2 ส.ค. 2022 เวลา 16:26 • ปรัชญา
เราสูงขึ้นได้ (อีก)
ทำในสิ่งที่รัก รักในสิ่งที่ทำ (5)
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักที่จะพัฒนาตนเองทุกท่าน ห่างหายกันไปนานมว๊ากๆๆ แต่ก็ตัดสินใจกลับมาจนได้ครับ ก็ต้องบอกตรงๆ ว่าเราเองก็อยากทำงานเขียนให้เป็นงานประจำครับ แต่ก็ติดว่ามีงานอื่นๆ ที่เราทำเป็นงานประจำอยู่แล้ว เราก็รับหมดครับ ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษา วิทยากร พิธีกร เซลส์แมน โค้ช เอาหมดครับ (ฮา) ตามประสาคนมีลูกแล้ว
เอ้าชีวิตก็ต้องสู้กันต่อไป ส่วนท่านผู้อ่านที่อยากให้กำลังใจ ถ้าคิดว่าบทความนี้ดีก็สามารถส่งต่อไปให้ผู้อื่นที่เราคิดว่าเป็นประโยชน์ได้ครับ ก็ถือว่าเป็นการทำประโยชน์ให้ผู้อื่น และเป็นกำลังใจให้ผมทำสิ่งที่ดีต่อไปเช่นกัน
กลับมาพูดถึงสำหรับจุดตัดที่ 2 คือวงกลมบนกับขวาล่างซึ่งเป็น ‘สิ่งที่เราปรารถนาที่จะทำ’ กับ ‘สิ่งที่มีคนจ่ายให้เมื่อเราทำ’ ผมขออนุญาตขยายนิยามของ 2 วงนี้ สั้นๆ อีกครั้งครับ
‘สิ่งที่เราปรารถนาที่จะทำ’ ตามชื่อของมันก็คือเราอยากทำจนตัวสั่นใจจะขาด กระหื่นหายที่จะทำแม้ไม่มีใครมาจ่ายเงินเรานั่นเอง ส่วนสิ่งที่คนจ่ายให้เมื่อเราทำก็คืออาชีพนั่นเองครับ 2 วงนี้พอตัดกันจะได้ ‘ยังฝันอยู่’ อ้าวไหงเป็นงั้นล่ะ ? คำตอบก็คือ (ตอบเร็วชิหาย) สิ่งที่เรากระหื่นหายที่จะทำ และเมื่อเราทำแล้วจะมีคนจ่ายเงินเราไหมในเมื่อเราทำออกมาแล้วไก่เขี่ยครับ
แต่เราตั้งใจทำมากๆ นะ นั่นคือสิ่งที่ผู้อ่านต้องการจะบอกตามมาใช่ไหมครับ คำตอบคือ สิ่งที่เราต้องการจะทำ อาจจะเป็นสิ่งที่เราทำได้ไม่ดีเท่าคนอื่น ทำไมเหรอครับ เรื่องง่ายๆ เลยนั่นก็คือ เราอาจยังฝึกฝนมันได้ไม่ดีพอ (เมื่อเทียบเวลาและประสบการณ์)
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า แม้เราชอบทำสิ่งนั้นแต่เราอาจทำสิ่งนั้นได้ไม่ดีนั้นเป็นเรื่องปรกติธรรมดาโลกครับ ไม่ต้องตกใจไป หลายครั้งเป็นเรื่องประสบการณ์ของเรายังไม่ถึง ยังไม่พอ เมื่อเทียบกับสิ่งที่เป็นมาตรฐานตลาดเขาทำอยู่
ฟังแล้วอย่าพึ่งเครียดนะครับ หลายท่านอาจจะกำลังเครียดว่า แล้วชีวิตฉันจะไม่ได้ทำอย่างที่ตั้งใจไว้แล้วใช่ไหม ? ผมตอบได้เลยทันทีว่า อย่าพึ่งสรุปว่าเป็นอย่างนั้นเสมอไป เพราะจริงๆ แล้วเราต้องการการฝึกฝนมันต่างหากล่ะครับ
ยกตัวอย่างเช่น เราชอบวาดรูป เราอยากขายรูปของเราเป็นอาชีพ แต่ปรากฏว่าจนแล้วจนรอดก็ขายไม่ได้เลย ถ้าอย่างนั้นเราต้องกลับมาเช็คตัวเองว่ามันเป็นเพราะอะไร แน่นอน สเป็คของคนชอบรูปภาพแตกต่างกัน แต่แบบไหนคนจะชอบนั้นและซื้อกลับไปนั้น เราเองอย่าพึ่งคิดไปถึงตรงนั้นเลยครับ แค่กลับมาเช็คง่ายๆ ก่อนว่า รูปของฉันมันอย่างน้อย มีมาตรฐานอะไรให้มันไปถึงก่อนบ้างไหม นี่คือตัวอย่างง่ายๆ ครับ
ผมอยากให้ทุกท่านออกมาจากจุดตัดของ ‘ยังฝันอยู่’ เหมือนที่ผมเคยอยู่มานานแสนนานเลยครับ ผมฝันอยากเป็นวิศวะ อยากเป็นนักการเงิน แต่ก็ไม่เคยสังเกตุตัวเองเลยว่าตัวเองไม่เด่นด้านคำนวน ท่านผู้อ่านเชื่อไหมครับว่าผมติดอยู่กับเรื่องตัวเลขอยู่นานมาก แม้คะแนนสอบเลขจะออกมาพอใช้ แต่ถ้าเทียบกับคนที่อ่านโดยใช้เวลาเท่ากันหรือน้อยกว่าก็ยังถือว่าห่างกันโขเลยทีเดียว นานครับกว่าจะยอมรับตัวเองได้ และก็ต้องทำใจกับตัวเองเหมือนกัน ว่าเราไม่ได้มีความสามารถด้านนี้
แต่ก็อย่าพึ่งละทิ้งความฝันนะครับ ผมก็ยังเชื่อในความพยายาม เพียงแต่เราต้องให้เวลากับมันเท่านั้น หากเราทุ่มเทพอ ผมอยากให้ผู้อ่านลองไปอ่านหนังสือ และดู Youtube เรื่อง GRIT ของ Angela Duckworth ที่พูดถึงความพยายามที่แท้จริง เราต้องให้เวลา อดทน และพยายามกับมันก่อน ก่อนที่เราจะบอกว่า เราไม่มีความสามารถด้านนั้นจริงๆ
เอาล่ะครับ สำหรับบทความ ‘ทำในสิ่งที่รัก รักในสิ่งที่ทำ’ สำหรับ EP นี้ ต้องขอเพียงเท่านี้ก่อน หากบทความนี้ หรือประสบการณ์ผมมีประโยชน์กับใครที่เรารู้จักและเราอยากให้เขาได้รับทราบสิ่งดีจากประสบการณ์ของคนที่ผ่านมาแล้วเช่นผมนั้น ก็สามารถส่งต่อให้เป็นประโยชน์ต่อคนนั้นที่เรารักได้เลยครับ
ทำไมแม้เราพยายามขนาดไหน เราก็ 'ยังฝันอยู่' และออกมาไม่ได้ มันแสนเจ็บปวด
โฆษณา