4 ก.ค. 2022 เวลา 05:02 • ธุรกิจ
Remote working การทำงานทางไกลใน ‘อุตสาหกรรมการผลิต’
Remote working การทำงานทางไกลใน ‘อุตสาหกรรมการผลิต’
‘การทำงานทางไกล’ เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการผลิตท่ามกลางมาตรการป้องกันโรคโควิดในช่วงที่ผ่านมา จวบจนวันนี้หลายบริษัทในญี่ปุ่นยอมรับการทำงานทางไกล ในขณะที่บางรายหันกลับมายึดการทำงานในแบบดั้งเดิม
รายชื่อบริษัทในญี่ปุ่นที่เร่งปรับแนวทางให้พนักงาน Remote Work ในยุคหลังโควิด
Toyota ผลักดันการทำงานทางไกล ซึ่งในข้อมูลล่าสุดในเดือนเมษายน 2022 พนักงานในตำแหน่งงานออฟฟิศและงานด้านเทคโนโลยีเข้ามาทำงานที่สำนักงานใหญ่เพียง 50-60% เท่านั้น
Nissan อาศัยช่วงเวลาการระบาดในการปรับเปลี่ยนชั่วโมงการทำงานทางไกลให้มากขึ้น โดยในปี 2021 มีพนักงานทำงานทางไกลมากถึง 40%
Honda ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานครั้งใหญ่หลังช่วงวันหยุดยาวในเดือนพฤษภาคม 2022 โดยเน้นให้เข้าออฟฟิศเป็นหลัก แต่หากงานใดสามารถทำงานทางไกลให้ลุล่วงได้ก็อนุญาต
Hitachi อนุญาตให้ทำงานทางไกลได้โดยไม่กำหนดชั่วโมงและจำนวนครั้งการทำงาน แต่จำเป็นต้องยื่นเรื่องให้ผู้รับผิดชอบล่วงหน้า และครอบคลุมพนักงาน 95% ในสำนักงานใหญ่ และพนักงาน 70% ของสาขาทั้งหมดในญี่ปุ่น
Canon อยู่ระหว่างเดินหน้าปรับโครงสร้างให้พนักงานทำงานทางไกลทุกแผนกยกเว้นพนักงานในสายการผลิต
Nikon อนุญาตให้ทำงานทางไกล 3 วันต่อสัปดาห์ (ก่อนโควิดอนุญาต 2 วัน) โดยมีพนักงานหันมาทำงานทางไกล 30 - 40%
Alps Electric อนุญาตให้ทำงานทางไกล ลดจำนวนพนักงานที่เข้าออฟฟิศให้เหลือต่ำกว่า 60%
Mitsubishi Heavy Industries ตั้งแต่ปี 2019 ทางบริษัทให้พนักงานทำงานทางไกลได้หากได้รับอนุญาตล่วงหน้า และอยู่ระหว่างผลักดันให้ทำงานทางไกลทั้งบริษัท
Komatsu ลดอัตราการเข้าสำนักงานเหลือ 30%
Yanmar เพิ่มจำนวนวันที่ทำงานทางไกลได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2020 ลดการเข้างานของออฟฟิศโตเกียว และออฟฟิศโอซาก้าเหลือ 50%
อ่านข่าวและบทความอื่น ๆ ได้ที่ https://www.mreport.co.th/?utm_source=bd
ติดตาม M Report ได้ที่
LINE Official : https://bit.ly/357ySYm
โฆษณา