30 มิ.ย. 2022 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
ครบรอบ 50 ปี รูปถ่ายสงครามก้องโลก ‘Napalm Girl’
เด็กหญิงในรูปปัจจุบัน 59 ปี รับการบำบัดผิวหนังครั้งสุดท้าย พร้อมเปิดใจ
3
เครดิตภาพ: แฟ้มข่าว AP/Nick Ut, AP/Lynne Sladky, NY Post/Selim Algar
"เหมือนฝันร้ายที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน"
Kim Phuc Phan Ti “ฟาน ถิ กีม ฟุก” คือเด็กหญิงชาวเวียดนามที่ปรากฎในรูปถ่ายขาวดำชื่อก้องโลก “Napalm Girl” “หนูน้อยนาปาล์ม” ถ่ายเมื่อ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ราวบ่าย 2 เป็นช่วงปลายสงครามเวียดนาม
ด.ญ. ฟาน ถิ กิม ฟุก ตอนนั้น 9 ขวบ ต้องถอดเสื้อผ้าที่ถูกไฟไหม้ออกทั้งหมด ภาพถ่ายได้ตอนเธอขณะวิ่งหนีออกไปจากหมู่บ้านจางบ่าง ที่อยู่ห่างจากกรุงไซ่ง่อนเมื่อก่อนราว 40 กม. (ปัจจุบันคือนครโฮจิมินห์) กองทัพเวียดนามใต้ทิ้งระเบิดเพลิง (นาปาล์ม) ลงที่นั่น เพื่อขับไล่ทหารเวียดนามเหนือที่เข้ายึดครอง
...
นักข่าวสงครามที่ถ่ายภาพนี้ได้แบบกะทันหันคือ Nick Ut “นิก อึ๊ต” ชาวเวียดนามเช่นกัน ผู้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์จากภาพนี้ ทำงานให้กับสำนักข่าว AP มา 51 ปี และได้เกษียณออกมาหลายปีแล้ว ปัจจุบัน 2022 อายุ 71 ปี (อ่านจากข่าวเห็นว่าออกมาเป็นช่างภาพให้ทางฮอลลีวู้ด)
Napalm Girl ภาพถ่ายสงครามที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ของ Nick Ut/AP
  • เกร็ดความรู้
ระเบิดนาปาล์ม เป็นระเบิดที่มีรูปแบบการทำปฏิกิริยาเคมีที่ให้ความร้อนสูงมาก นำมาใช้ครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่สอง อุณหภูมิโดยรอบจะสูงประมาณ 800-1,200 องศาเซลเซียส
2
นาปาล์มเมื่อระเบิดจะทำปฏิกิริยาแผ่ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ออกไปโดยรอบ เป็นพิษไปถึงบรรยากาศข้างบนและดึงออกซิเจนโดยรอบ เพื่อการเผาไหม้ตรงจุดศูนย์กลางทำให้เกิดการแผ่รังสีความร้อนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดแผลไฟไหม้ที่ผิวหนังและจะทำลายเนื้อเยื่อ จนถึงกระดูก
1
ตอนนั้นนักข่าวต่างชาติและของเวียดนามหลายสำนักแย่งกันถ่ายภาพไฟนรกที่ม้วนตัวสูงขึ้นฟ้า เผาหมู่บ้านวอดพร้อมหลายชีวิตแบบสดๆ ความร้อนแผ่กระจายพร้อมควันดำปกคลุม
มีเด็ก 5 คน วิ่งหนีตายออกมาทางที่นักข่าวอยู่ หวีดร้องด้วยความหวาดกลัวและเจ็บปวดอย่างมากจากแผลไฟไหม้ รวมถึง กิม ฟุก ผิวหนังของเธอบริเวณแผ่นหลังกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้หลุดออกมาเป็นแผ่น เห็นเนื้อสีแดงตลอดแผ่นหลัง แขนซ้ายและผิวหนังบริเวณต้นคอของเธอไหม้เกรียม
2
ทหารเวียดนามที่อยู่ตรงนั้น รีบเอากระติกน้ำให้เธอดื่ม และราดน้ำบนตัวของเธอ
นิก อึ๊ต ช่างภาพที่ถ่ายรูปเธอวิ่งออกมาไว้ได้ เข้ามาช่วยปลอบเธอให้หายช็อก นักข่าวทุกคนทำงานแข่งกับเวลาเพื่อที่ต้องส่งฟิล์มกลับมาล้างและนำขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ในอเมริกา รวมถึง นิก อึ๊ต ด้วย แต่เขาตัดสินใจอาสาพา กิม ฟุก กับผู้หญิงอีกคนที่สาหัสไปส่งที่โรงพยาบาลระหว่างทางไปกรุงไซ่ง่อนก่อน หลังจากนั้นเขาก็ไปเยี่ยมเธอเป็นครั้งคราว
ภาพนี้ของเขาได้ขึ้นหน้า 1 ที่วอชิงตัน ทำให้สังคมชาวอเมริกันไม่เห็นด้วยกับสงครามเวียดนามที่อเมริกาเข้าไปแทรกแซง เพิ่มระดับการเรียกร้อง เดินขบวนครั้งใหญ่ทั่วอเมริกาให้รัฐบาลถอนทหารออกมา ส่งผลลบมากต่อคะแนนนิยมของนิกสัน (ปธน.ในตอนนั้น)
...
สงครามเวียดนามปิดฉากลงเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 โดยกองทหารเวียดนามเหนือบุกถึงไซ่ง่อน สหรัฐถอนทหารส่วนใหญ่ออกไปแล้วคงเหลือแต่เจ้าหน้าที่ในสถานทูต โฮจิมินห์ขึ้นเป็นผู้นำของเวียดนาม รวมเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้เข้าด้วยกัน ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์เป็นต้นมา
กิม ฟุก กับ นิก อึ๊ต ถ่ายที่โทรอนโต เมื่อปี ค.ศ. 2012 เครดิต: Chris Young/The Canadian Press
  • เรื่องราวชีวิตของ กิม ฟุก หลังสงครามเวียดนาม
เรื่องราวของ กิม ฟุก หลังจากนั้น ขอเล่าคร่าวๆเลย คือ หลังจากเธอออกจากโรงพยาบาล พร้อมรอยแผลเป็นและความเจ็บปวดหลงเหลืออยู่ให้เธอตลอดชีวิต ก็เข้าเรียนระดับประถมกับมัธยม และได้เข้าเรียนคณะแพทย์ในเวียดนาม ด้วยผลการเรียนที่ดี
4
ด้วยที่ภาพถ่ายของเธอในสมัยสงครามดังกระฉ่อนทั่วโลก จึงมีเจ้าหน้าที่ของทางการเข้ามาสอดส่องเธออยู่ตลอด เธอจึงขอรัฐบาลเพื่อไปเรียนต่อต่างประเทศ
2
...
  • พ.ศ. 2529 รัฐบาลเวียดนามให้เธอไปเรียนต่อที่คิวบา เธอเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ และเธอได้พบกับนักศึกษาชาวเวียดนามอีกคนหนึ่งชื่อ บุย ฮุย ตว่าน เริ่มคบหากัน
  • พ.ศ. 2535 เธอก็แต่งงานกับเขา ทั้งคู่ขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปฮันนีมูน และระหว่างทางที่เครื่องบินแวะเติมน้ำมัน ทั้งคู่ตัดสินใจฉวยโอกาสหนีเจ้าหน้าที่และไปขอลี้ภัยยังประเทศที่ 3
ในที่สุดรัฐบาลแคนาดาอ้าแขนรับเข้าช่วยเหลือทั้งคู่ โดยให้พักอาศัยได้เสรีในเมืองโทรอนโต และทั้งคู่ได้โอนสัญชาติเป็นชาวแคนาดาแล้วทั้งคู่ ใช้ชีวิตอย่างสงบจนถึงปัจจุบัน (2022 เธออายุ 59 ปี)
กิม ฟุก กับครอบครัวของเธอ ลูกชาย 2 คน อาศัยที่โทรอนโต แคนาดา ที่มาภาพ: https://thecriticalspace.wordpress.com/2017/02/25/the-napalm-girl-the-story-of-survival
กิม ฟุก กับครอบครัวของเธอ ลูกชาย 2 คน อาศัยที่โทรอนโต แคนาดา ที่มาภาพ: https://thecriticalspace.wordpress.com/2017/02/25/the-napalm-girl-the-story-of-survival
  • พ.ศ. 2550 เธอตั้งมูลนิธิในสหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือการรักษาเหยื่อสงครามต่างๆและทำหน้าที่เป็นทูตสันติภาพของ UNESCO
  • พ.ศ. 2558 สถาบันผิวหนังแห่งไมอามี ติดต่อเพื่อขอรักษาแผลเป็นทั่วร่างของเธอด้วยเลเซอร์ให้ฟรี คุณหมอจิลล์ ไวเบล (Jill Waibell M.D.) เปิดเผยว่า กิม ฟุก คงต้องเข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง การรักษาแผลเป็นนี้จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดที่ซ่อนอยู่ภายในของเธอตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้
