30 ก.ค. 2022 เวลา 04:30 • ข่าวรอบโลก
Squeegee Men ปัญหาเด็กเช็ดกระจกในนครนิวยอร์ก มันกลับมาแล้ว
1
รูปแบบการลงมือเป็นยังไง แล้วที่นั่นเค้ารับมือกันยังไง
เครดิตภาพปก: G.N. Miller & Stefan Jeremiah for New York Post
ปัญหาสังคมหนึ่งในเมืองใหญ่อย่างนครนิวยอร์ก นอกจากปัญหาคนไร้บ้านหรือ Homeless แล้ว ที่ตามมาเกี่ยวข้องกันก็คือ “เด็กเช็ดกระจกตามสี่แยก” ที่นั่นเค้ามีชื่อเรียกเฉพาะกันว่า “Squeegee Men”
ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ฉาวโฉ่อันหนึ่งของที่นิวยอร์ก ซึ่งหายไปช่วงหนึ่งหลังจากที่โควิด-19 ดีขึ้น แต่ตอนนี้มันได้กลับมาแล้ว อาจเป็นด้วยเรื่องที่เศรษฐกิจมันแย่ คนไร้งานไม่มีเงินกินข้าว
ลักษณะการทำงานเหมือนที่ตามสี่แยกในเมืองของไทยเลยครับ คือจะเดินเข้าไปหารถที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหรือบางทีก็ไล่เรียงคิวไปเรื่อยๆเวลารถติดไฟแดงที่สี่แยก โดยจะเตรียมเครื่องมือเป็นไม้เช็ดกระจกพร้อมที่รีดน้ำ (ดีกว่าที่ในไทยหน่อย บางทีไม่มีอะไรมากมีแค่ผ้าขี้ริ้วผืนเดียว)
1
เครดิตภาพ: Daniel William McKnight/NY Post
การเช็ดกระจกก็จะทำแบบส่งๆขอไปที ไม่ใช่แบบมืออาชีพ เสร็จแล้วก็เรียกเก็บเงินกับคนขับรถโดยที่ไม่ได้ร้องขอเต็มใจให้ทำ เป็น “บริการแบบยัดเยียด”
1
  • เป้าหมายหลักของแก๊งนี้คือคนขับรถที่เป็นผู้หญิง เพราะคิดว่าส่วนใหญ่จะยอมจ่ายให้จบไป ไม่อยากมีปัญหา และกลัวถูกทำร้ายข่มขู่อีกด้วย
1
  • รวมถึงรถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนจากนิวเจอร์ซีย์ เพราะเป็นย่านคนรวย และรถหรูอย่างยี่ห้อ Audi BMW และ Lexus
1
  • สื่อมวลชนในนิวยอร์กให้ข้อมูลว่าจุดที่เป็นแหล่งชุมนุมและสถานที่ทำงานของแก๊งนี้คือ บริเวณสี่แยกคับคั่งที่ตัดกันระหว่างถนน West 40th Street กับ Ninth Avenue
1
  • เวลาที่มักเจอกับแก๊งนี้คือตอนเช้า 8 โมง และ ตอนเย็น 5 โมง ถึง 5 โมงครึ่ง
2
  • รูปแบบการทำงานของแก๊งนี้
แก๊งนี้ปกติในบริเวณหนึ่งวันหนึ่งมี 4-5 คน จะเดินไปที่รถซึ่งจอดติดไฟแดง แล้วไม่พูดร่ำทำเพลงอะไรเลย ไม่มีการเตือนใดๆ แล้วเริ่มละเลงฟองสบู่ลงบนกระจกหน้ารถแล้วเช็ดออกแบบรวกๆให้เสร็จไวๆ เสร็จแล้วจะทำการคุกคามเรียกเก็บเงินจากคนขับรถ
1
และที่แสบไปกว่านั้น แก๊งนี้ก่อนเริ่มทำการจะยกที่ปัดน้ำฝนขึ้นมาก่อนที่จะลงสบู่ให้มีฟองบนกระจกหน้ารถ เมื่อคนขับรถทำท่าปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงินให้ ก็จะทิ้งอย่างไว้นั้นทั้งๆที่เช็ดยังไม่เสร็จหรือไม่สะอาด จะกดปัดเช็ดจากในรถก็ไม่ได้ เพราะที่ปัดโดนยกขึ้นมาอยู่
2
คิดดูอยู่กลางถนนติดไฟแดง จะลงไปก็อันตรายจากรถหรือไม่ก็พวกแก๊งนี้แอบซุ่มทำร้ายด้วยความไม่พอใจก็เป็นได้
เครดิตภาพ: G.N. Miller/NY Post
ปัญหานี้มีมานานแล้วตั้งแต่ยุค 90’s และมีมาเรื่อยๆ นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กหลายคนพยายามแก้ปัญหาพอหายไป มันก็กลับมาใหม่อีก
