1 มิ.ย. 2022 เวลา 13:10
อริยมรรค ๘ กับ สัมมาทิฏฐิ ๒
เพื่อความถ้วนรอบในธรรม ลำดับต่อไปนี้ อาตมาจะแสดงธรรมในหัวข้อธรรมว่า อริยมรรคมีองค์8 กับ สัมมาทิฏฐิเฉพาะ โดยอาตมาได้อาศัยเอา มหาจัตตารีสกสูตร ข้อ252 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวง14 เป็นที่ตั้ง เพื่อแสดงธรรมนี้ ขอพวกเรา ได้รับฟังไปตามลำดับเถิด
ในเรื่องของอริยมรรมมีองค์8 กับสัมมาทิฏฐิเฉพาะนี้ สืบเนื่องจากในตอนที่แล้ว อาตมาได้แสดงธรรมในองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในหัวข้อธรรมว่า อริยมรรคมีองค์8 กับ สัมมาทิฐฐิเบื้องต้น
โดยอาตมาได้อาศัยเอาสัมมาทิฏฐิสูตร ข้อที่110 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่12 เป็นที่ตั้ง ในการแสดงธรรมนั้น โดยเนื้อความแห่งธรรมนั้นเป็นท่านพระสารีบุตร กำลังแสดงธรรมในองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในหัวข้อธรรมว่าสัมมาทิฏฐิอยู่
โดยหลักธรรมนั้น มีอยู่ว่า บุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐินั้น บุคคลผู้นั้นคือบุคคลผู้ที่ รู้ในอริยสัจ4 โดยถ้วนรอบ คือรู้ในทุกข์ รู้ในสมุทัย รู้ในนิโรธ รู้ในมรรค หรืออริยมรรคนี้โดยถ้วนรอบ และสามารถ กระทำตามธรรมนี้ไปตามลำดับ จนถึงที่สุดแห่งความสิ้นทุกข์ โดยอริยมรรคมีองค์8 เป็นบทแห่งธรรมที่กำกับอยู่ท้าย บุคคลผู้ที่รู้ในอริยสัจ4 โดยถ้วนรอบดังนี้ ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นสัมมาทิฏฐิ
นี่จึงเป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นเบื้องต้น เป็นหลักใหญ่ เป็นหลักใหญ่ ที่ทุกคนจะต้องรู้ ที่ทุกคนจะต้องรู้ เพื่อจะปฏิบัติตามธรรมนี้ให้สิ้นทุกข์ เป็นผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ และความเกี่ยวเนื่องกันมาถึงบทธรรมที่อาตมากำลังแสดงนี้ เกี่ยวเนื่องอยู่ตรงที่อริยมรรคมีองค์8 นี้
อริยมรรคมีองค์8 นี้ มาถึงตรงนี้ที่อาตมาบอกว่า อริยมรรคมีองค์8 กับสัมมาทิฏฐิเฉพาะ คือในอริยมรรคมีองค์8นั้น ข้อที่1 อริยมรรคองค์ที่1 ข้อที่1 นั้น คือสัมมาทิฏฐิ คำว่าสัมมาทิฏฐิจึงปรากฏอยู่2 ที่
สัมมาทิฏฐิอยู่ในสัมมาทิฏฐิสูตรนี้1
สัมมาทิฏฐิที่ปรากฏอยู่ในสัมมาทิฏฐิในอริยมรรคนี้1
ทั้ง 2 สัมมาทิฏฐินี้ มีบทพยัญชนะและอรรถต่างกัน ต่างกัน แต่บทแห่งธรรมนั้น เป็นธรรมอันเดียวกัน เป็นอันเดียวกัน ไม่แยกจากกันเลย แต่บทแห่งธรรมที่เป็นเฉพาะนี้ คือเฉพาะในเรื่องของการดับทุกข์ บทแห่งธรรมสำหรับดับทุกข์ เพื่อให้สิ้นทุกข์ในวัฏสงสารเฉพาะลงไปอีก อาตมาจึงใช้คำว่า สัมมาทิฏฐิกับมิจฉาทิฏฐิเฉพาะ
คำว่าสัมมาทิฏฐิกับมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นคำคู่กัน มิขฉาทิฏฐิก็คือเห็นผิด ถ้าเห็นในเรื่องนี้ผิดก็เป็นผู้มิจฉาทิฏฐิ ถ้าเห็นในเรื่องนี้ถูก ก็เป็นผู้ที่สัมมาทิฏฐิ เท่านั้นเอง