ภาพถ่ายรอยแผลเป็นบนหลังของ กิม ฟุก หลังจากเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูผิวหนังรอบแรกที่ไมอามี เมื่อปี 2015 ถ่ายโดย Nick Ut/AP
  • 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ล่าสุดทางสถาบันผิวหนังแห่งไมอามีที่เดิม โดยคุณหมอจิลล์ ไวเบล ได้ให้ กิม ฟุก เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูรอยแผลเป็นอีกครั้งด้วยเลเซอร์ ซึ่งจากรายงานข่าวระบุว่าเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว ดูภาพบรรยากาศการเข้ารักษาล่าสุด ได้จากรูปด้านล่าง
28 June 2022 กิม ฟุก เข้ารับการฟื้นฟูสภาพผิวหนังอีกครั้งที่ไมอามี โดยคุณหมอจิลล์ ไวเบล (คนกลาง) คนที่ถ่ายภาพคือ นิก อึ๊ต (ซ้าย) เครดิต: AP/Lynne Sladky
ขั้นตอนระหว่างการยิงเลเซอร์เพื่อฟื้นฟูผิวหนัง เครดิต: AP/Lynne Sladky
กิม ฟุก หลังเข้ารับการฟื้นฟูที่สถาบันผิวหนังแห่งไมอามีเป็นที่เรียบร้อย เมื่อ 28 June 2022 เครดิต: AP/Lynne Sladky
เธอได้มีเปิดใจกล่าวในตอนครบรอบ 50 ปี ภาพถ่าย Napalm Girl สรุปตอนจบว่า “50 ปีผ่านไป ตอนนี้ฉันไม่ได้เป็นเหยื่อของสงครามอีกต่อไปแล้ว ฉันไม่ใช่หนูน้อยนาปาล์ม ตอนนี้ฉันเป็นเพื่อน เป็นผู้ช่วยเหลือ เป็นคุณย่า และที่สำคัญฉันคือผู้รอดจากสงครามที่เรียกร้องถึงสันติภาพของโลก”
3
สำนักข่าว CBC ของแคนาดา ได้สัมภาษณ์เธอเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้ และถามเกี่ยวกับสงครามรัสเซียยูเครน โดยเธอได้กล่าวว่า
  • เมื่อเธอรู้เกี่ยวกับสงครามที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เธอและแม่ของเธอที่อาศัยด้วยกันที่โทรอนโตได้ร้องไห้ออกมาทันที เพราะมันสะท้อนให้เห็นภาพในความทรงจำวัยเด็กของเธอ ความโกลาหลวุ่นวาย ความสูญเสีย ความเจ็บปวดที่ไม่รู้ลืม ความหวาดผวา
  • เธอรู้สึกใจสลายเมื่อเห็นผู้คนสูญเสียบ้านที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะเหล่าเด็กๆ อยู่อย่างลำบาก ขาดแคลนอาหาร
  • เธอให้กำลังใจเด็กๆที่ยูเครนว่าอย่ายอมแพ้ เมื่อเธอเป็นเด็กก็แค่ร้องไห้ออกมา ทนต่อความเจ็บปวดแล้วทุกอย่างจะผ่านไปได้
  • เธออยากบอกเด็กๆที่ยูเครนว่า อย่าสิ้นความหวัง ไม่ละทิ้งความฝัน มีผู้คนมากมายพร้อมอาสาเข้าไปช่วยเหลือ เธอรู้ว่าเด็กๆที่นั่นพูดออกมาจากใจ แต่ยังไงความช่วยเหลือก็เป็นสิ่งสำคัญ
  • เธอกำลังตกลงวางแผนที่จะบินไว้ที่โปแลนด์เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้อพยพชาวยูเครนที่เป็นเด็ก เธอพร้อมที่จะพูดคุยกับกลุ่มคุณครูและนักเรียนในยูเครนผ่าน Zoom ช่วงกรกฎาคมนี้
ฟาน ถิ กิม ฟุก ปัจจุบันอายุ 59 ปี เครดิตภาพ: Sylvia Thomson/CBC
เรียบเรียงโดย Right SaRa
30th June 2022
  • แหล่งข่าวและข้อมูลอ้างอิง:
โฆษณา