3 ส.ค. 2022 เวลา 07:15 • การตลาด
𝟱 กลยุทธ์การตลาดที่ไม่พึ่ง 𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸 และ 𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺🛁
เมื่อเปิดหัวข้อแบบนี้ นักการตลาดหลายๆ ท่าน คงจะสงสัยว่า ในยุคนี้ เราไม่สามารถใช้ Facebook และ Instagram หรือแม้แต่ TikTok ในการทำการตลาดได้ด้วยเหรอ?
ในเดือนกรกฎาคมปี 2020 ถึงมิถุนายน 2021 Lush แบรนด์เครื่องสำอางและสินค้าสำหรับอาบน้ำอย่าง สบู่, แชมพู, ครีมนวดผมต่างๆ จากประเทศอังกฤษ ทำรายได้มากกว่า 943 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 34,000 ล้านบาท ออกแถลงการณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่า แบรนด์จะไม่ active บน social network อย่าง Instagram, Facebook, Snapchat, and TikTok อีกต่อไป
โดย Head of Global Public Relation ตัวแทนของ Lush บอกว่า พวก social network ดังกล่าวเป็นอันตรายกับผู้ใช้งานโดยเฉพาะกับเด็กๆ และวัยรุ่น และไม่อยากจะให้สินค้าของ Lush ปรากฎตัวในนั้น ซึ่งความอันตรายดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทางแบรนด์ไม่สามารถทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นได้
นอกจากนั้นทาง Lush ยังประเมินว่า จะสูญเสียรายได้ไปประมาณ 13 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 472 ล้านบาท จากการตัดสินใจนี้ แต่ทางผู้ก่อตั้งทั้ง 6 คน เห็นตรงกันว่า เป็นสิ่งที่ยินยอมที่จะแลกมาเพื่อรักษาคุณค่า (value) ของแบรนด์พวกเขา
แล้วถ้าไม่ได้ใช้ social network เหล่านั้น ทาง Lush มีกลยุทธ์อะไรในการสื่อสารและทำการตลาดกับกลุ่มเป้าหมายและลูกค้า?
มาลองดู 5 marketing strategy ของ Lush ที่ไม่พึ่ง Instagram และ Facebook กันดังนี้
🚩ใช้ social platform อื่นๆ
ทาง Lush ยังคง active บน YouTube, Twitter, LinkedIn และ Pinterest และทำงานร่วมกับเหล่า influencer เพื่อโปรโมทสินค้า โดยทาง Lush บอกว่า platform อย่าง YouTube ไม่ได้ใช้ algorithms แบบเดียวกับ Facebook, IG และ TikTok ที่มักจะหาวิธีทำให้ผู้ใช้งานเสพติดอยู่กับ platform ให้นานที่สุด
โดยที่การใช้งานส่วนใหญ่บน YouTube ซึ่งถือว่าเป็น search engine อันดับสองรองจาก Google ผู้บริโภคต้องการจะหาข้อมูลผ่านการดูวิดีโอบน YouTube จึงเป็นเหตุผลหลักที่วิดีโอประเภท How to และ Evergreen content ต่างๆ ได้รับความนิยมสูงมากบน YouTube
🚩The Lush app
ทาง Lush ปล่อย app ของตัวเองออกมาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อที่จะหาวิธีลดการพึ่งพา social media โดยที่ทาง Lush มองว่าเมื่อสร้าง platform ตัวเอง ทำให้ไม่ต้องพึ่งธุรกิจคนอื่นอย่างเจ้าของ Platform ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายและลูกค้า และยังสามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างเองได้ ไม่ต้องคอยลุ้นว่ากลุ่มเป้าหมายจะเห็น Content อะไรแบบไหนควบคู่ไปกับสินค้าของ Lush
🚩Podcast
Lush เปิดตัว The ‘South Baht’ podcast ไปเมื่อช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมานี้ ซึ่งดำเนินรายการโดยนักกวีและนักเคลื่อนไหวที่ชื่อ Aja Monet โดยที่ Podcast ระยะเวลา 30 นาทีแต่ละตอนจะพูดคุยกับนักคิด นักเขียน ผู้ประพันธ์บทกวี ศาสตราจารย์ เพื่อพูดคุยเรื่อง wellness ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและประเด็นทางสังคมต่างๆ และตามด้วยบทเพลงในช่วงนาทีท้ายๆ ของแต่ละตอน
