30 มิ.ย. 2022 เวลา 08:58 • ข่าวรอบโลก
ทำไมอยู่ ๆ ตุรเคียถึงหันมาสนับสนุนสวีเดนและฟินแลนด์ให้เข้าร่วม NATO
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ค้านหัวชนฝา...?
หลังจากที่สวีเดนและฟินแลนด์ประกาศว่าจะยกเลิกสถานะความเป็นประเทศเป็นกลาง เพื่อสมัครร่วมเป็นหนึ่งในพันธมิตรองค์การ NATO
Recep Tayyip Erdogan ผู้นำตุรเคีย คือคนแรก ๆ ที่ออกมาขวางเต็มตัว เล่นเอาสมาชิกนาโต้คนอื่น ๆ ต้องพากันปวดหัว
แล้วอยู่ ๆ ไม่กี่วันที่ผ่านมา Erdogan กลับออกมาประกาศยกเลิกการคัดค้านแบบฉับพลัน
แถมยินดีสนับสนุนสวีเดนและฟินแลนด์เข้าร่วมนาโต้อย่างเต็มที่อีกด้วย
มันเกิดอะไรขึ้น ทำไมผู้นำตุรเคียถึงกลับลำแบบทันทีทันใดแบบนี้?
สาเหตุที่อยู่ ๆ Erdogan เปลี่ยนท่าทีหันมาสนับสนุนสวีเดนและฟินแลนด์ เรื่องราวทั้งหมดถูกเปิดเผยว่า เหตุการณ์เกิดจากการประชุมสุดยอดผู้นำนาโต้ที่สเปนเมื่อเร็ว ๆ นี้
1
ซึ่ง Jen Stoltenberg เลขาธิการนาโต้ได้จัดให้ผู้นำสวีเดนและฟินแลนด์รวมทั้งตัวเขาเอง ได้ร่วมพูดคุยประนีประนอมกับทางประธานาธิบดี Erdogan เพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน
โดยผลจากการพูดคุย ทางสวีเดนและฟินแลนด์ยินดีตอบรับข้อเรียกร้องของทางตุรเคียทุกประการ
ข้อเรียกร้องดังกล่าวมีอะไรบ้าง?
  • ทั้งสองประเทศต้องส่งนักโทษกลุ่มกบฏ PKK และ Gulen ให้กับตุรเคีย
  • ต้องประกาศยอมรับว่ากองกำลังป้องกันตนเองซีเรียมีส่วนรู้เห็นกับกลุ่ม PKK ซึ่งถือว่าเป็นผู้ก่อการร้าย
  • ต้องยุติการสนับสนุน Fethullah Terrorist Organization
  • ทำการปิดกิจการของกลุ่มก่อการร้ายในตุรเคียที่มีที่ตั้งในประเทศทั้งสองทั้งหมด
2
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ข้อตกลงที่ทั้งสามประเทศทำกันยังมีรายละเอียดรวมไปถึง...
1
  • 1.
    ยกเลิกการห้ามส่งออกอาวุธจากทั้งสองประเทศไปยังตุรเคีย
  • 2.
    คืนสิทธิ์ตุรเคียในการเข้าร่วมโครงการผลิตอาวุธของสหรัฐ
ข้อตกลงทั้งหมดได้รับการลงนามรับรองจากทุกฝ่ายในวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา
ภายหลังการประชุม สำนักงานของประธานาธิบดี Erdogan ได้แถลงว่า ตุรเคียได้สิ่งที่ต้องการจากสองประเทศแล้ว พวกเขาสัญญาว่าจะให้ความร่วมมือแก่เราอย่างเต็มที่
มีรายงานเพิ่มเติมว่าเบื้องหลังของข้อตกลงดังกล่าวเกิดจากการผลักดันอย่างหนักของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่โน้มน้าวให้ผู้นำสวีเดนและฟินแลนด์ยินยอมตามข้อเรียกร้องของตุรเคียที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ เพื่อจัดอุปสรรคในการสมัครเข้าร่วมองค์การนาโต้ให้หมดไป
ทั้งนี้ ตามระเบียบของนาโต้ การจะรับประเทศหนึ่งประเทศใดเข้าร่วม จำเป็นต้องได้รับฉันทามติจากชาติสมาชิกทั้ง 30 ชาติ
ดังนั้นการพยายามทำให้ผู้นำตุรเกียยอมตกลงให้ความยินยอมครั้งนี้คือด่านสำคัญที่เป็นเป้าหมายของนาโต้
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา