5 ส.ค. 2022 เวลา 08:30 • ข่าวรอบโลก
ทูตจีนประจำสหรัฐฯ เผยแพร่บทความตอบโต้บทความของเพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในสื่อเดียวกัน The Washington Post ย้ำเหตุผลที่จีนต้องคัดค้านการเยือนไต้หวัน
5
หลัง แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้เผยแพร่บทความแสดงความคิดเห็นว่าทำไมถึงเดินทางไปยังไต้หวัน ลงใน The Washington Post วันเดียวกับที่เดินทางถึงไต้หวัน คือ 2 สิงหาคม 2565
1
เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อบทความดังกล่าว ทาง ฉิน กัง เอกอัครราชทูตจีนประจำอเมริกา ได้เผยแพร่บทความลงใน The Washington Post เช่นกัน โดยพาดหัวว่า “Why China objects to Pelosi's visit to Taiwan”
2
แปลเป็นไทยได้ว่า “ทำไมจีนถึงคัดค้านการเยือนไต้หวันของเพโลซี” โดยเผยแพร่เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา
โดยใจความสำคัญของบทความดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
# ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตจีนที่แยกจากกันไม่ได้ เป็นเวลากว่า 1,800 ปีแล้ว โดยยก 3 เหตุการณ์หลักมาอ้างอิงประกอบเหตุผล ได้แก่
1
1) ในปี ค.ศ. 1943 บรรดาผู้นำของจีน สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรได้ร่วมกันในปฏิญญาไคโร ซึ่งระบุอย่างชัดเจนว่าดินแดนทั้งหมดที่ญี่ปุ่นได้จากจีน เช่น ไต้หวัน จะถูกคืนสู่จีน
2
2) ปฏิญญาพอตส์ดัม ปี ค.ศ. 1945 ยืนยันว่าเงื่อนไขของปฏิญญาไคโรจะมีผลบังคับใช้
2
3) มติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 ผ่านในปี 1971 ยอมรับว่าผู้แทนของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงคนเดียวของจีนต่อสหประชาชาติ
2
# ในบทความ ทางทูตจีนประจำสหรัฐฯ ได้ยกประเด็นการแถลงการณ์ร่วมกันกับจีนของสหรัฐอเมริกา เมื่อครั้งสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตของสองประเทศ ในปี 1972 ระบุว่า ยอมรับรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของจีนแต่เพียงผู้เดียว
8
และให้คำมั่นว่า จะไม่พัฒนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับไต้หวัน
4
รวมถึงโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐคนปัจจุบัน ได้กล่าวหลายครั้งว่าสหรัฐฯ จะไม่เปลี่ยนนโยบายจีนเดียวและไม่สนับสนุนการแยกตัวของไต้หวัน แต่ในการเยือนไต้หวันของเพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงอันดับสามในรัฐบาลสหรัฐฯ เดินทางโดยเครื่องบินทหารของสหรัฐฯ นับเป็นการเยือนไต้หวันอย่างเป็นทางการ จึงขัดต่อคำมั่น
6
# รายละเอียดบทความยังกล่าวถึง หลักการจีนเดียวเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบระหว่างประเทศ หลังสงครามและกลายเป็นฉันทามติระหว่างประเทศทั่วไป ดังนั้น ขอเรียกร้องให้ สหรัฐฯ ควรปฏิบัติตามหลักการจีนเดียว
4
# ฉิน กัง เน้นย้ำผ่านบทความว่า คนทั้งสองด้านของช่องแคบไต้หวันเป็นคนจีน โดยจีนจะแสดงความจริงใจอย่างที่สุดและพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดการรวมตัวอย่างสันติ แต่จีนจะไม่ยอมให้ไต้หวันถูกแบ่งออกในรูปแบบใดก็ตาม
4
# ในประเด็นทางการทหารและความมั่นคง ที่จีนระบุมาโดยตลอดว่าอเมริกาช่วยเหลือไต้หวันในการแยกจากจีน ในบทความได้ยกประเด็นที่ ช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ขายอาวุธให้กับไต้หวันแล้ว 5 ครั้ง
1
# จีนมองว่าประเด็นไต้หวัน เป็นประเด็นอธิปไตยและเอกภาพของจีน ไม่ใช่เรื่องประชาธิปไตยแบบที่ เพโลซี ได้ระบุ
2
# มีการตั้งคำถามในบทความ ว่า
1
หากรัฐของอเมริกาต้องแยกตัวออกจากสหรัฐอเมริกาและประกาศเอกราช จากนั้นประเทศอื่นบางประเทศก็จัดหาอาวุธและการสนับสนุนทางการเมืองสำหรับรัฐนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ หรือคนอเมริกันจะยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้นหรือไม่?
23
- เนื่องจากทั้งโควิด-19 และปัญหาขัดแย้งในยูเครนกำลังเป็นวิกฤติที่ยืดเยื้อ ทางจีนมีความเห็นว่า
1
ถึงเวลาแล้วที่จีนและสหรัฐอเมริกาจะต้องกระชับความร่วมมือและทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆ เพื่อหาทางแก้ไข ซึ่งไม่ควรเกิดการกระทำที่ทำร้ายความสัมพันธ์จีน-สหรัฐ เพราะจะส่งผลให้ประชาชนทั้งสองตกอยู่ในอันตราย
3
โดยไต้หวันเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเด็นที่อาจทำให้จีนและสหรัฐฯ ขัดแย้งกัน ความระมัดระวังเป็นพิเศษและความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อพูดถึงไต้หวัน
1
ก็นับเป็นการตอบโต้อีกรูปแบบหนึ่งของทางจีน คือทางสหรัฐฯ ลงบทความในสื่อไหน ทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนซึ่งถือเป็นตัวแทนจีน ก็ไปลงในสื่อนั้น ตอบโต้เสียเลย
7
อ้ายจงเล่าเรื่องจาก
1
https://www.washingtonpost.com/opinions/2022/08/04/china-ambassador-op-ed-pelosi-taiwan-visit/ (บทความที่ ฉิน กัง เอกอัครราชทูตจีนประจำอเมริกา เขียนตอบโต้บทความของเพโลซี เผยแพร่ 4 สิงหาคม 2565)
https://www.washingtonpost.com/opinions/2022/08/02/nancy-pelosi-taiwan-visit-op-ed/ (บทความของเพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในประเด็น เหตุผลที่ต้องเยือนไต้หวัน เผยแพร่ 2 สิงหาคม 2565)
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
โฆษณา