11 ก.ค. 2022 เวลา 07:32 • ความคิดเห็น
การเป็นคนขี้อิจฉา ฟังดูผิวเผินอาจดูเป็นคนร้าย ๆ เห็นใครได้ดีกว่าไม่ได้ และไม่เคยมีความสุขเลยสักครั้งที่เห็นคนได้ดีกว่า
บ่อยครั้งที่เราเองก็ใช้คำว่า "อิจฉา" เป็นเพียงคำพูดเล่น ๆ เพราะอยากสร้างสีสัน ให้คนใกล้ชิดสนุกไปด้วย และรับรู้ได้ว่าเรายินดีด้วย
อีกแง่มุมหนึ่งชี้ให้เห็นว่า สาเหตุของความอิจฉา เกิดจากการเลี้ยงดูเด็ก หากพวกเขาเติบโตในครอบครัว ที่มีความคิดเห็นอิจฉาต่อผู้อื่นเป็นเรื่องธรรมดา หรือการแข่งขันระหว่างพี่น้อง และการถูกตัดสิทธิ์ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาความรู้สึกอิจฉาเหล่านี้ เมื่อพวกเขาสร้างบุคลิกภาพ
นอกจากนี้ความริษยาสามารถเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สถานการณ์ ของความคับข้องใจที่เกิดขึ้นในชีวิตของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นงานความรักหรือสังคมก็ตาม
ตามหลักของพระพุทธศาสนา การไม่ยึดเอาความอิจฉามาเป็นอารมณ์ และเรียนรู้ที่จะยินดีกับความสำเร็จผู้อื่น คือทางออกของการเลิกเป็นคนอิจฉา ดั่งพุทธพจน์ที่ว่า
อรติ โลกนาสิกา
"ความริษยา เป็นเหตุให้โลกพินาศ"
- พระพุทธเจ้า -
เราเองก็เป็นอีกคนที่ยังมีความอิจฉาอยู่ เมื่อเห็นคนอื่นได้ครอบครองรถที่เราใฝ่ฝัน หรือได้กอดดาราสุดปลื้ม ที่ได้กอดสักครั้งจะมีแรงใจทำงานไปอีก 10 ปี
ถึงแม้ว่าความอิจฉาของเรา จะไม่ส่งผลร้ายต่อใคร แต่การที่เราไม่ปล่อยวาง พร้อมทั้งมานั่งคิดหาวิธีชี้ช่องรวย จนมากดดันตัวเอง กลับกลายเป็นผลร้ายต่อตัวเราแทน
ในวันนี้เราพยายามมองบวกมากขึ้น พยายามหาข้อดีในเรื่องแย่ ๆ ที่ต้องเจอในแต่ละวัน พอใจในสิ่งที่เรามี และขอบคุณทุกเรื่องดี ๆ ที่ผ่านเข้ามา
เรารู้ว่าทุกการเริ่มต้นยากเสมอ ขอเป็นกำลังใจให้ทำสำเร็จโดยเร็วนะคะ ในวันที่อิจฉาใครอีก ขอให้รู้ว่ามีเราอีกคน ที่กำลังพยายามไปด้วยกับคุณ
โฆษณา