7 ส.ค. 2022 เวลา 14:46 • ความคิดเห็น
เมื่อเรารู้ตัวว่า จะต้องเผชิญเหตุ เราก็หลีกหนีไม่ได้ มีเรื่องที่ต้องทำต้องไป พบเจอ .ว่าจะมีเรื่องราวอะไร มันก็เหมือนเราจะไปเจอพายุลมฟ้าลมฝน ฟ้าผ่าฟ้าร้อง ความวิตกกังวลหวั่นไหวมันก็ปรากฏขึ้น เป็นอารมณ์หวั่นไหว กายหวั่นไหว มีความวิตกกังวล
ถ้าเป็นมาก อารมณ์ความกลัวมันก็แทรกเข้ามาอีก เหมือนกลัวเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่าลงมาที่เรา อารมณ์กลัว กับ อารมณ์วิตกกังวลมันคนละอย่างกัน เมื่อจิตเรามันหวั่นไหวกายหวั่นไหวตั้งแต่ เห็นเมฆฝน การที่เราจะควบคุมอารมณ์ ความคุมกายวาจาใจ มันก็พบอุปสรรค เพราะจิตเรามันไม่มีเรียวแรงที่จะชนะอารมณ์วิตกกังวลที่มันฟุ้งซ่านขึ้นมาได้ มันก็ตกอยู่ในภาวะกระแสน้ำวนของอารมณ์ ให้จิตนั้นจมลงไป จิตมันก็ปั่นป่วนไปด้วยอารมณ์ ที่ฟุ้งซ่าน
(ในบางครั้ง เค้าก็เปรียบเทียบให้ว่า จิตเรานั้น เมือเกิดมามีกาย เราก็เหมือนได้เรือมาลำหนึ่ง เมื่อเราพายเรือมาเจอ เห็นพายุลมฟ้าลมฝนมา เห็นคลื่นมา เราคัดเรือพายเรืออย่างไร ให้ลำเรือนั้น ไม่แตกหัก พายเรือฝ่าคลื่น ลมห้าลมฝนไปได้ นั้นก็เป็นเรื่องของจิต ของผู้ที่นั่งอยู่ในเรือ ว่าจะใช้สติปัญญาไหวพริบอย่างไร ให้พายเรือฝ่าพายไปได้ นั้นก็เป็นเรื่องของสติจิตที่เราจะควบคุมกายวาจาใจ ฝ่าพายุนั้นไป หรือ ให้พายุนั้นสลาย ผ่านพ้นไป เรื่องของการพายเรือ เป็นเรื่องราวของการต่อสู่กับอารมณ์ของตัวเอง)
คราวนี้ เมื่อเราเข้าไปได้เห็นได้ยิน คำวิจารณ์ เคยรู้บ้างมั้ยว่า อารมณ์วิจารณ์ นั้นเป็นพิษ ทำให้ผู้วิจารณ์แน่นหน้าอก ท้องอืดท้องเฟ้อ มันมีเรื่องหนึ่ง น้องคนนี้ ชอบวิจารณ์เรื่องนั้นเรื่องนี้ รู้มาก ใช้อารมณ์ตัววิจารณ์นี้บ่อยๆ แล้วแต่อารมณ์จะพาจิตพาใจ ไปวิจารณ์เรื่องราวอะไร
วันหนึ่งแกขับรถจะไปวัด ..ผ่านทางด่วน ต้องจอดรถ ขับไปต่อไม่ไหว แน่หน้าอก หายใจไม่ออก จอดพัก แล้วก็ขับไปต่อ พอไปถึงวัด ก็ลงไปนอนแน่นหน้าอก หายใจติดขัด คนนั้นคนนี้ก็บอกว่าเป็นโรคนั้นโรคนี้ พอคนเค้ากลับไปแล้ว พระที่นับถือ ท่านก็พูดว่า นี่เรียกมันว่า ตัววิจารณ์ มันเป็นอารมณ์กรรม อย่างหนึ่งที่เราใช้เป็นประจำ พอน้องคนนั้นได้ยิน ก็ลุกขึ้นมาเดินได้เป็นปกติ นั้นเป็นเรื่องของอารมณ์ตัววิจารณ์ (เรื่องของอารมณ์ เราใช้กันเป็นปกติ แต่เราก็ไม่รู้จักพิษของอารมณ์ มันทำให้เกิดอะไรขึ้นมาบ้าง ที่ตัวเราเอง)
เรื่องอารมณ์นั้น เมื่อเราใช้ไปวิจารณ์ คนนั้นคนนี้ พอวิจารณ์ มันก็ไม่ได้มีแค่วิจารณ์ มันมีตัวต่อว่า ติเตียน เสียดสี กระแนะกระแหน เหยียดหยาม ดูหมิ่น มันมีอารมณ์ที่พลักไส ให้สร้างกรรมนั้นไหลออกมา เมื่อเราเจอ เราก็ก็ทำตัวเฉย จิตเฉย ฟังเค้า ..เค้าจะแสดงอะไรอารมณ์อะไร นั้นเรื่องอารมณ์ของเค้า เราก็มีสติพอที่จะกลั่นกรองอะไรได้ ในเรื่องที่เค้าวิจารณ์ เราก็พิจารณาเหตุผลของคำวิจารณ์ของเค้า ไม่ไปยินดียินร้าย เราก็ต้องคอยสำรวจอารมณ์นึกคิดของเราได้
หากเราไม่ได้ฝึกเรื่องสติ เรื่องการทำกายทำใจมันก็บำบากทำไม่เป็น จิตใจเรากายเรามันก็จะสะท้านเกิดขึ้น อารมณ์ที่เป็นเหมือนฟ้าร้องฟ้าผ่า ร้อมลนร้อมเย็น มันก็จะเกิดขึ้น คือมีความหงุดหงิดเกิดขึ้น หากเราควบคุมกายอารมณ์หงุดหงิดนั้นได้ กายและจิตมันก็จะเฉย ฟังคำวิจารณ์ นั้นเฉย เพราะเรารู้ว่า คำวิจารณ์นั้น มันก็คือ กรรม เราก็ทำใจเฉย เหมือนเห็นคนกำลังสร้างกรรมให้แก่ตัวเอง เราจะไปขัดขวางกรรมของเค้าทำมั้ย ใครเค้าพูด มาจากปาก ก็คนนั้นแหละ ที่เป็นหนี้อารมณ์
ส่วนเค้าจะเอาชื่อของเราไปพูดที่ปากเค้า ก็ให้เค้ายืมชื่อไปใช้หน่อย ให้อารมณ์ตัววิจารณ์เค้ายืม จะได้พูดด้วยอารมณ์วิจารณ์คล่องปาก เราก็ดูเฉย นี่ถ้าไม่เอาชื่อเราไป คงวิจารณ์ได้ไม่คล่องปาก อารมณ์มันก็ยุแยง ยกขบวนออกมาย่ำยี มีการติเตียน กระแหนะกระแหนตามมา เราก็ทำใจเฉย ขอเราอย่ามีนิสัยแบบเค้าเลย มันสร้างกรรมโดยไม่รู้ตัว
เรื่องราวสิ่งที่จะช่วยเราได้ ให้จิตเรามีกำลังได้ ก็เรื่องราวของการสร้างบุญกุศลบารมี ทำให้มันถูกทาง ฝึกให้จิตเรามีกำลัง มีสติ ให้จิตเรามันเข้มแข็งขึ้น จะได้ไม่ไปหวั่นไหว ในอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่กายเรา
โฆษณา