8 มิ.ย. 2022 เวลา 13:00 • ธุรกิจ
กลยุทธ์รับมือกับความเสี่ยงจากการแข่งขัน และสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจของ SAPPE
ปัจจุบันสภาวะการแข่งขันของธุรกิจเครื่องดื่มอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ทั้งจากผู้ประกอบการเดิมที่มีอยู่จำนวนมากและการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ ความสามารถในการหาสินค้าทดแทนได้ง่ายขึ้น การออกสินค้าใหม่ของผู้ประกอบการต่างๆ การทํากิจกรรมทางการตลาด และการใช้งบโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ จากภาครัฐที่อาจเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ส่งผลให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมรุนแรงมากขึ้นจนผู้ประกอบการ จำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว
และเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทจึงได้เตรียมความพร้อมอยู่เสมอ เพื่อรองรับการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยไม่หยุดคิดค้นและพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายสําหรับกลุ่มผู้บริโภคต่างๆ และสร้างแบรนด์ให้มีความแข็งแกร่งเพื่อเพิ่มมูลค่าและความแตกต่าง
ซึ่งไม่เพียงแต่คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มใหม่ที่เน้นการบริโภคเพื่อสุขภาพ รสชาติ หรือความสวยงามเท่านั้น แต่ยังคิดค้นและพัฒนาในด้านอื่นๆ อีกเช่นกัน เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในรูปแบบขนมเพื่อสุขภาพที่ช่วยขยายฐานผู้บริโภคจากเดิมที่มุ่งเน้นแต่ตลาดเครื่องดื่ม
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม สร้างความคุ้มค่าและความปลอดภัยให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคสูงสุด และยังเป็นการสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับตัวผลิตภัณฑ์ตลอดจน ส่งเสริมการขายในรูปแบบของกิจกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและให้กลับมาซื้อซ้ำมากที่สุด
ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าบริโภค เช่น การปรับภาษีความหวานที่เป็นปัจจัยความเสี่ยงสําคัญที่ผลักดัน ให้บริษัทต้องค้นคว้าและวัจัยเพื่อปรับปรุงสูตรสินค้าอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้บริษัทได้เตรียมความพร้อมในการเริ่มต้นพัฒนาสูตรสินค้าที่ยังคงความอร่อยและได้คุณประโยชน์ตามที่ผู้บริโภคต้องการ ในขณะเดียวกันก็ทําความเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย เพื่อให้สูตรและรสชาติของสินค้าเป็นที่ยอมรับ
ในช่วงปี 2562-2563 บริษัทเริ่มผลิต และจัดจำหน่ายเครื่องดื่มผสมวิตามิน กลิ่น ผลไม้ภายใต้เครื่องหมายการค้า “บลู” ผ่านบริษัทดาน่อน เซ็ปเป้ เบฟเวอเรจส์ จำกัด (บริษัทถือหุ้นทางอ้อมในสัดส่วนร้อยละ 25) ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง และมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เข้า มาแข่งขันในกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้เป็นจำนวนมาก
บริษัทมีการวางงบประมาณในการลงทุนทางการขายและการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์(Brand Awareness) ในระยะแรกของการจัดตั้งบริษัทไวัค่อนข้างสูงเพื่อประโยชน์ในระยะกลาง – ยาว ตามแผนงานที่วางไว้ ทั้งนี้บริษัทอาจจะมีการบันทึกส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ในช่วงแรกๆ ได้ โดยงบประมาณดังกล่าว ยังคงเป็นไปตามแผนการจัดตั้งบริษัทร่วมนี้ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น
บริษัทได้ปรับตัวเพิ่มการเข้าถึงสินค้าของผู้บริโภคผ่านช่องทางการขายใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ให้ผู้บริโภคเห็นสินค้า ได้ทดลองสินค้า ไม่ว่าสภาวการณ์จะเป็นเช่นไร กล่าวคือ ในช่วงเวลา lockdown ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าของบริษัท ผ่านช่องทาง e-commerce บน marketplace ต่างๆ
เพิ่มการวางสินค้าในช่องทางกีฬา อาทิ สนามกอล์ฟ ฟิตเนส (เมื่อกลับมาเปิด) ปี 2564 บริษัทได้เริ่มการขายผ่านช่องทาง TV homeshopping ซึ่งเป็นการสื่อสารผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกัน
นอกจากนี้ทางบริษัทมีการพัฒนาช่องทางที่มีอยู่แล้วในเชิงลึก เพื่อบรรลุเป้าห้มายเชิงคุณภาพมากขึ้น เช่นการทําแผนงานประจำปีร่วมกันกับคู่ค้า ใช้ข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มยอดขาย และลดความเสี่ยง
ติดตามข้อมูลต่างๆ จาก SAPPE ได้ที่
โฆษณา