนและราง (Office of Road and Rail) ระบุว่า ยอดจำหน่ายตั๋วรถไฟช่วงพีคไทม์ (ช่วงที่มีความคับคั่งสูงที่สุดในแต่ละวัน) ระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคมปีที่แล้ว (เป็นเวลาที่ข้อจำกัดบางประการจากมาตรการโควิดยังมีผลอยู่) ลดลงอยู่ที่ 70% จากยอดก่อนวิกฤตโควิด
อย่างไรก็ตามยอดจำหน่ายตั๋วช่วงออฟพีคนั้นอยู่ที่ 82% จากยอดปกติ และการจองตั๋วล่วงหน้า (Advance tickets) ซึ่งมีนักเดินทางในวันหยุดเป็นกลุ่มผู้ซื้อหลัก อยู่ที่ 95%
สิ่งที่คล้ายกันจากข้อสังเกตก่อนหน้าได้เกิดขึ้นกับรถไฟฟ้าใต้ดินกรุงลอนดอน (London Underground)
จำนวนผู้ผ่านเครื่องตรวจตั๋วในช่วงเวลาแปดถึงเก้าโมงเช้าเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา ลดลง 33% เทียบกับวันเดียวกันเมื่อสามปีก่อน ในขณะที่ยอดในช่วงเวลาบ่ายสามถึงสี่โมงเย็น ลดลง 21% และยอดในช่วงเวลาสี่ถึงห้าทุ่ม ลดลง 7%
อีกข้อสังเกตก็คือเรื่องของระยะการเดินทาง ก่อนการแพร่ระบาดชาวลอนดอนเดินทางเฉลี่ยต่อวัน 4.4 กม. ในทางกลับกัน—ช่วงปีแรกที่เกิดการแพร่ระบาด ชาวลอนดอนเคลื่อนที่เพียงวันละ 2.8 กม.
นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้คนกลับเลือกที่จะท่องไปรอบ ๆ ชานเมืองมากกว่าที่จะเดินทางฝ่าเข้ามายังใจกลาง
ในช่วงแรกของการแพร่ระบาด มีการคาดการณ์ว่าผู้คนน่าจะหลีกเลี่ยงการเดินทางในรูปแบบที่แออัดและอาจนำมาซึ่งการติดเชื้อได้ แต่แท้จริงแล้วในปัจจุบันความหวาดกลัวต่อการแพร่ระบาดนั้นไม่ได้สร้างผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทางสักเท่าไหร่
ทรานสปอร์ตโฟกัส (Transport Focus)—องค์กรอิสระซึ่งทำหน้าที่สำรวจการเดินทางของผู้คนในสหราชอาณาจักร ชี้ว่า 76% ของผู้ที่ไม่ได้เดินทางด้วยรถไฟ และ 70% ของผู้ที่ไม่ได้เดินทางด้วยรถโดยสาร—เสียงส่วนมากของทั้งสองกลุ่มผู้ที่ไม่ได้เดินทางในแต่ละประเภทเมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ระบุตรงกันว่า “อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ไม่ได้รู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะใช้บริการขนส่งสาธารณะที่ว่ามา”
ในทางกลับกัน กว่าหนึ่งในสามระบุว่าพวกเขาจะไม่รู้สึกปลอดภัยอย่างแน่นอนที่จะกลับไปใช้บริการขนส่งสาธารณะอีกครั้ง ทว่า ผู้คนเหล่านี้บางส่วนมีอคติต่อการใช้บริการขนส่งสาธารณะมาเป็นทุนเดิมแล้ว แม้ในช่วงก่อนวิกฤตโควิดก็ตาม
1
หากเรามองเข้าไปให้ละเอียดกว่านั้น ถึงสาเหตุที่ทำไมชะตากรรมหลังโควิดของบริการขนส่งสาธารณะในแต่ละรูปแบบถึงมีความแตกต่างกัน ในภาพรวมเราย่อมพบว่า บริการฯ ที่ออกแบบมาเพื่อขนส่งมนุษย์เงินเดือนหรืออื่น ๆ ที่ทำงานตามออฟฟิศในย่านศูนย์กลางของเมือง
บริการฯ ดังกล่าวจะมีความเงียบเหงากว่าบริการฯ รูปแบบอื่น เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้งานหลักสามารถเลี่ยงการเดินทางและทำงานที่บ้านผ่านระบบออนไลน์ได้ ในขณะที่บริการฯ จำพวกรถโดยสารนั้นมีความคึกคักกว่า อันว่าผู้ใช้งานหลักคือนักเรียน นักช้อป และแรงงานฝีมือ ซึ่งไม่อาจบรรลุเป้าหมายโดยหลีกเลี่ยงการเดินทางได้
มาร์ทิจ์น กิลเบิร์ต (Martijn Gilbert)—ผู้บริหารระดับสูงของ ‘โก นอร์ท อีสท์’ (Go North East)—ผู้ให้บริการรถโดยสารในย่านไทน์ไซด์ (Tyneside) อันเป็นย่านทางตอนเหนือของอังกฤษที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากที่สุดเป็นอันดับที่แปดของสหราชอาณาจักร
มาร์ทิจน์ เผยว่า “ผู้คนที่นี่หลายคนยังจำเป็นต้องเดินทางไปทำงานอยู่” ในขณะที่ยอดผู้ใช้บริการในเส้นทางที่เขาให้บริการลดลงเพียง 15-20% เท่านั้น นับว่าต่ำกว่าอัตราการลดลงในระดับชาติ
Down the tubes (ภาพจาก The Economist)
พฤติกรรมการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงไปในมุมมองของรัฐบาลนั้นเป็นอย่างไร?
นักการเมืองหลายคนพูดประหนึ่งว่า ‘การเปลี่ยนแปลง’ นั้นไม่เคยเกิดขึ้น
แผนการก่อสร้างระบบรถไฟในภูมิภาคมิดแลนดส์ (Midlands) และอังกฤษเหนือ สื่ออย่างมีนัยว่า “รัฐบาลยืนหยัดที่จะเชื่อว่าหากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป ภาคส่วนทั้งหลายคงจะเห็นคุณค่าของการทำงานซึ่งหน้า”
รัฐมนตรีเจคอบ รีร์-มอกก์ (Jacob Ress-Mogg) ได้กล่าวโทษรัฐบาลถึงความละเว้นต่อหน้าที่ โดยแย้งว่าการทำงานที่บ้าน (Home working) นั้นเป็นเรื่องชั่วคราวเท่านั้น
พฤติกรรมการเดินทางที่เปลี่ยนไปนั้นมีแนวโน้มที่จะไม่หวนกลับ
ผลสำรวจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) เมื่อต้นเดือนเมษายนประเมินว่า 23% ของธุรกิจทั้งหมด และ 43% ของธุรกิจบริการเฉพาะกิจ (Professional services) ได้เผชิญกับการเพิ่มขึ้นอย่างถาวรของสัดส่วนการทำงานที่บ้าน ทั้งนี้สัดส่วนที่ประเมินไว้นับว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่การสำรวจในเรื่องเดียวครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายนปี 2020
บริษัททั้งหลายต่างพยายามที่จะทำให้ออฟฟิศนั้นน่าดึงดูดใจขึ้นเพื่อเชื้อเชิญให้พนักงานกลับมาทำงานที่บริษัทอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ภายหลังการแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อ การทำงานที่บ้านได้พัฒนาขึ้นไปอีกระดับหนึ่งเมื่อพิจารณาย้อนไปถึงช่วงก่อนโควิด
นิโคลัส บลูม (Nicholas Bloom) ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ระบุว่า การยื่นขอสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยีการทำงานทางไกล (Remote working) ได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด
ในขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางส่วนได้ยอมรับและปรับตัวให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว
การขนส่งแห่งสกอตแลนด์ (Transport Scotland) ได้ประกาศเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วว่า พวกเขาได้ ‘พับแผนการเพิ่มจำนวนรางเป็นสองเท่าของสถานีอีสท์คิลไบรด์ (East Kilbride)—หากแผนการดังกล่าวสำเร็จ นั่นหมายถึงการอำนวยความสะดวกให้นักเดินทางสามารถเข้าถึงกรุงกราสโกว์ (Glasgow) ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ ในช่วงเวลาเร่งด่วนได้ลื่นไหลขึ้น
