7 ส.ค. 2022 เวลา 02:29 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เผลอแปปเดียว เจ้าโรเวอร์คิวริโอซิตี้ (Curiosity) ของนาซาก็อายุครบ 10 ขวบซะแล้ว นับตั้งแต่ที่มันได้ลงจอดบนดาวอังคารเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 6 สิงหาคม ปี 2012 ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานี้ มันก็ช่วยให้เราเรียนรู้ถึงเรื่องราวในอดีตของดาวอังคาร ในยุคสมัยที่ตัวดาวยังคงมีชุ่มชื้นไปด้วยสายน้ำกว้างใหญ่ พร้อมกับชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น ว่ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตมากน้อยแค่ไหนกันแน่
โดยโรเวอร์คิวริโอซิตี้นั้น ก็เต็มไปด้วยอุปกรณ์การทดลองต่าง ๆ มากมาย ไล่ตั้งแต่เครื่องขุดเจาะสำหรับตรวจสอบแร่ธาตุ ไปจนถึงอุปกรณ์วัดสภาพภูมิอากาศโดยรอบ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเท่าไหร่ที่คิวริโอซิตี้จะมีน้ำหนักมากกว่า 1 ตัน และมีขนาดพอ ๆ กับรถยนต์เลยทีเดียว
และถ้าหากเราพูดถึงอุปกรณ์ที่โดดเด่นที่สุด ก็คงจะหนีไม่พ้นระบบกล้องถ่ายรูป ซึ่งมีมากกว่า 17 ตัวด้วยกัน โดยเฉพาะกล้อง Mastcam ที่ได้รับการออกแบบมาให้ถ่ายภาพในระดับสาตาของมนุษย์อย่างพอดิบพอดี แถมยังมีระบบแขนกลที่ใช้เซลฟี่ได้อีกด้วย ดังนั้นในวันนี้ spaceth ก็เลยอยากเชิญชวนทุกคนร่วมย้อนดูภาพถ่ายจากโรเวอร์คิวริโอซิตี้ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาไปด้วยกัน ก่อนที่ตัวยานจะพร้อมเดินหน้าสู่ปีถัดไป
1). ย้อนรอยชมภาพดาวอังคารไปกับโรเวอร์คิวริโอซิตี้ ฉลองครบรอบ 10 ปี บนดาวเคราะห์แดง
2). ทีนี้ก่อนที่เราจะชมภาพจากโรเวอร์คิวริโอซิตี้กัน เราก็ควรมาทำความรู้จักกับแอ่งหลุมอุกกาบาตเกลกันเสียก่อน ซึ่งเป็นจุดลงจอดของโรเวอร์คิวริโอซิตี้ ที่นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเคยถูกเติมเต็มไปด้วยผืนน้ำเมื่อราว 3,700 ล้านปีที่แล้ว จากการสังเกตร่องรอยตะกอนบริเวณพื้นหลุม โดยแอ่งหลุมนี้มีความกว้างกว่า 154 กิโลเมตร และลึกกว่า 2 กิโลเมตรด้วยกัน
1
*ภาพถ่ายโดยยานอวกาศมาร์สโอดิสซีย์ (Mars Odyssey) ที่ประจำการอยู่บนวงโคจรของดาวอังคาร
3). ทันทีที่คิวริโอซิตี้เดินทางมาถึงดาวอังคารในปี 2012 ตัวยานก็ได้เริ่มพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศในลักษณะที่ไม่ต่างไปจากดาวตกมากนัก จนอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นไปแตะหลายพันองศาเซลเซียสจากการเสียดสีกับชั้นบรรยาอากาศ
โดยหลังจากนั้นไม่นานร่มชูชีพก็กระตุกออกมา พร้อมกับปลดเกราะกันความร้อนออกไป เราจึงได้ภาพถ่ายนี้มา ซึ่งนาซาเรียกช่วงเวลาการลงจอดนี้ว่า 7 นาทีอันตรายหรือ 7 Minutes of Terror