🚩นำเสนอประสบการณ์การใช้สินค้าจริง
ทางแบรนด์นำเสนอประสบการณ์การอาบน้ำ แบบ immersive เช่น ในโรงแรม รีสอร์ต หรือสปาต่างๆ ที่ถูกออกแบบมาตามธีมของ baht bomb ซึ่งเป็นหนึ่งในหมวดสินค้าขายดีของแบรนด์ นอกจากนั้น
สำหรับคนที่ลองใช้สินค้าอาบน้ำที่บ้าน ทางแบรนด์ก็ได้สร้าง playlist ใน Spotify ตามธีมของ Bath Bomb เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น Playlist “Bath in Nature” เป็นเสียง acoustic กีตาร์บวกกับเสียงขับร้องแบบชาวพื้นเมืองเพื่อให้เข้ากับ baht bomb ทะเลสาบ หรือ playlist “Main Character Energy” ที่มีซาวด์ของ electro pop และดิสโก้ยุค 70 เพื่อให้เข้ากับ “Diamond Dust” bath bomb
🚩นำสื่อสิ่งพิมพ์กลับมา
แม้หลายๆ retailer และแบรนด์จะเลิกทำสื่อสิ่งพิมพ์อย่างพวก catalog ไปแล้ว แต่ Lush นำกลยุทธ์นี้กลับมาใช้อีก เป็นเล่ม catalog ขนาดหนังสือพิมพ์แจกฟรีที่เราคุ้นเคยในสมัยหนึ่ง ใช้ชื่อว่า “Lush Times” เพื่อสื่อสารและ educate กลุ่มเป้าหมายหลักให้รู้จักสินค้าของ Lush มากขึ้น ซึ่ง catalog แบบนี้ทาง Lush เองก็หยุดทำไปหลายปีเลย เพราะเชื่อว่าลูกค้าคงอยากดูทางออนไลน์มากกว่า แต่กลับกลายเป็นว่าหลังจากมีการสอบถามจากลูกค้า พวกเค้ากลับบอกว่าคิดถึง catalog แบบเป็นรูปเล่มแบบนี้มากกว่า
อย่างไรก็ดี สำหรับกรณีของ Lush นี้ มีอยู่บางประเด็นที่อยากลองนำเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม
🧼 ข้อแรก เรื่องการไม่ใช้ social media เลย จริงๆ แล้วความหมายของ Lush คือ การที่ตัวแบรนด์เอง ไม่ได้ active บนสื่อ social แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เห็นอะไรเกี่ยวกับ Lush บนสื่อ social เลย ยกตัวอย่างเช่น การจ้าง Influencer คงจะไม่สามารถไปห้าม influencer ทุกคนไม่ให้โปรโมทสินค้าบน Instagram หรือ TikTok ได้ รวมทั้งพวก ads ที่สร้าง awareness และ conversion ต่างๆ ถ้าไม่ได้ใช้ social media เลย คนก็อาจจะไม่รู้จัก Lush app หรือ The ‘South Baht’ podcast เลยด้วยซ้ำ
🧼ข้อที่สอง เรื่องของการสร้าง app หากไม่ได้มีเงินถุงเงินถังอย่าง Lush การสร้าง app ที่ดีในงบประมาณที่น้อย แทบเป็นไปไม่ได้เลย หากต้องการสร้าง app ที่สามารถจะทดแทนการพึ่งพา social platform นั้นหมายความว่าต้องทุ่มทรัพยากรลงไปมากมายเลยทีเดียว ประหนึ่งว่ามี tech startup อยู่ในองค์กรเพื่อทำ app ออกมาเลย
🧼และข้อสุดท้าย แบรนด์ที่มียอดขายระดับหมื่นล้านบาทอย่าง Lush แน่นอนว่าเป็นที่รู้จักมากมายอยู่แล้ว และมีฐานลูกค้ามากมาย การไม่ active บน Facebook, Instagram, หรือ TikTok คงจะไม่ได้กระทบแบรนด์มากในภาพใหญ่และยอดขายโดยรวม อย่างที่ระบุไว้ว่าทางแบรนด์ พร้อมจะสูญเสียรายได้กว่า 13 ล้านเหรียญฯ เพื่อสิ่งนี้
อย่างไรก็ดี อีกสิ่งที่เชื่อว่าแบรนด์ได้แลกกลับมาคือ การสร้างภาพลักษณ์ดีๆ ที่สื่อว่าทางแบรนด์เป็นห่วง well-being ของผู้บริโภคทุกคนที่อาจจะเสียสุขภาพจิตกับการอยู่บน social media ที่เป็นพิษมากกว่าที่จะห่วงถึงรายได้นั่นเอง
🔊 podcast: DMN369 https://apple.co/3zNpado
DIGITAL MARKETING NOW
If not now, then when?
#digitalmarketingnow #podcast #digitalmarketing #ifnotnowthenwhen #การตลาดออนไลน์ #marketingclass #digitalmarketingclass #คลาสเรียนการตลาดออนไลน์ #instagram
โฆษณา