18 ก.ค. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
เมื่อวานนี้ลงบทความของพระไพศาล วิสาโล
1
หลวงพ่อชา สุภทฺโท เมื่อครั้งยังเป็นพระหนุ่ม ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่กินรี จนฺทิโย ที่นครพนม เดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน
ครั้นเห็นอาจารย์ของตนกลับไม่ค่อยเดินจงกรม นั่งสมาธิ วันๆ ทำเรื่องอะไรก็ไม่รู้ เช่น เย็บผ้า ปะจีวร ก็คิดว่าทำอย่างนั้นจะบรรลุธรรมอะไรได้
แต่ต่อมาพระหนุ่มก็พบสัจธรรมว่า การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ จะทำกิจอะไรก็ปฏิบัติธรรม
1
การนั่งสมาธิเป็นแค่เปลือก แก่นอยู่ที่การเจริญสมาธิ ไม่ใช่ท่านั่ง
4
นี่มิได้บอกว่านั่งสมาธิ เดินจงกรมไม่ดี แค่บอกว่าการนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมเป็นแค่รูปแบบหนึ่งของการเจริญสติ
ดังนั้นจะปะชุนผ้า ก็เจริญสมาธิได้
ฮาคุอิน เอคาขุ (Hakuin Ekaku 白隠 慧鶴 1686–1769) ปรมาจารย์เซนสายรินไซแห่งญี่ปุ่น บอกว่าพึงระวัง อย่าวัน ๆ ไม่ทำอะไรนอกจากนั่งสมาธิจนตัวแข็งทื่อ จะไม่เกิดผลอะไรท่านสอนศิษย์ว่า "สมาธิในการทำงานดีกว่าสมาธิในการนั่งนิ่งพันเท่า"
3
นี่ก็คือหลักเดียวกับที่ท่านพุทธทาสภิกขุพูดเสมอ "จงทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง"
3
จิตว่างแปลว่าอะไร?
3
จิตว่างก็หมายถึงจิตที่ว่างจากการปรุงแต่ง
1
ผมเคยเขียนบ่อยๆ ว่า การปรุงแต่งเป็นหลักคิดสำคัญทางพุทธ ตรงกับหลัก cause-effect ของจักรวาลเป๊ะ
2
การปรุงแต่งทางจิตก็คือ cause เมื่อจิตเผลอปรุงความคิดอะไรที่มากระทบแล้ว ก็มักเกิด effect คือทุกข์
3
เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว ก็อย่าปรุงแต่งบ่อย
แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่ปรุงแต่งบ่อย?
อ้าว! ก็เจริญสติน่ะซีโว้ย!
แล้ววันๆ เราจะสามารถเดินจงกรม โดยไม่ต้องทำมาหากินได้งั้นหรือ? มิแปลว่ามีแต่พระที่จะบรรลุธรรมได้หรือ? หามิได้ ก็แค่ "ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง" ซี
1
ใช้สติตามทุกอย่าง อย่าปรุงแต่ง ถ้าเผลอก็ช่างมัน ก็เจริญสติใหม่
3
ขอจงมีความสุขสวัสดีในวันจันทร์
มันก็แค่วันจันทร์ อย่าไปปรุงแต่งให้ทุกข์ร้อนเช่นเคยล่ะ
[ติดตามข้อเขียนของ วินทร์ เลียววาริณ ได้ทุกวันที่เพจ https://bit.ly/3amiAvG และ blockdit.com]
1
โฆษณา