มีผู้ใช้รถคนหนึ่งออกมาให้ความเห็นว่า
  • กฎหมายหละหลวมปล่อยให้มีคนกลุ่มนี้ออกมาคุกคามอยู่ตลอด ควรจะจริงจังกับเรื่องนี้ได้แล้ว เขามองว่าอาจจะไม่คุ้มเมื่อจับได้แล้วก็ต้องปล่อยตัวออกไปในวันเดียวกัน
  • ปัญหานี้อาจจะจัดการยาก การที่จะให้ตำรวจจราจรประจำตามจุดสี่แยกสอดส่องแก๊งนี้ มันสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ และแก๊งพวกนี้ก็จะย้ายจุดทำงานไปเรื่อยๆได้ไม่ยาก (เขาให้ข้อมูลว่าจุดสำรองอื่นที่พวกนี้จะไปเช่น แยกใกล้กับอุโมงค์ลินคอนน์) อุปกรณ์การทำงานไม่มีอะไรเลยหิ้วไปไหนก็ได้
  • เดี๋ยวนี้พวกนี้เปลี่ยนรูปแบบการลงมือไปอีก คือ “แก๊งนี้เค้าจะขอเงินกันดื้อๆ แบบไม่ต้องแตะกระจกรถคุณเลย” โดยจะถือป้ายว่า “I don’t do windows” (ผมจะไม่ทำกระจกคุณ) ดูเหมือนจะอ่อนลงแต่จริงๆแล้วเป็นการข่มขู่กันซึ่งหน้า ถ้าคนขับรถไม่ยอมให้เงินแล้วคำที่เขียนบนป้ายอาจไม่เป็นจริงคือ I will do windows
2
เครดิตภาพ: Lucas Jackson/Reuters
  • ในนครนิวยอร์กมีกฎหมายที่ออกมาโดยท้องถิ่นเมื่อปี 2006 ว่าการกระทำใดๆที่ยุ่งยากสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้รถถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษคือ จำคุกสูงสุด 16 วัน และปรับเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ถึงเวลาจริงๆก็ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้แบบจริงจัง
  • ส่วนในไทยเองจริงๆแล้วก็มีกฎหมายที่ว่า “การก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อื่นในที่สาธารณะ มีโทษปรับ 1000 บาท” เช่นเดียวกันบังคับใช้ได้ไม่เด็ดขาด ได้แค่ตักเตือนและระวังสอดส่อง
เครดิตภาพ: Facebook: Mayor Eric Adams
Eric Adams นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กคนปัจจุบัน ได้เคยพูดไว้เมื่อ มิถุนายน 2021 ว่า
1
  • “ผมจะจัดการกับแก๊งเด็กเช็ดกระจก โดยไม่นำตำรวจเข้าไปจับกุม”
  • “แต่จะพานักจิตวิทยาเข้าไปแทน เพราะเขามองว่ากลุ่มคนพวกนี้มักมีปัญหาเรื่องสุขภาพจิต และต้องการโอกาสในการฝึกงานอาชีพเพื่อหารายได้”
1
โฆษกของนครนิวยอร์กได้ยกคำพูดของนายกเทศมนตรีมาบอกต่อว่า
  • “ท่านนายกเทศมนตรีมีความมุ่งมั่นที่ต้องการแก้ปัญหานี้เพื่อยกระดับชีวิตของคนนิวยอร์กให้อยู่อย่างสงบสุขไม่มีความกังวล”
  • “โดยฝ่ายบริหารของเมืองได้เตรียมจัดการอบรมอาชีพและหาตำแหน่งงานกว่า 100,000 งาน ภายในช่วง 7 เดือน เพื่อสร้างฐานแรงงานให้กับเมืองนี้ เพื่อความเท่าเทียมและครอบคลุมในสังคม”
ก่อนจบบทความนี้ ผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ด้านล่างบทความนี้ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดในทางสร้างสรรค์กันได้ครับ
เรียบเรียงโดย Right SaRa
30th July 2022
  • แหล่งข่าวและข้อมูลอ้างอิง:
โฆษณา