4). รูปถ่ายขาวดำภาพแรกหลังการลงจอดของโรเวอร์คิวริโอซิตี้
1
5). ไม่กี่วันหลังจากลงจอด โรเวอร์คิวริโอซิตี้ก็ได้หันไปทางใต้เพื่อถ่ายรูปภูเขาชาร์ป ซึ่งเป็นภูเขาที่อยู่บริเวณตอนกลางของแอ่งหลุมอุกกาบาตเกล
โดยนักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าภูเขาชาร์ปอาจเกิดจากตะกอนที่สายน้ำพัดพาไปทับถมกัน คล้ายกับเกาะแก่งกลางทะเลสาบบนโลก แต่เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารมีเพียงแค่ 0.38 เท่าของโลก ขนาดของกองดินและหินตะกอนเลยออกมาใหญ่กว่าปกตินั่นเอง
6). คิวรอโอซิตี้ถ่ายรูปเซลฟี่เช็คอินกับภูเขาชาร์ป โดยเราจะสังเกตได้ว่าตัวโรเวอร์นั้นไม่มีแผงโซลาร์เซลล์ไว้สำหรับผลิตพลังงานเหมือนรุ่นก่อน ๆ แต่ตัวยานกลับใช้พลังงานความร้อนจากแร่ธาตุกัมมันตรังสีในการผลิตไฟฟ้าแทน ซึ่งมีลักษณะเป็นแผงขนาดยักษ์ยื่นออกมาทางด้านหลัง
ทั้งนี้ก็เพราะว่าทางนาซาต้องการให้ตัวโรเวอร์สามารถอยู่รอดบนดาวอังคารในช่วงที่เกิดพายุฝุ่นได้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พรากชีวิตหุ่นยนต์บนดาวอังคารไปหลายลำแล้ว
7). คิวริโอซิตี้หันกลับมามองรอยล้อของตนเอง ซึ่งภาพนี้มีการปรับค่าสีให้แสงสว่างกับท้องฟ้าเหมือนกับบนโลก เพื่อที่นักดาราศาสตร์จะได้แยกประเภทของดินและหินง่ายขึ้น
8 ). หินตะกอนที่เคยถูกคลื่นของทะเลสาบกัดเซาะเป็นร่อง ๆ ณ บริเวณเชิงฐานภูเขาชาร์ป ในช่วงที่ดาวอังคารยังคงชุ่มชื้นไปด้วยสายน้ำ
โดยในปัจจุบันเราสามารถยืนยันสาเหตุของการสูญเสียน้ำบนดาวอังคารได้แล้ว ซึ่งทุกคนสามารถศึกษาเพิ่มเติมผ่านบทความของ Spaceth ได้ที่ https://spaceth.co/ancient-water-on-mars/
9). พระอาทิตย์อัสดงบนดาวอังคารที่ปรากฏเป็นสีฟ้าเนื่องจากการกระเจิงของแสงผ่านฝุ่นผงในชั้นบรรยากาศแห้ง ๆ ของดาวอังคาร
10). เชิงภูเขาชาร์ป ที่ผ่านฟิลเตอร์ปรับแสงให้เหมือนกับบนโลก
11). โรเวอร์คิวริโอซิตี้เซลฟี่ในขณะที่กำลังไต่ขึ้นเนินเขา
1
12). ภาพหายากของเมฆบนดาวอังคาร ซึ่งมักเกิดขึ้นในฤดูหนาว โดยเป็นเมฆที่เกิดจากผลึกคริสตัลของคาร์บอนไดออกไซค์แข็ง ไม่เหมือนกับไอน้ำบนโลก ซึ่งสามารถศึกษาผ่านบทความของ Spaceth เพิ่มเติมได้ที่ https://spaceth.co/curiosity-iridescent/
13). เมฆที่สะท้อนแสงจนเกิดการกระเจิงเป็นสีรุ้งบนท้องฟ้าของดาวอังคาร
14). ทิวทัศน์แปลกตารอบภูเขาชาร์ป ซึ่งเราสามารถเห็นสันทรายที่เปลี่ยนรูปร่างไปตามสายลมของดาวอังคารได้อย่างชัดเจน
15). พื้นหินตะกอนที่เคยเป็นก้นของทะเลสาบมาก่อน
16). บ้านหลังเล็กของเราเมื่อมองจากดาวอังคารช่วงพลบค่ำ
1
โฆษณา