25 พ.ค. 2022 เวลา 10:52 • ไอที & แก็ดเจ็ต
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นประเด็นที่มีการพูดคุยใน สังคมอย่างกว้างขวางมาหลายทศวรรษ เริ่มตั้งแต่การปรากฏครั้งแรกใน เอกสารทางวิชาการที่ชื่อว่า “Can machines think” ของ อลัน ทูริ่ง นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ. 2493 โดยการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์นั้นก้าวกระโดดไปอย่างมาก การที่ปัญญาประดิษฐ์สามารถคิด ตัดสินใจ และเรียนรู้อย่างอิสระโดย ไม่ต้องมีมนุษย์ควบคุมในปัจจุบัน
ความก้าวหน้าดังกล่าวแสดงถึงความเป็นไปได้ที่ปัญญาประดิษฐ์จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในสังคมภายหน้า แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความกังวลถึงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ในอนาคตซึ่งเป็นจุดที่ยังไม่มีใครสามารถคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้กำหนดค่านิยม 5 ประการเพื่อเป็นแนวทางสำหรับป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่
1) การเติบโตอย่างครอบคลุม การพัฒนาที่ยั่งยืน และความเป็นอยู่ที่ดี
2) ค่านิยมและความเป็นธรรมที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง
3) ความโปร่งใสและการอธิบายได้
4) ความทนทาน ความมั่นคง และความปลอดภัย และ
5) ความรับผิดชอบ
ความเคลื่อนไหวต่างๆ เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ ไม่เพียงแต่กระตุ้นให้ทุกฝ่ายเริ่มหันมาจัดวางแผนในการควบคุมและสร้างปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น ยังทำให้เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการออกแบบอนาคตของปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมไปยังคนทุกกลุ่ม
อย่างไรก็ตาม แบบแผนดังกล่าวต้องเข้าใจเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะในแต่ละสังคม ให้เข้าใจข้อมูลเชิงลึกในแต่ละบริบทท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการเรียนรู้
ซึ่งประเทศไทยได้มีการส่งเสริมนโยบาย “Coding for AII” สำหรับการศึกษาทุกภาคส่วน เป็นการเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและเข้าใจระบบเชิงลึก ส่งเสริมภาคการศึกษากับให้สามารถพัฒนาเข้าสู่ Super AI โดยฝีมือคนไทย
นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างงานสร้างอาชีพ ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบที่ยั่งยืนด้วยการพัฒนาเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสังคมผู้สูงวัยและคนพิการให้สามารถใช้ชีวิตบนพื้นฐานความเท่าเทียมในทุกด้านผ่านมุมมองปัญญาประดิษฐ์
ปลายทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในภาคการศึกษาเราจะเห็นความชัดเจนของภาครัฐที่เข้ามาลงทุนในระบบป้องกันความปลอดภัยทางข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไปพร้อมกับการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมภาคการศึกษาให้ต่อยอดทักษะเฉพาะทางกับกลุ่มผู้เรียนยุคใหม่มากขึ้น ให้พร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อการไปสู่ภาพอนาคตอันพึงประสงค์ในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในระบบการศึกษาไทย
อ่านต่อ คลิก: https://www.futuretaleslab.com/research/aiineducation
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก https://futuretaleslab.com และ https://web.facebook.com/FutureTalesLABbyMQDC
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #ArtificialIntelligence #AI #MQDC
โฆษณา