แต่ด้วยเหตุผลทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงชั่วโมงเร่งด่วนในปัจจุบันที่แตกต่างไปจากเมื่อก่อน ทั้งยังอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางหน้าที่การงาน และการเดินทาง ที่ถือได้ว่าเป็นเอกเทศจากกันแล้วในขณะนี้
ผลโพลยังชี้ให้เห็นว่า แม้ในช่วงก่อนโควิด แรงงานที่โดยสารรถไฟในกราสโกว์ต่างต้องการทำงานจากบ้านอยู่แล้ว แม้ไม่กี่วันต่อสัปดาห์ก็ดี ซึ่งในขณะนี้พวกเขาสามารถทำเช่นนั้นได้แล้ว
นอกจากที่กราสโกว์ ผู้ให้บริการฯ อื่น จำต้องปรับลดตารางการให้บริการของตนลงอย่างเงียบ ๆ และในบางครั้งพวกเขาก็อ้างเรื่องโควิดเพื่อปลดพนักงานของตนออก
การปรับลดในส่วนต่าง ๆ จะตามมาในอีกหลายระลอก สัญญาณที่บ่งชี้ถึงเรื่องนี้ได้ลามมาถึงผู้ให้บริการรถโดยสาร ที่ชัดเจนก็คือ ‘การอุดหนุนเงินสนับสนุนฉุกเฉิน’ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทั้งผู้ให้บริการรถโดยสาร และผู้ใช้บริการ ทว่าเงินสนับสนุนนี้อาจให้ได้ถึงเดือนตุลาคมนี้เท่านั้น
“เราได้สูญเสียบริการฯ บางส่วน และแน่นอนว่าความสูญเสียจะเกิดขึ้นอีก” เกรก มาร์สเดน (Greg Marsden) จากสถาบันเพื่อการศึกษาการคมนาคมแห่งกรุงลีดส์ กล่าว
หากขนส่งสาธารณะแย่ลง ผู้คนก็ย่อมจะมีแนวโน้มที่จะทำงานจากบ้านมากขึ้น หรือไม่ก็เปลี่ยนไปใช้รถส่วนตัวแทนหากจำเป็นต้องเดินทาง
ผลสำรวจจากลอนดอนทราเวลวอตช์ (London Travelwatch)—องค์กรสำรวจจากทางการอังกฤษ (Official watchdog) ชี้ว่า 64% ของกลุ่มผู้ใช้บริการรถไฟเห็นว่า หากการให้บริการมีความถี่ลดลง นั่นย่อมหมายถึงอุปสรรคในการขึ้นรถไฟที่จะเกิดแก่พวกเขา
นอกจากนี้ ผลพวงจากการปรับลดเที่ยวเดินทางยังอาจเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการสไตรค์ (Strike) หรือการประท้วงหยุดงานได้อีกด้วย
รถไฟฟ้าสายเอลิซาเบธนับเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด
การดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้ นั้นแลกมาด้วยการขุดค้นทางโบราณคดีรอบพื้นที่ดำเนินงานที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์อังกฤษ
การขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่ดำเนินงาน (ภาพจาก crossrail.co.uk)
ฉะนั้น—เมื่อเทียบจากภาระอันมหึมาในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายเอลิซาเบธ การบริหารและรักษาไว้ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะให้ดีและมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงได้ ในระยะเวลาต่อไปนี้หลังวิกฤตโควิด ภาระที่ยกมาเปรียบย่อมเป็นเรื่องง่ายทันที ที่รัฐบาลดาวนิงสตรีทจะต้องจัดการให้ได้
ช่องทางอื่น ๆ ในการติดตาม
<< ข่าวสารระหว่างประเทศ 31130 News - DEEDN >>
31130 Konzern
Established 2022
Foto:
- Getty Images
- The Economist
- The Guardian
โฆษณา