27 มิ.ย. 2022 เวลา 10:48 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🔥นับว่าเป็นปีที่หนักหนาสำหรับนักลงทุนจริงๆ สำหรับปี 2022/2565 นี้
เพราะต้องเจอทั้งวิกฤตจากข่าวต่างๆ มาตลอดตั้งแต่ต้นปี
ตั้งแต่ข่าวเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ไปจนถึงข่าวอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์
เรามาไล่ Recap กันดีกว่าว่าครึ่งปีนี้ 10 สาเหตุที่ทำให้ตลาดร่วงซึมยาวแบบนี้มีอะไรบ้าง 👇🏻
📌#1 ข่าวเชื้อ COVID-10 สายพันธุ์ใหม่
ข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อ "โอไมครอน" ที่มีผลต่อความกังวลของนักลงทุนมากที่สุดในต้นปี ซึ่งทำให้นักลงทุนรู้สึกไม่แน่นอนต่อเหตุการณ์ที่จะตามมาในอนาคต
📌#2 ข่าวการประชุม FED
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ตลาดร่วงคือ ท่าที Hawkish ของ FED จากเดิมที่ใช้วิธีการแบบ Dovish มาโดยตลอด
ตั้งแต่ต้นปี 2022 FED จึงเดินหน้ายุติโครงการ QE และมีแนวโน้มจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 2-3 ครั้ง โดยหวังว่าจะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจลง
*Hawkish คือท่าทีในการรับมือกับเศรษฐกิจด้วยความแข็งกร้าว ดุดัน ไม่ประนีประนอมต่อปัญหาเศรษฐกิจ เน้นชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้น เพื่อลดเงินเฟ้อ
ส่วน Dovish เป็นวิธีการรับมืออย่างนุ่มนวล ประนีประนอม เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ รักษาอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้ต่ำกว่าปกติ และเพิ่มปริมาณเงินรวมในเศรษฐกิจเร็วกว่าปกติ
📌#3 ร่างงบประมาณฯ จากสภาคองเกรส
ข่าวการเมืองหนึ่งที่ส่งผลกับนักลงทุนเมื่อตอนต้นปีคือ ช่วงก่อนที่สภาคองเกรสและประธานาธิบดีโจ ไบเดนจะลงนามอนุมัติร่างกฎหมายสำหรับการจัดสรรเงินทุนให้แก่รัฐบาลกลางและหน่วยงานจำนวนมากของสหรัฐ เพื่อให้หน่วยงานเหล่านี้สามารถทำงานต่อไปได้จนถึงวันที่ 18 ก.พ. 2022
ซึ่งก่อนหน้านั้นนักลงทุนก็เกิดความกังวลว่า ในสภาเองก็มีเสียงที่แตกกันระหว่างพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน หากวุฒิสภาไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงได้เพียงพอ ที่จะผ่านร่างกฎหมายฯ นี้ รัฐบาลกลางและหน่วยงานรัฐอาจถูกปิดการดำเนินงานจากมาตรการสนับสนุนเงินทุนที่หมดอายุลง
📌#4 สถานการณ์การเลือกตั้งมิดเทอม
ร้อนระอุตั้งแต่ต้นปีจริงๆ กับการเลือกตั้งมิดเทอม 2022 ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ท่ามกลางสถานการณ์ความแตกแยกทางการเมืองระหว่างสองพรรคใหญ่ ทำให้นักลงทุนกังวลในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อธุรกิจและตลาดหุ้นในอนาคต
📌#5 แผนปราบปรามกลุ่มเทคฯ จีน
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และเข้าสู่สงครามการค้ากับสหรัฐฯ แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็มีการปราบปรามบริษัทเทคฯ ใหญ่ของประเทศอีกหลายแห่ง ส่งผลให้ตลาดหุ้นเทคจีนร่วงตั้งแต่ปี 2021 ยาวมาจนถึงปัจจุบัน
