15 ก.ค. 2022 เวลา 16:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หลังจากผ่านการเปิดตัวภาพถ่ายของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์อย่างยิ่งใหญ่ไปได้แค่เพียง 2 วัน ทางนาซาก็ได้เปิดปล่อยภาพใหม่ของเจมส์เว็บบ์ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้เป็นภาพถ่ายของดาวพฤหัสฯ และดวงจันทร์ยูโรปาที่กำลังโคจรรอบอยู่ด้านข้างนั่นเอง
โดยภาพ ๆ นี้ ก็ถือเป็นเพียงแค่ภาพถ่ายทดสอบทางวิศวกรรมเท่านั้น ไม่ใช่ภาพถ่ายทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ได้อย่างใด ส่วนสาเหตุที่ภาพปรากฏออกมาเป็นลักษณะสีแสงส้มนี้ ก็เพราะว่าเจมส์เว็บบ์ได้ใช้อุปกรณ์ที่มีชื่อว่า NIRCam ถ่ายออกมาในย่านอินฟราเรดทั้งหมด
3
แต่ในขณะเดียวกันนี้เอง ภาพถ่ายทดสอบนี้ก็ได้แสดงให้เห็นว่า นอกจากที่เจมส์เว็บบ์จะถ่ายภาพวัตถุต่าง ๆ และกาแล็กซี่ที่ห่างไกลมากกว่าหลักพันล้านปีแสงได้ เจมส์เว็บบ์ก็สามารถบันทึกภาพของวัตถุที่เล็กมาก ๆ อย่างดาวพฤหัสฯ ในระบบสุริยะของเราได้เช่นกัน จนเราสามารถเห็นลักษณะเด่นของระบบดาวพฤหัสฯได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นจุดแดงยักษ์ ซึ่งเป็นพายุขนาดยักษ์ที่ใหญ่เสียยิ่งกว่าโลกของเรา หรือไม่ก็แสงสะท้อนจากพื้นผิวน้ำแข็งบนดวงจันทร์ยูโรปาก็ตามที
จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ในอนาคตอันใกล้นี้นักดาราศาสตร์จะมีแผนการสั่งให้เจมส์เว็บบ์ส่องไปหาดวงจันทร์ดวงหนึ่งที่มีชื่อว่า เอนซาลาดัส ของดาวเสาร์ เพื่อค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตผ่านการสังเกตองค์ประกอบของน้ำพุร้อนที่กำลังพวยพุ่งออกมาจากขั้วใต้สู่อวกาศอีกด้วย
1
เรียกได้ว่าในช่วงเวลานี้การวงการดาราศาสตร์ก็คงมีงานวิจัยที่น่าสนใจจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ตีพิมพ์ออกมาเรื่อย ๆ อย่างไม่ขาดสายเลยทีเดียว
2
รู้จักกับเอนซาลาดัสหนึ่งในบริวารของดาวเสาร์ - https://spaceth.co/cassini-enceladus/
เผย 5 การค้นพบแรกจากกล้องเจมส์เว็บบ์ บทสรุป วิเคราะห์ เจาะลึก -
โฆษณา