เรามาดูเรื่องสัมมาทิฏฐิ ที่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงเอาไว้ ในมหาจัตตารีสกสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่แสดง อริยมรรคมีองค์8 อย่างบริบูรณ์ เพียงพระสูตรเดียวนี้เท่านั้นในพระไตรปิฎก ที่ถูกรวบรวมเอาไว้โดยอรหันตสาวก เรามาดูกันไปตามลำดับดังนี้เถิด
ในเบื้องต้นนี้ บางส่วนอาตมาต้องอ่าน พระสูตรที่ชื่อว่ามหาจัตตารีสกสูตรนี้ ให้กับพวกเราได้รัลฟัง เพื่อคงเนื้อความแห่งธรรมให้บริบูรณ์ บางส่วนอาตมาจะใช้วิธีการอธิบายสรุปเพื่อความไม่เนิ่นช้า ให้กับพวกเราด้วย เรามาเริ่มต้นกันดังนี้
มหาจัตตารีสกสูตร ข้อ252
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ 7 เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง 7 นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญพิธีที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มีผล โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี นี้เป็นมิจฉาทิฐิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น 2 อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง1 สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อีกอย่าง1
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญพิธีที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว มีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตอันหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่อย่างนี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
นี่คือเนื้อความแห่งธรรม ที่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงเอาไว้ ในมหาจัตตารีสกสูตร อาตมาจะธิบายสรุปให้พวกเราได้รับฟังดังนี้ว่า องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ในอริยมรรมีองค์8 เอาไว้
คือ บุคคลที่เห็นว่า ทานไม่มีผล ยัญพิธีไม่มีผล บวงสรวงไม่มีผล ผลของกรรมดีกรรมชั่วที่ทำแล้วไม่มีผล โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์อุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
รู้แจ้งแทงตลอดด้วยต้นเอง ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งได้อยู่นั้น ไม่มี บุคคลที่เห็นดังนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ นั่นหมายความว่า บุคคลผู้นี้ ไม่สามารถที่จะกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ทำไม่ได้ บุคคลคนนี้ที่เห็นดังนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ดังนั้นในส่วนที่เป็นสัมมาทิฏฐิ องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงประกาศไว้ 2 ส่วน ส่วนหนึ่ง คือส่วนที่เป็นสัมาทิฏฐิของบุคคลที่ยังเป็นสาสวะ คือยังฝึกหัดปฏิบัติตนเพื่อให้เป็นอริยะ หรือเป็นโลกุตละ ไปตามลำดับ บุคคลคนนี้เป็นสาสวะ คือยังฝึกยังหัดอยู่