📌#6 หนี้มาร์จิ้นในระบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
อีกเหตุผลที่อาจส่งผลให้ตลาดพังในปี 2022 คือเรื่องของหนี้มาร์จิ้นหรือจำนวนเงินที่ยืมมาจากโบรกเกอร์ / สถาบันการเงินเพื่อนำมา Long หรือ Short ในตลาดฟิวเจอร์ส ซึ่งในปีนี้จำนวนหนี้มาร์จิ้นมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่มีหนี้มาร์จิ้นเกือบ 919 พันล้านดอลลาร์ เป็นจำนวนคงค้างที่มากกว่าช่วงการระบาดโควิดเมื่อสองปีที่ผ่านมาถึง 2 เท่า
ประวัติศาสตร์ในอดีตของการมีหนี้มาร์จิ้นในระบบอย่างมหาศาลนั้นไม่ค่อยจะดีนัก อย่างเมื่อต้นปี 1995 เราจะเห็นหนี้มาร์จิ้นในระบบที่เพิ่มเข้ามา 60% ในปีเดียว ก่อนที่ฟองสบู่ดอทคอมจะแตกในอีกไม่กี่เดือนให้หลัง
📌#7 การร่วงของตลาดคริปโต
ในช่วงที่ผ่านมานี้ นักเก็งกำไรได้เข้ามาในตลาดคริปโตมหาศาล จนทำให้ราคาบิทคอยน์พุ่งสูงถึง 8,000,000,000% ในเวลาน้อยกว่า 11 ปี หรือเหรียญมีมอย่าง Shiba Inu ที่ราคาพุ่งถึง 46,000,000% ในปีเดียว เราได้เห็นความ FOMO อย่างที่ไม่เคยเห็นในตลาดมาก่อนกับสินทรัพย์ชนิดนี้
แต่น่าเสียดายที่ตลาดคริปโตนั้นยังมีความเกี่ยวข้องบางอย่างกับตลาดหุ้นอยู่ และนักลงทุนคริปโตส่วนใหญ่ ก็เป็นคนเดียวกับที่ลงทุนในหุ้น ทำให้เมื่อตลาดคริปโตร่วงนั้น ความกลัวได้แผ่ขยายเข้ามายังตลาดหุ้น และำให้ตลาดหุ้นร่วงตามไปในที่สุด
📌#8 ปรากฏการณ์ “Sell in May and Go Away”
ประโยคทางจิตวิทยาที่มักจะเจอในช่วงกลางปีคือ “Sell in May and Go Away” โดยนักลงทุนจะพากันเทขายหุ้นในเดือนพฤษภาคม และกลับมาซื้อกลับในเดือนพฤศจิกายน ไม่ใช่ว่าปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นทุกปี แต่จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจต่างๆ ในปีนี้ก็เช่นกัน ด้วยสถานการณ์เงินเฟ้อและสงคราม ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นอย่างหนักในเดือนพฤษภาคม
📌#9 ประวัติศาสตร์ของตลาดหมีที่ซ้ำรอย
ตั้งแต่ปี 1960 จนถึงปัจจุบัน มีเหตุการณ์ตลาดหมีขึ้นถึง 7 ครั้ง (โดยใช้การลดลงอย่างน้อย 20% ของหุ้นในดัชนี S&P 500 เป็นตัววัด) ทำให้ตลาดตกต่ำในวงกว้าง เกิดความกลัวในหมู่นักลงทุน โดยในครั้งนี้ก็เช่นกัน ปี 2022 นี้ ราคาหุ้นในดัชนี S&P 500 ได้ตกลงเกิน 20% และอาจนำมาสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ตามมา
📌#10 อัตราเงินเฟ้อสูงเป็นประวัติการณ์
ในเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต อัตราเงินเฟ้อปานกลาง (ประมาณ 2%) เป็นเรื่องปกติ แต่อัตราเงินเฟ้อเมื่อเดือนพฤษภาคม กว่า 8.6% ที่สูงเป็นประวัติการณ์ของสหรัฐฯ ในรอบ 41 ปี ส่งผลให้นักลงทุนกังวลหนัก
เมื่อราคาสินค้าบริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ทั้งธุรกิจและผู้บริโภคไม่สามารถใช้จ่ายได้เมื่อเทียบกับรายได้ปัจจุบัน ทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอการเติบโต นำไปสู่นโยบายทางการเงินของ FED ที่กระทบกับนักลงทุนเป็นอย่างมาก
โฆษณา