14 ก.ค. 2022 เวลา 11:28 • การเมือง
ชัดเจนว่าการแก้ปัญหาระดับโลกจากนี้ไปในอนาคตจะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ประเทศมหาอำนาจใดเป็นหลัก การสร้างความร่วมมือระดับโลกจึงจะเป็นอนาคตของการเมืองโลกที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ในการนำกระแสโลกาภิวัฒน์ให้กลับมาตื่นตัวอีกครั้งจำเป็นต้องเริ่มจากปัจจัยสำคัญสามประการ ดังต่อไปนี้
1. พหุภาคีนิยม: การสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรในหลากหลายระดับชั้น
การฟื้นตัวและความยืดหยุ่นในวันหน้าจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทั่วโลก วิกฤติการณ์โรคระบาดที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่าโลกขาดการสร้างความร่วมมือระหว่างกันมากแค่ไหนในหลากหลายประเด็น
เช่น วิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และการกระจายตัวของอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โควิดไม่เพียงแต่จะรีเซ็ตวิถีชีวิตของคนทั่วโลกให้เปลี่ยนไป แต่ยังเป็นเครื่องย้ำเตือนให้ผู้นำทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันเพื่อจัดการประเด็นสำคัญร่วมกันไปพร้อมกับข้อกังวลต่าง ๆ ภายในประเทศตนเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระดับโลกและการจัดสรรทรัพยากรในหลากหลายประเด็นในโลกหลายขั่วอำนาจที่นับวันจะมีทั้งมีความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ปัญหาอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประเด็นผู้ลี้ภัย และความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น จุดนี้เองที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักแก้ปัญหาจะต้องสามารถเข้าถึงข้อมูล ทรัพยากร สิ่งจำเป็น และทรัพยากรบุคคลเพื่อแลกเปลี่ยนและสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของสงครามโลกครั้งใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น พหุภาคีนิยมจึงเป็นทั้งความหวังและความกดดันที่นักแก้ปัญหาทั่วโลกต้องเผชิญ
2. ความสำคัญกับการให้คุณค่าด้านการเมือง: ใส่ใจที่การแก้ไขปัญหามากกว่าระบบพรรคการเมือง
การฟื้นฟูความไว้วางใจด้านระบบการเมืองเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างความร่วมมือระดับสากลในอนาคต อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ค่อนข้างท้าทายเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์โลกปัจจุบัน สหภาพยุโรปเป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดสันติภาพที่ผสมผสานความหลากหลายของแต่ละประเทศสมาชิกเข้าด้วยกันได้ เพราะยังยึดถือค่านิยมร่วมกัน ซึ่งเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและประชาธิปไตย
ดังนั้น การจะสร้างความไว้วางใจขึ้นใหม่ จำเป็นต้องอาศัยการหารือเพื่อหาทางออกของปัญหาร่วมกัน โดยหลักปฏิบัติที่ถูกสร้างขึ้นจะใช้ได้จริงก็ต่อเมื่อมันได้เกิดขึ้นจากการพิจารณาความเชื่อร่วมกันของภาคีควรมีคุณค่าทางการเมืองที่ให้ความสำคัญเป็นสากลเพื่อหารือกับผู้กำหนดนโยบาย และการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรและลำดับชั้นควรถูกนำไปปฏิบัติจริงอย่างเป็นมาตรฐานสากลและเพื่อประโยชน์สาธารณะ
3. การมีส่วนร่วมของเยาวชน: การรับฟังเสียงของประชากรโลก
มีเยาวชนเพียง 6% เท่านั้นที่ตั้งใจจะทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนและเชื่อว่าการเมืองจะสามารถแก้ปัญหาระดับโลกได้ ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่เลือกที่จะมีส่วนร่วมและเคลื่อนไหวในประเด็นทางการเมืองที่พวกเขาให้ความสำคัญ คนตั้งแต่ Generation Y เลือกที่จะร่วมงานกับองค์กระดับนานาชาติมากกว่า
ที่สุดแล้วหากต้องการให้เกิดความร่วมมือระดับโลกที่ส่งผลได้จริงเกิดขึ้น ก็มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องอาศัยการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ให้ทำงานในลักษณะการเป็นพหุภาคี การมีระบบการเมืองที่สามารถสะท้อนพฤติกรรมทางการเมืองเชิงคุณค่าที่เยาวชนยึดถือ และผู้นำที่สามารถส่งผลกระทบต่อระดับชาติและระดับนานาชาติเพื่อสร้างบรรยากาศการร่วมมือทางการเมืองทั้งระดับประเทศและระดับโลกที่ดีขึ้น
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นความหวังและทิศทางว่าผู้นำระดับโลกและหน่วยงานทั้งหมดจะสามารถสร้างความไว้วางใจ หลักการปฏิบัติ และรับฟังเสียงของเยาวชนและผู้คนที่เคยถูกทอดทิ้งให้มากขึ้น
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- จะมีโครงการเกี่ยวกับการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ระดับโลกเกิดขึ้นอีกมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญกว่าการลงทุนเพื่อจัดทำและดำเนินโคงการคือโปรแกรมติดตามและการประเมินผลว่าเยาวชนที่ได้ผ่านโครงการเหล่านี้ไปแล้วยังคงเดินหน้าเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีขึ้นหรือไม่
- จำเป็นต้องมีการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานที่ชัดเจนและวัดผลได้ซึ่งเกิดจากการสร้างความเข้าใจและการให้ลำดับคุณค่าต่อประเด็นต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อรับมือกับปัญหาระดับโลก
- การร่วมมือกันทั้งระดับประเทศและระดับโลก จะช่วยต่อยอดให้เกิดเศรษฐกิจแนวใหม่ รวมถึงช่วยกันป้องกันหรือต่อต้านสงครามโลกที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบในแง่ร้ายกับคนทั่วโลกได้
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com หรือติดตามได้ที่ https://web.facebook.com/FutureTalesLABbyMQDC
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #FutureofWork #Multilateralism #Politics #ReGlobalization #MQDC
โฆษณา