อีกส่วนหนึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิของผู้เป็นอนาสวะ ของพระอริยแล้ว ของผู้สิ้นกิเลสแล้ว ผู้เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ต้องปฏิบัติเหมือนกัน ก็ต้องปฏิบัติในส่วนอีกส่วนหนึ่งที่สูงขึ้นไป เรามาดูในส่วนของ สาสวะที่พวกเราทั้งหลายจะต้องรู้นี้ก่อน
อาตมาจะไล่ตามลำดับให้พวกเราได้รับฟังดังนี้ว่า คำว่า สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือความเห็นดังนี้ว่า อาตมาจะไล่เป็นข้อมีอยู่ 10 ข้อ ไล่ให้ฟัง อัตถิ ทินนัง ยิฏฐัง หุตัง สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก
อยัง โลโก ปโร โลโก มาตา ปิตา สัตตา อุปปาติกะ
อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญจ โลกัง
ปรัญจ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ
10 ข้อ
ข้อที่หนึ่ง ก็คือ ทานที่ให้แล้วมีผล1 ทินนัง
2 ยัญพิธีที่บูชาแล้วมีผล 3
บวงสรวงแล้วมีผล คือหุตะ
4 คือ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก
หมายถึงว่า ผลของวิบากกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว ย่อมมีผล
อยัง โลโก โลกนี้มี
ปโร โลโก โลกหน้ามี
มาตา มารดามี
ปิตา บิดามี
โอปาติกะ สัตว์อุปปาติกะมี
และข้อที่10 ก็คือ อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญจ โลกัง ปรัญจ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ
ในโลกนี้ มีสมณพราหมณผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งรู้จริงแทงตลอดแล้ว นำโลกนี้ โลกหน้า มาประกาศได้นั้น มีอยู่ มี
นั่นหมายถึงว่า ข้อ1 คือทานมีผล ข้อ2 พิธีมีผล ข้อ3 บวงสรวงแล้วมีผล เป็นไปตามลำดับ
ทินนัง ก็คือการทาน ก็คือการสละกาม ละอกุศลธรรมออกทั้งหมด ย่อมมีผล ต้องทำดังนี้ป็นผู้เป็นมีสัมมาทิฏฐิ พิธีต่างๆ ที่เป็นศีลป็นข้อวัตรปฏิบัติต่างๆนั้น ย่อมมีผล ย่อมมีผล เป็นทาน เป็น ศิล เกิดผล คือหุตังตัวนี้
ยัญพีธีที่บวงทรวงแล้วมีผล ก็คือการกระทำทินนังออก สละ ละกาม ละอกุศลธรรมออกทั้งหมดแล้วหนิ ยอมเกิดผล ย่อมเกิดผล หรือพิธีกรรมต่างๆที่เรากระทำตามศีล กระทำตามธรรมของพระศาสดา ย่อมเกิดผลแน่นอน เกิดผลเลย ทั้งหมดทั้งมวลที่เราประพฤติปฏิบัติตามธรรม ที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรม ย่อมเกิดผล
ดังนั้นในลำดับต่อมา จะต้องรู้ว่า ผลการทำกรรมดีกรรมชั่วนั้น เกิดผลแน่นอน
ทำกรรมชั่วอยู่ใน อยัง โลโก อยู่ในโลกเก่า โลกที่เป็นวัฏสงสารที่เป็นนรก เดรัจฉาน เปรต มนุษย์ เทวดา ยังอยู่ ต้องรู้ว่ากรรมดีกรรมชั่วนั้นส่งผลแน่นอน ต้องรู้ เพราะฉะนั้นจึงตามมาด้วย อยัง โลโก โลกเก่ามี โลกเก่าก็คือ นรก เดรัจฉาน เปรต มนุษย์ เทวดา ที่เป็นวัฏสงสารนี้โลกเก่า
ปโร โลโก โลกหน้ามี หมายถึงว่า โลกที่เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหัตตผล หรือนิพพาน ปรินิพพาน นั่นคือโลกหน้า มี ที่นี่มาถึง มารดามี มารดาก็คือ ถ้าโดยธรรมดาธรรมชาติของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็จะมี มารดากับบิดา เป็นผู้ให้กำเนิดแก่สัตว์นั้น
