22 มิ.ย. 2022 เวลา 05:41
มุมมอง'ชัชชาติ' สตาร์ทอัพเปลี่ยนกรุงเทพได้ รัฐต้องให้อิสระมากพอ
5
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ร่วมวงพูดคุยกับสมาคมไทยสตาร์ทอัพ
แชร์มุมมองที่น่าสนใจต่อสตาร์ทอัพ ซึ่งถือเป็นขาสำคัญนอกเหนือจากภาครัฐ ที่จะช่วยพัฒนาเมือง พัฒนาคุณภาพชีวิต และยังพูดคุยเรื่องแง่คิดการทำงาน การพัฒนาคน พัฒนาเมือง
16
[ สตาร์ทอัพ ช่วยเปลี่ยนกรุงเทพฯได้ ]
6
ในมุมมองของคุณชัชชาติมองว่า สตาร์ทอัพ จะต้องมีการ disrupt หรือเปลี่ยนวิธีการทำงานเดิมๆ ยกตัวอย่าง ทราฟฟี่ฟองดูว์ (Traffy Fondue) โครงการทีมชัชชาติ ที่เปลี่ยนการร้องเรียนแบบเดิม ให้มาร้องเรียนผ่านแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางระหว่างประชาชน กับรัฐ
10
ทราฟฟี่ฟองดูว์ ยังแสดงให้เห็นพลังของ Open Data ว่าถ้าเรามองเห็นความคืบหน้าของการทำงาน มันจะช่วยให้หน่วยงานมี productivity เพิ่มขึ้นได้จริง ติดตามได้ ตรวจสอบได้
2
สตาร์ทอัพก็ใช้แนวคิดคล้ายๆ กัน การ disrupt เป็นพลังของสตาร์ทอัพที่จะมอบให้ได้ ดังนั้นจึงเชื่อว่า สตาร์ทอัพ จะใช้พลังนี้ ช่วยเปลี่ยนกรุงเทพได้
[ รัฐต้องให้อิสระสตาร์ทอัพในการคิดต่อยอด ]
แต่ในขณะเดียวกัน ภาครัฐก็ไม่ควรไปยุ่งกับสตาร์ทอัพมาก เพราะรัฐกับสตาร์ทอัพ อยู่กันคนละ culture รัฐต้องทำตามกฎ แต่สตาร์ทอัพ ห้ามทำตามกฎ
3
เพราะการ disrupt อะไรบางอย่างเราทำตามกฎไม่ได้ ดังนั้นจึงมีจุดที่ต้องระวัง ถ้าภาครัฐลงมาโปโมทสตาร์ทอัพแบบจริงๆ จังๆ
2
หน้าที่ของรัฐ หรือในที่นี้คือ กทม. ก็จะมีแค่ ให้โจทย์สตาร์ทอัพนำไปคิดต่อเท่านั้น
4
แต่ถ้าสตาร์ทอัพต้องทำงานกับ กทม. เข้าจริงๆ ก็ต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะฝั่งรัฐอย่าง กทม. ที่มีระเบียบในการใช้งบประมาณ และเป็นระเบียบที่ฝ่าฝืนไม่ได้
1
สตาร์ทอัพ จึงอาจต้องเริ่มจากการศึกษากฎระเบียบก่อนว่า เราจะผลิตโซลูชั่นอะไร แก้ปัญหาให้ประชาชนได้อย่างไร และจะเข้าระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
2
สตาร์ทอัพในระบบปกติ ล้มเหลวได้ ลุกใหม่ได้ แต่ถ้าเป็นสตาร์ทอัพที่ทำงานกับรัฐนั้นจะต่างออกไป เพราะการใช้งบประมาณของรัฐ ล้มเหลวไม่ได้
4
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น รัฐต้องให้ความไว้ใจเอกชนและสตาร์ทอัพ เพราะมีวัฒนธรรมต่างกัน รัฐจึงต้องเพิ่มความเชื่อใจให้มากขึ้นด้วย
1
เมื่อถามว่า ธุรกิจไหนที่จะถูก disrupt ได้ง่าย คุณชัชชาติมองว่าเป็นธุรกิจที่มี margin สูงแต่คุณภาพยังไม่ดี เช่น เฮลท์แคร์ การศึกษา การจัดการขยะ เป็นสามส่วนที่ใช้งบประมาณรวมกันกว่า 18,000 ล้านบาท แต่คุณภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร พวกนี้แหละ จะถูก disrupt ได้ง่ายมาก
4
[ คุณภาพชีวิตที่ดี = อีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพที่ดี ]
ส่วนวิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาเมือง ใครที่ติดตามคุณชัชชาติ มาตลอดจะรู้ว่า เขาให้ความสำคัญกับพื้นที่สาธารณะ และคุณภาพชีวิตที่ดี
แต่คุณภาพชีวิตที่ดีในเมือง เกี่ยวข้องกับอีโคซิสเต็มของสตาร์ทอัพยังไง
คุณชัชชาติย้ำวิสัยทัศน์นี้ว่า ถ้าเราทำ กทม. ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ก็จะดึงให้คนเก่งยังอยู่กับเรา เพราะคนเก่งเลือกได้ ว่าจะไปอยู่ที่ไหน ถ้าเมืองดี สมองก็ไม่ไหล ซึ่งจะช่วยให้อีโคซิสเต็มของสตาร์ทอัพดีขึ้นไปด้วย
4
[ ประชาธิปไตยในองค์กรสำคัญมาก ]
1
อีกคำถามน่าสนใจในวงเสวนา คือการปรับวัฒนธรรมองค์กร ภาวะผู้นำองค์กรที่ดีควรเป็นอย่างไร
1
ซึ่งคำแนะนำของคุณชัชชาติ ก็เรียบง่าย และน่าจะเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้แก่ใจแล้ว
"ถ้าคุณเป็นผู้นำ อยากให้ลูกน้องขยัน คุณก็ต้องขยันมากกว่า คุณอยากให้ลูกน้องฉลาด คุณก็อ่านหนังสือ แสดงความเป็นผู้นำด้วยการแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง (Lead by Example)"
8
คุณชัชชาติแชร์ให้ฟังด้วยว่า ส่วนตัวชอบปรัชญาของ Ray Dalio ผู้เขียนหนังสือ Principles บอกว่า มีอะไรห้ามเก็บไว้ในใจ ให้พูดออกมา และรับฟังกัน ซึ่งปรับใช้ในองค์กรได้ และเป็นกุญแจสำคัญของสตาร์ทอัพได้เลย
2
เพราะถึงที่สุดแล้ว ต่อให้การเมืองข้างนอกเป็นประชาธิปไตยมากแค่ไหน ก็อาจไม่สำคัญเท่าประชาธิปไตยในบริษัท ถ้าคุณไม่เคยฟังลูกน้องเลย ก็ไม่เกิดผลอะไร
3
หรือต่อให้การเมืองข้างนอกเผด็จการ แต่ถ้าข้างในองค์กร คุณฟังลูกน้องมากพอ ก็น่าจะช่วยให้สร้างโปรดักต์ดีๆ ตอบโจทย์ลูกค้าออกมาได้ดีกว่า
2
สุดท้าย คุณชัชชาติ ฝากฝังถึงสตาร์ทอัพว่า ถ้าอยากช่วยเปลี่ยน กทม. เรื่องอะไรบ้าง ติดต่อเข้ามาได้เลย คิดนอกกรอบให้มากๆ แล้วคำตอบที่ดีจะออกมาเอง
#TODAYBizview
#workpointTODAY
#สาระความรู้เพื่อวันนี้
โฆษณา