7 ส.ค. 2022 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
ไม่ให้ “มาม่า” ไปอยู่ในผลิตภัณฑ์อื่น แล้วก็ไม่ให้โลโก้แบรนด์อื่นมาอยู่บนซองมาม่า
นี่คือ “มาม่าไบเบิล” คัมภีร์การตลาดของแบรนด์มาม่าที่แม้จะหวงชื่อแค่ไหน คนไทยก็ยังเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกยี่ห้อว่า “มาม่า”
ไม่ให้ “มาม่า” ไปอยู่ในผลิตภัณฑ์อื่น แล้วก็ไม่ให้โลโก้แบรนด์อื่นมาอยู่บนซองมาม่า
ข่าวการคอลแลบส์สินค้ามีได้ทั่วไปในปัจจุบัน เนื่องจากได้การยอมรับจากหลายแบรนด์แล้วว่า Collaboration Marketing หรือการที่สองแบรนด์จับมือกันออกมาขายสินค้า สามารถสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้น ได้ขยายฐานกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ และได้ความสนใจจากคนทั่วไป
การคอลแลบส์คู่ล่าสุดก็เกิดกับโปรเจค “เลย์ x มาม่า OK”​ สู่สองรสชาติใหม่ที่จะปล่อยขายกลางเดือนสิงหาคมนี้ โดยนับเป็นการร่วมมือกัน 2 แบรนด์ใหญ่ และเป็นครั้งแรกของ “มาม่า” ในรอบ 50 ปีกับการใช้กลยุทธ์ความร่วมมือ(Collaboration: X) กับแบรนด์สินค้าอื่น
Do & Don’t ไบเบิลสำคัญตลอด 50 ปีมาม่า
เพชร พะเนียงเวทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายและทำตลาด “มาม่า” เล่าว่า มาม่ามีไบเบิล หรือคัมภีร์การตลาดของมาม่า คือสิ่งที่ “Do & Don’t”
1
สิ่งที่มาม่าจะไม่ทำ หรือ “ห้ามทำ” คือ การนำแบรนด์ “มาม่า” ไปอยู่บนผลิตภัณฑ์อื่น และไม่เปิดพื้นที่ให้โลโก้แบรนด์อื่นมาอยู่บนผลิตภัณฑ์มาม่าเช่นกัน
ดังนั้นสำหรับสินค้าใหม่ที่ “มาม่า โอเค X เลย์” จึงเป็นเพียงการร่วมกันออก “รสชาติใหม่” ที่เหมือนกัน โดยจะไม่ได้มีโลโก้ของมาม่าอยู่บนซองเลย์ ซึ่งแตกต่างจากสินค้าที่ทั่วไปที่มีคอลแลบส์กันที่แทบทั้งหมดจะต้องมีการนำโลโก้หรือเอกลักษณ์ลงบนผลิตภัณฑ์ที่มีการคอลแลบส์
1
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะยึดมั่นในคัมภีร์ “Do & Don’t” มากแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า คนไทยเกือบ 70% ก็ยังเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ว่าจะยี่ห้อไหนว่า “มาม่า” อยู่ดี
1
อ่านเรื่องราวของมาม่าเพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา