7 ส.ค. 2022 เวลา 22:59 • ความคิดเห็น
“รอยร้าว” กับสูตรสันติภาพในช่องแคบไต้หวัน
ของ ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร : ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และประเด็นว่า ใครที่อาจมาช่วยเป็นกาวใจประสานรอยร้าว ในช่องแคบไต้หวัน ?
4
ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร (ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ Right Now Ep.119
ชื่อตอนว่า One China ถูกท้าทาย วิเคราะห์ควันหลง จีน ไต้หวัน สหรัฐฯ
โดยมี คุณอิก บรรพต AFPT เป็นผู้ดำเนินรายการ
2
ประมาณนาทีที่ 45
... สูตรที่ทำให้มีสันติภาพในช่องแคบไต้หวันมาเป็นเวลาหลายสิบปี คือ
(1.) จีน ห้ามใช้กำลังบุกไต้หวัน
(2.) ไต้หวัน อย่าประกาศเอกราช
(3.) สหรัฐฯ อย่ายั่วยุ ...
ทั้งนี้ เพจ ILHAIR ขอใส่ (เลขข้อ.) เพื่อให้ง่ายในการอ้างอิงต่อไป
2
ขอมองอย่างตรงไปตรงมาว่า
**เกิดรอยร้าวบนสันติภาพในช่องแคบไต้หวัน**
เมื่อ นาง Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ
เดินทางมาเยือนไต้หวัน
ถือเป็นการทำลายสูตรสันติภาพ (ข้อ 3.) ดังที่ ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ได้กล่าวไว้
3
เสมือนเป็นการยั่วยุให้ “สามี-ภรรยา ที่ทะเลาะกัน แล้วแยกกันอยู่
แต่ยังอยู่ในพื้นที่บ้านเดียวกัน ทะเลาะกัน”
อ่านคำขยายความ การเปรียบเปรยนี้ได้ที่ https://www.blockdit.com/posts/62eac3fa7de28104fad2b8b6
3
แต่สิ่งที่ทั่วโลกต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ
การประกาศซ้อมรบของจีนใน 6 พื้นที่รอบเกาะไต้หวัน
ที่ยังพอจะถือได้ว่า ยังมิได้ทำลายสูตรสันติภาพ (ข้อ 1.) คือ จีนยังไม่ได้ใช้กำลังบุกไต้หวัน
โดยสามารถพิจารณาได้ว่า
นี่คือ การสื่อสารทางยุทธศาสตร์, Strategic Communication
ที่จีนต้องการจะบอกทั้งโลก โดยเฉพาะ ไต้หวัน และ สหรัฐฯ ว่า
กำลังรบจีน มีความพร้อมที่จะใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อไต้หวัน
หาก ไต้หวัน-สหรัฐฯ มีท่าทีซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามต่อจีน
2
“รอยร้าว” ที่เกิดขึ้นกับสันติภาพในช่องแคบไต้หวันครั้งนี้
จะยังคงอยู่ต่อไปอีกนาน ยากที่ทุกอย่างจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
4
…แก้วที่มันร้าว ไม่นานก็คงจะแตก
ใจที่มันร้าว ไม่นานก็คงจะแหลก
แตกสลาย ไม่ มี วันเหมือนเดิม…
4
ท่อนสร้อย ของเพลง : รอยร้าว
ศิลปิน : อิทธิ พลางกูร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
2
ประเด็นสำคัญต่อมา คือ
ใครที่จะมาช่วยเป็นกาวใจประสานรอยร้าว ในช่องแคบไต้หวัน ?
2
แนวทางของ Critical Thinking คือ วิธีที่เพจ ILHAIR ใช้มาโดยตลอด คือ คิดบนตรรกะที่เป็นไปได้ ด้วยหลักการและเหตุผล (ไม่นำอารมณ์ ความรู้สึกส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง)
เพื่อช่วยในการสังเคราะห์ “คำตอบ” ที่อาจเป็นไปได้
3
เพจ ILHAIR ขอนำเสนอชื่อ
องค์การที่มิใช่ประเทศ, Non-State Actor
(เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศ)
ซึ่งอาจเป็นกาวใจช่วยประสานรอยร้าว ได้แก่
2
Organization of Petroleum Exporting Countries
หรือที่เราน่าจะคุ้นหูในชื่อสั้นๆ ว่า
กลุ่ม OPEC
2
กลุ่มผู้นำ OPEC ที่มาประชุมร่วมกันเมื่อ คศ.2016 ที่มา https://www.forexlive.com/news/!/the-biggest-mystery-at-the-opec-meetings-20161129
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เหตุผลสนับสนุน ข้อ A.
หากเกิดความขัดแย้งในช่องแคบไต้หวัน
เรือขนส่งสินค้าต่างๆ และ
เรือขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลาง
จากประเทศสมาชิกในกลุ่ม OPEC
ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา
ที่จะเดินทางไปยังเอเชียตะวันออก
(จีน ไต้หวัน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น)
2
ภาพจากระบบ Automatic Identification System แสดงให้เห็นปริมาณเรือเดินสมุทร ที่เดินทางผ่านบริเวณช่องแคบไต้หวัน ที่มา https://www.marinetraffic.com/en/ais/home/centerx:122.7/centery:22.8/zoom:6
จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งเพิ่มขึ้น
เพราะ ต้องเดินทางอ้อมเขตพื้นที่ความขัดแย้ง
ในช่องแคบไต้หวัน
อีกทั้ง
ค่าประกันภัยในกิจกรรมการขนส่งทางทะเล
ก็จะมีโอกาสทะยานสูงขึ้น
ซึ่งในสถานการณ์ปกติก็ถือว่า
มีราคาแพงมากอยู่แล้ว
2
และเมื่อต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
ประเทศในเอเชียตะวันออก
โดยเฉพาะจีน และ เกาหลีเหนือ
ก็อาจหันไปซื้อน้ำมันจากรัสเซียแทน
การซื้อน้ำมันจากกลุ่ม OPEC
2
สัดส่วนประชากรจีน คิดเป็น
20% ของประชากรโลก
กลุ่ม OPEC จึงมิอาจยอมเสีย
ทั้งฐานลูกค้าในจีน
และมิอาจเสียอำนาจต่อรอง
ในการคุมราคาน้ำมัน
โดยเฉพาะการที่ รัสเซีย
พร้อมจะขายน้ำมันในราคาที่
ถูกกว่าตลาดโลก
2
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เหตุผลสนับสนุน ข้อ B.
ขอตั้งสมมติฐานว่า **จีน ไม่สามารถซื้อน้ำมันจากรัสเซียได้**
จีน ยังต้องพึ่งพาน้ำมันจากกลุ่ม OPEC
ที่มีราคาแพงขึ้น เพราะ
เรือขนส่งน้ำมันต้องเดินทางอ้อม
เขตพื้นที่ความขัดแย้งในช่องแคบไต้หวัน
และมีค่าประกันภัยฯ สูงขึ้น
ประกอบกับการที่รัฐบาลจีนส่งเสริมให้
ประชาชนจีนใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle, EV) เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ก็จะยิ่งกระตุ้นให้ประชาชนจีนหันมาใช้ EV มากยิ่งขึ้น
ซึ่งก็ถือว่าเข้าทาง รัฐบาลจีนที่ต้องการลดมลภาวะทางอากาศ
โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว)
4
ที่มา https://www.workers.org/2021/02/54178/
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
แม้เหตุผลสนับสนุน ข้อ A. จะถือว่าสำคัญแล้ว
แต่เหตุผลสนับสนุน ข้อ B. ถือว่ามีผลต่อพฤติกรรม
ในระยะยาวของผู้บริโภค
จึงอาจถือได้ว่า ข้อ B. น่ากลัวมากกว่า ข้อ A.
3
โฆษณา