2 ก.ค. 2022 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ชวนเรียนรู้อีกหนึ่งแง่มุมของ “วิกฤติต้มยำกุ้ง” บทเรียนราคาแพง ที่เกิดขึ้นจากการท้าทาย “ทฤษฎีสามเป็นไปไม่ได้” (Impossible Trinity)
ครบรอบ 25 ปี เหตุการณ์ “ลอยตัวค่าเงินบาท” 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งนำไปสู่ “วิกฤติต้มยำกุ้ง” วิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย
ชวนเรียนรู้อีกหนึ่งแง่มุมของ “วิกฤติต้มยำกุ้ง” บทเรียนราคาแพง ที่เกิดขึ้นจากการท้าทาย “ทฤษฎีสามเป็นไปไม่ได้” (Impossible Trinity)
แม้การลอยตัวค่าเงินบาทจะเป็นจุดเริ่มต้น แต่หากพิจารณาถึงภาพรวมของเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเวลานั้น จะพบว่า การลอยตัวค่าเงินบาทเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งที่มาของปัญหานี้ คือ การดำเนินนโยบายการเงินที่ผิดหลัก “สามเป็นไปไม่ได้” (Impossible Trinity) นั่นเอง
📌 ทำความรู้จัก “ทฤษฎีสามเป็นไปไม่ได้”
ทฤษฎีสามเป็นไปไม่ได้ (Impossible Trinity) มีใจความว่าเราจะไม่สามารถบรรลุ 3 นโยบายเป้าหมายได้อย่างพร้อมกัน นโยบายเป้าหมายทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย
1. นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) ซึ่งทำให้การค้าและลงทุนมีเสถียรภาพ
2. นโยบายการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศอย่างเสรี เป็นส่วนช่วยในการสนับสนุนการร่วมมือทางการเงิน กระจายความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงิน
3. ความเป็นอิสระของนโยบายการเงิน (Monetary policy autonomy) เพื่อที่จะสามารถจัดการกับวัฎจักรธุรกิจของประเทศได้
ตามทฤษฎีนี้ จะสามารถบรรลุได้มากสุดเพียง 2 นโยบายเป้าหมายเท่านั้น โดยจำเป็นจะต้องสละ 1 นโยบายเป้าหมายทิ้งไป
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยในปัจจุบัน ดำเนินนโยบายการเงินที่เปิดให้มีการเคลื่อนย้านเงินทุนระหว่างประเทศอย่างเสรี และเลือกที่มีอิสระในการดำเนินนโยบายการเงิน ดังจะเห็นได้จากความสามารถในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสละการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ซึ่งเป็นการปล่อยให้ค่าเงินบาทสามารถเคลื่อนไหวความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในตลาดปริวรรตเงินตรา
📌 “วิกฤติต้มยำกุ้ง” บทเรียนจากการละเมิดทฤษฎีสามเป็นไปไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย เราเคยละเมิด “ทฤษฎีสามเป็นไปไม่ได้” ซึ่งบทเรียนที่ได้รับจากครั้งนั้น มีชื่อเรียกว่า “วิกฤติต้มยำกุ้ง”
โฆษณา