5 ส.ค. 2022 เวลา 00:00 • หนังสือ
ชายคนหนึ่งไปหาหมอเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับเรื้อรังมาหลายสิบปี เขาเคยหาหมอมาแล้วหลายคน แต่ก็แก้ปัญหานี้ไม่สำเร็จ หมอคนล่าสุดถามเขาว่า
“ทำไมนอนไม่หลับ คิดอะไรหรือ?”
“ผมกลัวผี ผมคิดเสมอว่ามีผีอยู่ใต้เตียง”
หมอเสนอว่าเขาควรพบจิตแพทย์ เขาก็ทำตามคำแนะนำนั้น
จิตแพทย์สอนวิธีการทำสมาธิจิต การย้ายจุดสนใจจากใต้เตียงไปที่อื่น ฯลฯ แต่อาการนอนไม่หลับของเขาก็ไม่หาย จนในที่สุดเขาก็เลิกไปหาจิตแพทย์โดยสิ้นเชิง
หลายปีต่อมา เขาพบจิตแพทย์คนเดิมอีกครั้งโดยบังเอิญ หมอถามไถ่อาการนอนไม่หลับของเขา เขาตอบว่า มันหายไปนานแล้ว ตอนนี้เขาหลับสนิททุกคืน
“หายไปได้อย่างไรครับ?” หมอสงสัย
“มีอยู่วันหนึ่งผมเห็นคนนอนอยู่ริมถนน ผมก็นึกอะไรขึ้นมาได้ ผมย้ายเตียงออกจากห้อง นอนบนพื้นแทน ไม่มีเตียงก็ไม่มีใต้เตียง ไม่มีใต้เตียงก็ไม่มีผีอีกต่อไป”
ขำขันเรื่องนี้มีกลิ่นเซนอยู่บ้าง แต่ประเด็นของมันคือการแก้ที่ต้นเหตุ หรือ สมุทัย หนึ่งในสี่ของอริยสัจ 4
8
บริษัทหลายแห่งแก้ปัญหาพนักงานมาสายบ่อย ๆ โดยตั้งกฎปรับหรือหักเงินเดือน แต่หากผู้บริหารวิเคราะห์อย่างละเอียด อาจพบว่าบทปรับไม่ใช่การแก้ปัญหาระยะยาว บางองค์กรศึกษาต้นเหตุจริง ๆ ของปัญหา
เช่น บางคนบ้านอยู่ไกลมาก หรือต้องดูลูก ก็แก้โดยใช้นโยบายจัดเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นขึ้น หรือทำงานที่บ้าน หรือกระทั่งตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในสำนักงาน เป็นวิธีหนึ่งในการซื้อใจพนักงานได้ด้วย
1
การแก้ปัญหาจึงต้องวิเคราะห์สาเหตุจริง ๆ ของปัญหา ก็คือ สมุทัย หนึ่งในสี่ของอริยสัจ 4 ใช้ได้ทั้งในการดำเนินชีวิตและธุรกิจ
3
แต่บ่อยครั้งเรามองไม่เห็นสมุทัย เพราะอยู่ใกล้มันเกินไป บางครั้งตำแหน่งของการมองปัญหาก็สำคัญ
เราอาจมัวแต่มองที่ปัญหา ‘ใต้เตียง’ จนลืมมอง ‘เตียง’
1
คนเรามักมองที่จุดจุดเดียวด้วยความเคยชิน ทำให้พลาดเห็นจุดสำคัญไป การถอยออกมาไกล ๆ แล้วมองปัญหา อาจช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้น เช่น รัฐบาลตัดสินใจสร้างสะพานข้ามสี่แยกเพราะราคาถูกกว่าสร้างอุโมงค์ แต่การสะพานบนถนนทำให้จราจรทั้งเมืองเป็นอัมพาต ค่าเชื้อเพลิงและเวลาของคนเป็นล้านรวมกันสูงกว่าค่าสร้างอุโมงค์ ดังนั้นราคาถูกก็อาจไม่ใช่ทางแก้ที่ดีที่สุด เพราะมองที่ใต้เตียง ไม่ใช่ทั้งเตียง
3
ตำแหน่งและมุมมองต่อปัญหาจึงสำคัญ
ยิ่งถอยไปไกล ก็ยิ่งเห็นภาพกว้าง
นี่เองที่บางทีเราต้องการความเห็นของคนนอก
2
นักจิตวิทยา อับราฮัม มาสโลว์ กล่าวว่า “ถ้าคุณมีแต่ค้อน คุณมักจะมองทุกปัญหาเป็นตะปู"
3
ไอน์สไตน์บอกว่า เราไม่อาจแก้ปัญหาด้วยวิธีการคิดอย่างเดียวกับที่เราสร้างมันขึ้นมา
1
นิยายจีนกำลังภายในมักมีเรื่องอาจารย์สอนให้ศิษย์ลืมวิชาที่เรียนมาก่อน เพราะบางทีเรากำหนดกระบวนท่าขึ้นมาพันธนาการตัวเอง อาจารย์สอนให้ศิษย์ถอยออกมาตั้งหลัก เพื่อให้เห็นภาพกระบวนท่าทั้งสองฝ่ายชัดขึ้น บ้างให้สมมุติตัวเองเป็นนก มองดูกระบวนท่าของทั้งสองฝ่ายจากมุมบน ทำให้เห็นอีกมุมหนึ่ง และอาจพบว่ากรอบของกระบวนท่าอยู่ที่ใด
4
เมื่อหลุดจากกรอบของกระบวนท่า ก็เป็นอิสระ มองเห็นภาพชัดเจนขึ้น
1
ไม่มีเตียงก็ไม่มีใต้เตียง
ไม่มีใต้เตียงก็ไม่มีผี
จากหนังสือ #ความสุขเล็กๆก็คือความสุข สนใจซื้อตรงจากนักเขียนที่ http://www.winbookclub.com/shopping.php (หมวดแนวกำลังใจ)
โฆษณา