7 ก.ค. 2022 เวลา 04:45 • ความคิดเห็น
กฎหมายสมรสเท่าเทียม ยกระดับความเป็นคนอย่างไร ?
คำถามนี้ถูกลบ
เดี๋ยวผมสรุปให้
พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
ไม่ใช่การร่างกฎหมายใหม่นะ
แต่เป็นการแก้ไขประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์
คือเขาจะปลดล็อคไอ้คำว่าชายกับหญิงเลยอ่ะ
ให้มีสถานะเท่าเทียมกัน
มันเลยกลายเป็นเรื่องใหญ่น่ะ
เน้นความเสมอภาคของคน
แล้วมันไปเกี่ยวพันกับกฎหมายข้ออื่น
ในรัฐธรรมนูญเยอะ
กฎหมายเคยบัญญัติไว้เป็นร้อยปี
ว่าชายกับหญิงแต่งงานกัน
สินสมรสระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น
แต่พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม
จะเลิกคำว่าชายกับหญิง
เปลี่ยนเป็นคำว่าบุคคลแทน
เพราะฉะนั้นการแต่งงานเนี่ย
มันจะไม่ได้จำกัดเฉพาะชายกับหญิงอีกแล้ว
คือสลายคำว่าเพศออกไปเลย
ก็คือเอากำแพงชายกับหญิงออกไปเลย
การแต่งงานชายกับชาย หญิงกับหญิง
หรือหลากหลายกว่านั้น
ก็ไม่ต้องมาระบุเลยว่าเพศอะไร
ทุกคนสามารถจูงมือกันไปที่อำเภอ
ไปจดทะเบียนแต่งงานและได้รับสิทธิ
เหมือนกับการแต่งงานชายกับหญิงทุกประการ
นี่คือสมรสเท่าเทียม
ชายกับหญิงแต่งงานกันได้สิทธิอะไรบ้าง
สมรสเท่าเทียมก็เป็นแบบนั้น
โดยสลายคำว่าหญิงชายออกไป
มันเลยกลายเป็นเรื่องใหญ่
เพราะมันไปโดนกฎหมายตัวอื่น
ในรัฐธรรมนูญยังไงล่ะครับ
นี่เป็นการยกระดับความเป็นคน
ไม่มีบุคคลชั้น 2
แต่เป็นบุคคลเสมอภาคกันทั้งหมด
เป็นอีกก้าวของประชาธิปไตยที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นฐานเสียง
มีความเปิดกว้างมากเลยนะ
คือเลิกนิยามชายกับหญิง
กลุ่ม LGBTQ
เขาเห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ
สมรสเท่าเทียมมากเลยนะ เพราะเขามองว่า
ไม่ได้มองเขาเป็นบุคคลชั้น2
เขาต้องการมีชีวิตคู่ที่มั่นคงเหมือนกับชายหญิง
ที่แต่งงานกัน
และต้องการได้สิทธิสวัสดิการต่างๆจากภาครัฐเท่าเทียมกับผู้ชายและผู้หญิง
สามารถรับมรดกได้ ถ้าเป็นข้าราชการ
อีกฝ่ายก็ได้รับสิทธิประโยชน์
ได้มีสิทธิ์ที่จะเซ็นอนุมัติ
ให้รักษาทางการแพทย์ผ่าตัดได้
ก็คือผู้หญิงกับผู้ชายแต่งงานแล้ว
ได้สิทธิ์อะไรเนี่ย
ต่อไปผู้ชายกับผู้ชายหรือผู้หญิงกับผู้หญิง
LGBTQแต่งงานกัน
ก็จะได้รับสิทธิ์แบบเดียวกับ
ผู้หญิงกับผู้ชายเหมือนกัน
มันจึงเป็นการยกระดับความเป็นคน
ให้มีความเสมอภาคกัน
ตามหลักการของประชาธิปไตยยังไงล่ะครับ
โฆษณา