แต่ในทางธรรมนี้หมายถึง มารดานั้นหมายถึง ข้อธรรม ข้อศีลต่างๆ ซึ่งในการประพฤติปฏิบัติตามธรรมนั้น จะต้องปฏิบัติไปตามลำดับ จะต้องกระทำตามความเกลี้ยง ความสิ้น ไปตามลำดับ เหมือนเราจะถากเอาแก่นไม้ เราจะต้องถากเปลียกนอก กระพี้ เนื้อยังไม่ถึงแก่น เข้าไปตามลำดับนั่นเอง จนไปถึงแก่นตรงข้อศีลนี่แหละ คือมารดา ตัวข้อศีลนี้คือมารดา
ต่อไป บิดามี ความเด็ดขาด เด็ดเดียวของผู้ชายนั้นจะมีกว่า มากกว่า ในที่นี้หมายถึงข้อวัตรปฏิบัติที่กระทำให้บุคคลสิ้นทุกข์ ในที่นี้หมายถึงธรรมที่พระศาสดาประกาศคือโพธิปักขิยธรรม อันประกอบไปด้วย สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์8 นี่คือบิดา นี่คือบิดา กระทำให้บุคคลคนนี้ได้สิ้นทุกข์
จากความเป็นบุคคลที่เป็นคนเดิมอยู่ต่อไปนี้อุปปาติกะ สัตว์โอปปาติกะนี้มี จากความเป็นโสดาบันมาสู่ สกิทาคามี ยังเป็นบุคคลธรรมดา พอที่จะยังอยู่ในโลกอยู่ แต่พอมาเป็นอุปปาติกะ เป็นพระอนาคามี ปรินิพพานในชาตินี้เลย ถ้าเป็นพระอนาคามี
ดังนั้นจากความเป็นธรรมดาอุบัติขึ้นไป เป็นสภาวะอีกสภาวะหนึ่ง แล้วถึงความปรินิพพานได้ นั่นหละคือการอุบัติของโอปปาติกะ โอปปาติกะ อย่างเช่นท่านพระพาหิยทารุจีริยะ ตอนแรกยังเป็นบุคคลธรรมดาอยู่ พอฟังธรรมปุ๊บ เป็นอุปปาติกะเลย ไปถึงพระอนาคตมี แล้วก็ปรินิพพาน
หรือเช่นท่านพระปุกกุสาติ ฟังธรรมอยู่ทั้งคืนก็ยังเป็นบุคคลธรรมดาอยู่ พอบรรลุธรรมแล้ว ก็เลยขึ้นไปเป็นพระอนาคามี เมื่อถูกวัวชนตายก็เป็นปรินิพพานเลย นั่นปละคืออุบัติขึ้นเป็นอุปปาติกะเลย มี
ในกรณีที่ถ้าเรายังเห็น 9 ข้อนี้ไม่ได้ คือ ทินนัง ยิฏฐัง หุตัง สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก
อยัง โลโก ปโร โลโก มาตา ปิตา สัตตา อุปปาติกะไม่ได้ ขั้นที่สุดมันอยู่ตรงนี้ อยู่ตรงที่เป็นอุปปาติกะ เป็นอุปปาติกะไปถึงพระอนาคามี หรือเป็นโอปปาติกะไปถึงพระอรหันต์ ก็สิ้นทุกข์แล้ว
ถ้าเราทำตรงนี้ไม่ได้ ปฏิบัติความเป็นสัมมาทิฏฐิมาถึงตรงนี้ไม่ได้ เราต้องดูข้อที่10 คือข้อที่บอกว่า โลกนี้มี สมณพราหมณที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งยังโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้งนั้น นำโลกนี้โลกหน้ามาประกาศได้นั้น มีอยู่ เราต้องหาบุคคลคนนี้ บุคคลคนนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้านะ
ท่านประกาศว่า นี่คือสมณพราหม ผู้ที่ได้รับอานิสงส์ 4 ประการจากการฟังมา บุคคลคนนี้มีอยู่ ต้องหาคนนี้ให้เจอ หายากเท่าไรก็ต้องหาให้เจอ เพราะบุคคลคนนี้เท่านั้น ที่จะแสดงธรรมโดยการประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้งได้ มีบุคคลคนนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถรู้ตามธรรมที่ ทานให้ผล ยัญพิธีให้ผล บวงสรวงแล้วให้ผล ผลของกรรมดีกรรมชั่วให้ผล
โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี ถ้าเราไม่แจ่มแจ้งในข้อนี้ ต้องหาบุคคลในข้อที่10 เราจึงจะเป็นผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ เราจึงจะเป็นผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ จึงจะสามารถประพฤติปฏิบัติตามธรรมได้
นี่เป็นส่วนของผู้ที่เป็นสาสวะ ยังปฏิบัติเพื่อความเป็นอริยะ หรือเป็นอนาสวะอยู่ ส่วนของอนาสวะนั้น ปัญญา ปัญญินทรี ปัญญาพละ ธัมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ และ อริยมรรคมีองค์8 นั้น บุคคลผู้ที่เป็นอรหันต์แล้ว รู้เหตุเกิด รู้เหตุดับ
กระทำความปฏิบัติธรรมอยู่ ปัญญินทรี ทำตามกำลัง ปัญญาพละ ก็คือกระทำความจบ ธัมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่เคยว่าเป็นส่วนของความรู้ใน ปฏิจจสมุปบาท โดยถ้วนรอบนั่นเอง และก็เป็นสัมมาทิฏฐ มีความเห็นที่ถูกต้องทั้งหมดทั้งมวล นั่นแหละ ก็ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์8 อยู่เหมือนเดิม
คนที่เป็นอริยะแล้วก็ยังปฏิบัติอยู่ แต่ปฏิบัติในฐานะที่เป็นพระอริยะ ไม่ได้กระทำความพากเพียรมากเท่าผู้เป็นสาสวะอยู่ เห็นพวกเราได้เห็นดังนี้
โดยในที่นี้พระศาสดาได้ประกาศว่า ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ (ละความเห็นผิดทั้งหมด) เพื่อบรรลุ สัมมาทิฏฐิ ความพยายามของเธอนั้นเป็น สัมมาวายามะ (คือ ความพากเพียรอยู่ ถ้าส่วนใดที่ยังเห็นผิดอยู่ให้ละออก ให้มาสู่ความเห็นถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ ตรงนั้นเป็นสัมมาวายามะ )
ภิกษุนั้นได้มีสติละมิจฉาทิฏฐิ (ถ้าเห็นมิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้นละทิ้ง ) และเพื่อบรรลุสัมมาทิฏฐิอยู่(รู้ว่าตอนนี้เราได้ความเป็นสัมมทิฏฐิแล้ว)ดังนี้นั้น สติของเธอเป็นสัมมาสติ
ด้วยอาการ 3 อย่างนี้ ธรรม 3 ประการนี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อมเป็นไปตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้นๆ
เรากระทำความพากเพียรเพื่อละออก ความเป็นมิจฉาทิฏฐิออก เข้ามาสู่ความเป็นสัมมาทิฏฐิ นั่นเราป็น สัมมาวายามะ เรามีสติละความเป็นมิจฉาทิฏฐิออก เข้ามาสู่ความเป็นสัมมาทิฏฐิ เรามีสติที่เป็นสัมมาสติ
ธรรมจะห้อมล้อมกัน ชุดนี้ ชุดแรกจะมี 3 ส่วน คือ มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ ห้อมล้อมกันอยู่
กระทำการละความเป็นมิจฉาทิฏฐิออก เข้ามาสู่ความเป็นสัมมาทิฏฐิ อย่างนี้ คือสัมมาทิฐฐิเฉพาะ ในส่วนของอริยมรรคมีองค์8 ข้อที่1 เพื่อกระทำความดับทุกข์ ใครเห็นผิดดับทุกข์ไม่ได้ ใครเห็นถูกเท่านั้นจึงจะดับทุกข์ได้
นั่นคือ ความเป็นมิจฉาทิฏฐิดับทุกข์ไม่ได้ ความเป็นสัมมาทิฏฐิเท่านั้น จึงจะดับทุกข์ได้
อนุโมทนากับทุกคนเอาไว้เท่านี้
แสดงธรรมโดย หลวงพ่อ พุทธปัญโญ
วันพฤหัสบดีที่ 17 เดือน มิถุนายน ปี 2564
โฆษณา